Assigning Name : คำใหม่ กรอบใหม่ ชีวิตใหม่

การตั้งชื่อ
Economy , Business Class , First Class ///4P: Product – Price – Place – Promotion ///London bus VS. The Routemaster ///new Coke VS. Coca-Cola classic นี่คือตัวอย่างของพลังการ “นิยามชื่อ” ที่เปลี่ยนมุมมองทัศนคติ ภาพลักษณ์ ความเชื่อ ความรู้สึก และอะไรต่อมิอะไรอีกหลายอย่างได้ภายในวินาทีเดียว…อีกหนึ่งเบื้องหลังความมีชื่อเสียง-ความสำเร็จของแบรนด์ที่หลายคนมองข้าม

Assigning Name : กลยุทธ์ “การตั้งชื่อ”

คุณ Suzanne Degges-White นักจิตวิทยาจาก Northern Illinois University เผยว่า การ “นิยามชื่อ” ให้แก่อะไรก็ตามไม่ว่าจะสิ่งของหรือสิ่งมีชีวิต เราจะเกิดอารมณ์ร่วมกับสิ่งนั้น และบางครั้งอาจรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ 

ทุกคำพูดมาพร้อมการตีกรอบ (Framing) ในใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งเสมอโดยที่เราอาจไม่รู้ตัว มันอาจมีอิทธิพลต่อการตีกรอบโจทย์ใหม่ เปิดวิสัยทัศน์ใหม่ๆ โน้มน้าวเชื้อเชิญให้คิด-ทำอะไรบางอย่าง การนิยามสร้างชื่อจึงมีความสำคัญไม่น้อย

การตั้งชื่อ

อันที่จริงแล้ว การนิยามชื่อไม่มีกฎเกณฑ์หรือ “สูตรสำเร็จ” ตายตัว เพราะขึ้นอยู่กับบริบทและความเป็นปัจเจกของใครของมัน 

แต่อย่างไรก็ดี เราสามารถดูตัวอย่างเหล่านี้เพื่อเป็นไอเดียแรงบันดาลใจได้

การตั้งชื่อ Starbucks

เมื่อพูดถึงชื่อ จะไม่พูดถึง Starbucks คงไม่ได้ เพราะเป็นเชนร้านกาแฟที่ได้ริเริ่ม “วัฒนธรรมการเขียนชื่อลูกค้า” เป็นเจ้าแรก ลูกค้ารู้สึกถึง Ownership เอกลักษณ์ความเป็นเจ้าของ แก้วนี้เพื่อฉันคนเดียวในโลก

แถมวัฒนธรรมการเขียนชื่อ ยังปรับเปลี่ยนไปตามเทศกาล-วัฒนธรรมแต่ละประเทศ บอกถึงความใส่ใจรายละเอียด

  • K’Boy (ไทย)
  • Yamada-san (ญี่ปุ่น)
  • Have a lovely day! (อังกฤษ)
  • Merry X’Mas! (ช่วงคริสต์มาสทั่วโลก)

สิ่ง(ที่ดูเหมือน)เล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ กลับสร้างความประทับใจ-อิ่มเอมใจให้ลูกค้าได้มากแล้ว

การตั้งชื่อ

4P-4C-4D-4E 

แม้คนที่ไม่ได้จบด้านการตลาด แต่อย่างน้อยก็น่าจะจำ “4P” ได้ขึ้นใจ เพราะเป็นพื้นฐานการตลาดที่บรรจุอยู่ในระบบการศึกษา แถมมีชื่อสั้นๆ ปริมาณไม่เยอะ มีตัวเลขและตัวอักษรอย่างละหนึ่ง

4P เป็นต้นแบบ “การตั้งชื่อ” ด้านการตลาดก็ว่าได้ เพราะปัจจุบันมีการแตกยอดไปหลากหลายเรื่องแล้ว 

จากดั้งเดิมที่มีแค่ 4P: Product – Price – Place – Promotion เกิดเป็น…

  • 4C: Customer – Cost – Convenience – Communication
  • 4D: Disruption – Digitalization – De-silotage – Diffusion
  • 4E: Experience – Exchange – Everywhere – Evangelism

สร้างสรรค์ จำง่าย และสอดคล้องกับยุคปัจจุบัน

Economy / Business Class / First Class

ประยุกต้ใช้กับการวางตำแหน่งทางการตลาดของสินค้า-บริการได้ดีเช่นกัน กรณี “คลาสที่นั่ง” บนเครื่องบินคือตัวอย่างที่ชัดเจน

แม้จะเป็นกลุ่มผู้โดยสารที่มีจำนวนมากที่สุด แต่ไม่มีใครอยากถูกตีตราว่านั่งชั้น “Third-Class” ซึ่งให้ภาพลักษณ์ในแง่ลบราวกับถูกด้อยค่า ชั้นที่นั่งนี้จึงถูกนิยามใหม่เป็น Economy หรือชั้นประหยัดซึ่งให้ภาพลักษณ์ที่เป็นกลาง

ขณะที่ชั้นสูงขึ้น ยังคงใช้ชื่อที่สื่อถึงความมีระดับอย่าง Business Class ที่เจาะกลุ่มนักธุรกิจตามรากเหง้าที่กำเนิดมาในยุค 1980 และ First Class ที่สื่อถึงความเป็นที่สุด 

นอกจากนี้ ยังเป็นเทคนิคหลีกเลี่ยงการใช้คำที่ส่อไปทางลบ เช่นถ้าทำธุรกิจ Hostel ราคาย่อมเยา แทนที่จะใช้คำว่า Cheap (ถูก) ก็อาจเปลี่ยนมาเป็น Affordable / Budgeted / Cost-effective ได้เช่นกัน

The Routemaster

ในด้านขนส่งมวลชนและการท่องเที่ยวของเมือง รถบัสสีแดงในกรุง London ถูกสร้างชื่อขนานนามว่า “The Routemaster” (ผู้เชี่ยวชาญในเส้นทาง) นอกจากชื่อจะไพเราะมีเอกลักษณ์แล้ว ยังให้ความรู้สึกพรีเมียมมีระดับขึ้นมาทันที (และรู้สึกเหมือนมี “พี่ใหญ่” คอยพาชมเมือง)

การตั้งชื่อ

เรื่องนี้สอดคล้องกับภาพลักษณ์ที่ผู้บริหารองค์กรเดินรถตั้งใจไว้ ที่อยากให้การโดยสารรถเมล์ในเมือง เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของประชาชน เป็นความภาคภูมิใจ รู้สึกไม่เหนียมอายที่ขึ้นรถเมล์ (มี Self-esteem ในการใช้บริการ)

Artisan VS. Takumi 

การยืนยันใช้คำภาษาต่างประเทศ ก็เป็นอีกกลยุทธ์ที่น่าสนใจ

ในภาษาญี่ปุ่น คำว่า Takumi ให้ความหมายโดยรวมเหมือนกับคำว่า Artisan ที่แปลว่า “ช่างฝีมือผู้เชี่ยวชาญ”

แต่แบรนด์ญี่ปุ่นบางแบรนด์ เช่น Lexus กลับเลือกใช้ “Takumi” คำนี้ในทุกสื่อโฆษณา ซึ่งให้ความรู้สึกเชื่อมโยงถึงรากเหง้าวัฒนธรรมญี่ปุ่น “ความเป็นญี่ปุ่น” ที่ตรงกับภาพลักษณ์ของรถยนต์มากกว่าจะเลือกใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

New Coke VS. Coca-Cola classic 

แต่ “การตั้งชื่อ” ที่ผิดพลาดก็นำมาสู่ความล้มเหลวได้เช่นกัน

ปี 1985 Coca-Cola ได้บทเรียนความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ เพราะเป็นปีที่ออกรสชาติใหม่ในชื่อว่า “new Coke” ตั้งใจสร้างความแปลกใหม่ แต่ปรากฎว่าผู้บริโภคทั่วประเทศกลับให้ผลตอบรับตรงกันข้ามกับที่คิด (Backlash) 

ส่วนหนึ่งเพราะชื่อให้ความรู้สึกสดใหม่ ขณะที่ผู้คนโหยหา “ระลึกถึงความหลัง” ที่มีต่อ Coca-Cola เหตุการณ์นี้ทำให้ยอดขายดิ่งเหว จนสุดท้ายต้องเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “Coca-Cola classic” 

และแม้แต่คำศัพท์ในภาษาเดียวกัน ก็ยังมีระดับความ “ลึกซึ้ง” ของความหมายที่แตกต่างกัน จึงต้องระมัดระวังในการใช้เรียก

  • Coffee master VS. Coffee connoisseur
  • Employee VS. Partner
  • Disabled parking VS. Priority parking
  • กรรมกรต่างด้าว VS. ผู้ใช้แรงงานชาวต่างชาติ

การนิยามสร้างชื่อทรงพลังกว่าที่เราคิด และเป็นส่วนสำคัญต่อทุกความสำเร็จ(และล้มเหลว) ของแบรนด์เลยทีเดียว

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

openai
ข่าวดี! OpenAI Academy เปิดให้เรียนรู้ AI ฟรีแล้ววันนี้!
CareerVisa ขอแนะนำแพลตฟอร์มใหม่จาก OpenAI ที่เปิดโอกาสให้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน ครู ผู้ประกอบการ หรือผู้ที่สนใจทั่วไปก็สามารถเรียนรู้และใช้งาน AI ได้อย่างมั่นใจ...
discipline
ฝึกตัวเองให้มีวินัยขั้นสุดยอด อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ได้ด้วยสิ่งนี้ โดย Andrew Huberman
สำหรับใครที่รู้สึกว่าควบคุมตัวเองไม่ค่อยได้ ไม่มีวินัยเอาซะเลย วันนี้ CareerVisa จะมาเล่าให้ฟังแบบบ้านๆ เรื่องอยากมีวินัย (discipline) ให้ฟังว่าทำยังไงถึงจะฝึกวินัยได้แบบเป็นวิทยาศาสตร์...
Kelly McGonigal
"เครียดยังไงให้กลายเป็นพลังบวก" สรุปแนวคิดจาก Kelly McGonigal นักจิตวิทยาด้านสุขภาพและผู้เขียนหนังสือ "The Upside of Stress"
วิธีคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนมุมมองต่อความเครียดเพื่อใช้มันเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตัวเอง 1. มองความเครียดเป็นพลัง ความเครียดไม่ใช่สิ่งที่ต้องกลัว การเชื่อว่าความเครียดช่วยเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อมรับมือความท้าทาย...