Backfire Effect : เมื่อความจริง…ไม่ชนะเสมอไป

Backfire Effect
“Global warming เป็นเรื่องโกหก”“คนจนเพราะขี้เกียจ ไม่ขยัน เอาแต่กินเหล้า”“ยอดขายตก เพราะวิกฤติเศรษฐกิจล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับสินค้า”แม้คุณได้รู้ข้อมูลความจริงอีกด้านแล้ว แต่ก็ยังดื้อรั้นเชื่อในชุดความคิดเหล่านี้ที่เข้าข้างตัวเองอยู่…คุณอาจติดกับดัก Backfire Effect เข้าให้แล้ว!!

Backfire Effect เมื่อความจริงไม่ช่วยอะไรเลย

Backfire Effect เกิดเมื่อความคิด-ความเชื่อที่ฝังรากลึกของคุณ (Pre-existing belief) ถูกท้าทาย-วิพากษ์วิจารณ์ (หรือแม้แต่หักล้าง) ด้วยข้อมูลหลักฐาน “ความจริงใหม่” 

แล้วคุณเกิดรับไม่ได้-เกิดต่อต้าน จนแทนที่จะเปลี่ยนความเชื่อ…แต่กลับหันหลังให้ และยิ่ง “จมปลักเชื่อ” ในสิ่งเดิม(ที่ผิด) นั้นเข้าไปอีก!! 

…นี่คือคาแรคเตอร์ของ Backfire Effect ภาวะที่ความจริงไม่ช่วยอะไรเลย

Backfire Effect อาจทำให้อีกฝ่ายที่พยายามโน้มน้าวคุณด้วยชุดข้อมูลใหม่ที่ถูกต้อง เกิดปฏิกิริยา “มองบน” เอิ่มมมม และทำให้ตัวคุณเองในฐานะผู้นำองค์กร ตัดสินใจผิดๆ จนอาจบานปลายทุกอย่างสายเกินไปแล้ว

สาเหตุของ Backfire Effect ?

Backfire Effect เป็นอคติทางความคิดอย่างหนึ่ง (Cognitive bias) และที่สำคัญไม่แพ้กันคือ เป็นกลไกป้องกันตัวตามธรรมชาติของมนุษย์ และทำงานในระดับนอกจิตสำนึก (Subconscious level) เพราะไม่มีใครอยากเป็นฝ่ายผิด คนที่ผิดในยุคสมัยก่อน อาจถูกลงโทษด้วยการขับไล่ออกจากเผ่า ซึ่งโอกาสรอดชีวิตในธรรมชาติถือว่าน้อยมาก

Dan Ariely นักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมชื่อดังบอกว่า เรื่องนี้ไม่มีอะไรต้องเซอร์ไพรส์เลย เพราะมนุษย์เป็น “สิ่งมีชีวิตที่ไม่มีเหตุผล…ที่คิดว่าตัวเองมีเหตุผล” เพราะอันที่จริงแล้วคนเราใช้ “อารมณ์” มากกว่าด้วยซ้ำในการตัดสินใจหรือเชื่ออะไรบางอย่าง

ไม่ต่างจากงานขาย ผู้บริโภคไม่ได้ซื้อสินค้าหนึ่งเพราะเห็นโฆษณาเพียงครั้งเดียว แต่เรารู้กันดีว่ามันมีหลายขั้นตอน (Customer journey) ก่อนที่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อ เช่น กระบวนการ AIDA

  • Awareness – รับรู้
  • Interest – เริ่มสนใจ ค้นหาข้อมูล
  • Desire – เกิดความอยากโหยหา
  • Action – ลงมือซื้อ

ในทางกลับกัน การเปิดใจรับชุดความคิดใหม่ที่ถูกต้องก็เช่นกัน เราต้องผ่านหลายขั้นตอน / หลายกระบวนการขบคิด / หลายหลักฐานน่าเชื่อถือ / หลายผู้คนที่โน้มน้าวใจ…ก่อนที่เราจะสลัดทิ้งความคิด-ความเชื่อเดิมนั้นลงได้ในที่สุด

Backfire Effect รอบตัวเรา ?

จากคาแรคเตอร์ของอาการ เราจะพบว่าเหตุการณ์แบบนี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกเรื่องและทุกคน (คุณเองก็น่าจะเคยเป็นซักครั้งหนึ่งในชีวิต!) ทั้งการลงทุนในธุรกิจ / ความเข้าใจด้านชีววิทยา / มุมมองด้านดาราศาสตร์ / การเลือกฝ่ายทางการเมือง ฯลฯ

Donald Trump เคยออกมากล่าวว่า เค้าไม่เชื่อเรื่องปัญหาภาวะโลกร้อน (Global warming) ทั้งๆ ที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างออกมายืนยันแล้วว่านี่เป็นเรื่องจริงที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากนานาชาติโดยด่วน 

และทาง UN ก็มีมติตั้งเป้าหมายไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงเกิน “1.5 องศาเซลเซียส” เมื่อถึงปี 2050 มิเช่นนั้น ระบบนิเวศน์อาจถึงจุดที่เลวร้ายจนอะไรๆ หวนกลับคืนมาไม่ได้อีกแล้ว (Irreversible tipping points)

คนระดับประธานาธิบดีประเทศมหาอำนาจออกมาพูดแบบนี้ ย่อมส่งผลต่อความคิดมวลชนอีกหลายล้านคนให้คล้อยตามจนละเลยปัญหานี้ 

ปริมาณการปล่อย CO2 ต่อคน/ปี ในแต่ละประเทศ​ (CO2 emissions per Capita)

  • อินเดีย 1.9 ตัน/คน
  • จีน 8 ตัน/คน
  • อเมริกา 16 ตัน/คน

ปัญหาความยากจน ที่หลายคนเชื่อว่าเกิดจากความขี้เกียจ ไม่ขยันทำมาหากิน แท้จริงแล้วมีผลวิจัยและสถิติมากมายที่ออกมาสนับสนุนแล้วว่า มาจาก “ปัญหาเชิงโครงสร้าง” ที่กดทับคนบางกลุ่มไม่ให้ลืมตาอ้าปากได้ต่างหาก เช่น 

  • เข้าถึงแหล่งเงินทุนไม่ได้ 
  • ค่าแรงขั้นต่ำที่ไม่เป็นธรรม
Backfire Effect

หรือในทางการเมือง นักวิจัยจาก University of Chicago เผยว่า บางครั้งการนำเสนอข่าวแง่ลบ(แต่เป็นเรื่องจริง) ของนักการเมืองที่ชื่นชอบ…กลับทำให้คนนั้นยิ่งสนับสนุนมากขึ้นเข้าไปใหญ่!! 

ด้วยเหตุผล Backfire Effect และความรู้สึกที่ว่านักการเมืองคนนั้นดูเรียลดี (ไม่มีใครเพอร์เฟ็กต์ไปซะทุกอย่าง)

การที่มีพนักงานขายมาพูดจาโน้มน้าวให้บริษัทคุณ “ย้ายค่าย” เปลี่ยนไปใช้บริการอีกบริษัทนึง ก็สามารถกระตุ้น Backfire Effect ไม่ยอมย้ายค่าย ได้เช่นกันถ้าบริการที่คุณใช้อยู่ตอบโจทย์ระดับนึงแล้ว

Backfire Effect

ป้องกันยังไงได้บ้าง ?

ทำตัวเป็นนักโบราณคดี (Archaeologist) กล่าวคือ สมมติฐานและทฤษฎีทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน จะมีเหตุผลรองรับมาจากชิ้นส่วน “ซากฟอสซิล” ที่ขุดพบเจอตามที่ต่างๆ ทั่วโลก

แต่ทุกสมมติฐานและทฤษฎีที่มีอยู่…ไม่ใช่ “ความจริงแท้ตลอดกาล” (Universal truth) แต่พร้อมเปลี่ยนแปลงได้เสมอเมื่อขุดพบเจอซากชิ้นส่วนโบราณใหม่ๆ ซึ่งชิ้นส่วนที่ถูกค้นพบใหม่ อาจมาต่อยอด หรือ “หักล้าง” สิ่งที่เคยเข้าใจมาตลอดก็ได้ทั้งนั้น

และวิธีที่ช่วยให้เรายอมรับสิ่งใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้นก็คือการ “ตั้งคำถาม” สงสัยบ่อยๆ ลองใช้เทคนิค 5W1H (What-When-Where-Why-Whom-How) จะช่วยให้มองเห็นภาพรวมได้มากขึ้น

Nick Bostrom นักปรัชญาชาวสวีเดนจาก Oxford University เผยว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารับรู้ต้องคอย “อัพเดท” อยู่เสมอไม่ต่างจากแอปบนมือถือ เมื่ออัพเดท…เราจะพบกับองค์ความรู้ใหม่ๆ

  • มนุษย์เคยคิดว่าโลกแบน (ภูมิศาสตร์)
  • ดาวพลูโตเคยเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุริยะ (ดาราศาสตร์)
  • มนุษย์เคยเชื่อว่าฟ้าผ่าคือการลงโทษจากพระเจ้า (ไสยศาสตร์)
  • มนุษย์เคยคิดว่าทารกไม่ใช่ผ้าขาว ต้องคอยตีและก่นด่าเมื่อร้องไห้ (จิตวิทยาเด็กเล็ก)

และในฐานะผู้นำองค์กร ต้องสร้างวัฒนธรรมด้านบวก ไม่เอาความผิดพลาดของพนักงานมาบุลลี่ แต่ให้มองว่าเขาได้เรียนรู้และผ่านจุดนั้นมาแล้ว (ไม่มีใครอยากยอมรับว่าตัวเองผิด)

  • “อ้าว…นี่เราเข้าใจผิดมาโดยตลอดหรือนี่!!”
  • “สมัยก่อนผมเคยคิดอีกแบบนึง” (I was once thought differently.)
  • ผม “เคย” เชื่อว่า… (I used to believe…)
  • ตอนนี้ “ตาสว่าง” แล้ว

จะว่าไปแล้วมันก็คล้ายกับการละทิ้งเลิกเรียนรู้ (Unlearn) สิ่งเก่าๆ และน้อมรับสิ่งใหม่ ซึ่งนี่จะเป็นสกิลที่สำคัญมากในยุคนี้ที่ทุกอย่างช่างเปลี่ยนแปลงไปเร็วเหมือนโกหก

โลกธุรกิจยังต้องการคนแบบนี้…

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Bystander Effect
Bystander Effect : สาเหตุที่พนักงานมีความลับแล้วไม่บอกบริษัท
ที่มาของ “ไทยมุง” มัวแต่ยืนดู…แต่ไม่มีใครช่วยสาเหตุที่บริษัทเปลี่ยนแปลงยาก แม้ทุกคนจะรู้หน้าที่พนักงานทุกคนรู้ปัญหาดี แต่ทำไมไม่มีใครพูดเปิดประเด็น?เหตุการณ์น่าเป็นห่วงเหล่านี้มีสาเหตุทางจิตวิทยาเหมือนกันที่เรียกว่า...
Scout Mindset
Scout Mindset : เข้าใจปัญหาด้วยการเฝ้ามองอยู่เงียบ ๆ ห่าง ๆ
เคยสงสัยไหม? ทำไมผู้บริหารบางคนถึงมองปัญหาได้ทะลุปรุโปร่ง “อ่านเกมขาด” ทั้งๆ ที่ดูก็ไม่ได้มีความสามารถเลิศเลอเหนือไปกว่าใคร? แม้ผู้บริหารท่านนั้นไม่ได้มีทักษะพิเศษ...
การประเมินผลการทำงาน
เตรียมตัวให้พร้อม : เคล็ดลับรับมือการประเมินผลการทำงานช่วงสิ้นปีอย่างมืออาชีพ
การประเมินผลการทำงาน คืออะไร?การประเมินผลการทำงาน คือกระบวนการประเมินผลงานของพนักงานอย่างเป็นทางการ โดยจะมีเกณฑ์ตรงกลางที่บริษัทตั้งไว้ และพนักงานจะถูกประเมินโดยหัวหน้างานหรือคนที่เกี่ยวข้องกับตัวเองในการทำงาน...