Toxic Culture กับมุมมองของ Gen Z: เมื่อคนรุ่นใหม่ไม่ทนต่อองค์กรที่เป็นพิษ

Toxic culture

กลุ่มคนรุ่นใหม่ Gen Z อาจไม่ได้ขี้เกียจหรือเกี่ยงงานอย่างที่ใครหลายคนกำลังคิดและ Stereotype จากการเก็บข้อมูลในหลายสำนักวิจัยพบว่า พนักงานกลุ่มนี้เพียงแค่ไม่อยากเป็นเหมือนรุ่นพ่อแม่ที่ถวายชีวิตให้กับงานจนไม่มีเวลาให้ลูก และคนกลุ่มนี้ยังเติบโตมาในยุคที่ใบปริญญาไม่ได้การันตีความมั่นคงของงาน แถมยังมีความกดดันจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย แถมยังมีปัญหา Toxic Culture อีกด้วย ปรากฎการณ์ที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ไม่ทนกับงานไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก

ในสหรัฐอเมริกาเองก็มีการเคลื่อนไหวจากกลุ่มแรงงาน เพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกการทำงานล่วงเวลาในกลุ่มคนอายุ 20 กว่า และผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานในองค์กร ทั้งองค์กรระดับโลกอย่าง Starbucks, Amazon, Home Depot ไปจนองค์กรขนาดเล็ก พนักงานที่เกิดในปี 1997 ถึง 2012 ไม่ใช่เด็กอีกต่อไป คนกลุ่มนี้ทำงานมาแล้วอย่างน้อย 1 ปีในองค์กร ให้ความสำคัญกับความยุติธรรม (Fairness) มากกว่าสิ่งอื่นใด จะไม่ยอมทนกับมาตรฐานและพฤติกรรมที่บิดเบี้ยวในองค์กร

ใช้โซเชียลมีเดียแก้ไขรูปแบบความสัมพันธ์ที่บิดเบี้ยวระหว่างหัวหน้า-ลูกน้อง

คน Gen Z เลือกที่จะ “ปฏิเสธ” สิ่งที่ไม่เห็นด้วย ซึ่งความคิดนี้แตกต่างจากคนรุ่นเดิม ไม่ว่าจะเป็นการสั่งงานนอกเวลางาน หัวหน้าที่ไม่น่าเคารพ และงานที่ไม่มีขอบเขตตามที่ตกลงกันไว้ ด้วยความคิดนี้เอง Gen Z พร้อมเผชิญหน้ากับหัวหน้างานโดยไม่เกรงกลัวเหมือนคนเจเนอเรชั่นก่อน ๆ แต่พบว่ามีพนักงานเพียง 8% เท่านั้นที่รายงานความ Toxic ในองค์กร อาทิ การบูลลี่ในที่ทำงาน การล่วงละเมิศทางเพศ หรือการเหยียดเชื้อชาติผ่านช่องทางที่องค์กรจัดไว้ให้ เพราะไม่ศรัทธาในช่องทางดังกล่าวและมองว่าอาจสร้างปัญหาในอนาคตเพิ่มอีก Gen Z จึงเลือกใช้วิธีการที่พวกเขาถนัดที่สุด นั่นคือกรเติบโตมาท่ามกลางโลกดิจิทัล ด้วยการต่อสู้ผ่านโซเชียลมีเดียและช่องทางต่าง ๆ บนโลกออนไลน์อีกด้วย ไม่ใช่เฉพาะในออฟฟิศหรือการพูดคุยกันแบบตัวต่อตัวกับหัวหน้างานเท่านั้นเเหมือนกับรุ่นพี่ที่เคยทำมาในอดีต ตัวอย่างเช่นการติดแฮชแท็ก #MeToo เพื่อสื่อถึงการถูกล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงาน (Sexual Harrassment) ผ่านทาง Twitter หรือการให้ความรู้เรื่องสิทธิของพนักงานไปทั่วโลกภายในไม่กี่วินาทีผ่านแพลตฟอร์ม Tiktok อย่างสร้างสรรค์อีกด้วย

ส่วนประกอบของความ Toxic Culture ในองค์กรมีอะไรบ้าง?

The Toxic Five เป็นตัวอย่างของสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษในการทำงานจากมุมมองของพนักงาน โดยเฉพาะพนักงานคนอายุน้อย ได้แก่ การไม่ให้เกียรติ (Disrespectful) , การแบ่งแยก (Noninclusive) , การผิดจรรยาบรรณ (Unethical) , การห้ำหั่นหักหลัง (Cutthroat) , และการล่วงละเมิด (Abusive) สถานการณ์ดังกล่าวไม่ใช่ว่าในอดีตไม่เคยเกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายองค์กรเผชิญ และล้วนไม่มีใครชอบ แม้แต่กลุ่ม Babyboomer, Gen X, หรือ Gen Y ก็ตาม แต่ในสมัยหนึ่งพนักงานรุ่นเดิมกลับมองว่าตนเองไม่มีทางเลือก ได้แต่เลือกที่จะทนหรือร้องเรียนอยู่เงียบ ๆ เท่านั้น ในมุมกลับกันหากใครทนได้ ไม่เหลาะแหละลาออกหนีปัญหา ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นคนอึด แกร่ง เก่งในสายตาของหัวหน้างานและครอบครัวอีกด้วยจนกลายเป็นวัฒนธรรม รวมถึงสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมก็ส่งผลต่อการคิดและตัดสินใจของคนในแต่ละเจเนอเรชั่นที่แตกต่างกัน

สิ่งเหล่านี้เป็นพิษกับอะไรบ้าง?

การทำงานในสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษนี้ นำไปสู่ความเครียดของพนักงาน อาการ burnout ปัญหาสุขภาพจิต และยังนำไปสู่ปัญหาสุขภาพทางกายได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หอบหืด เบาหวาน และโรคข้ออักเสบที่สูงขึ้นจาก 35% เป็น 55% อีกด้วย ซึ่งเป็นบ่อเกิดของปรากฎการณ์ The Great Resignation

ผู้นำเป็นจุดเริ่มต้นอันดับหนึ่งของความเป็นพิษในองค์กร

จากการศึกษาข้อมูลหลายพบความสัมพันธ์สัมพันธ์ (correlation) ระหว่างปัจจัยเหล่านี้และวัฒนธรรมองค์กรที่ถูกมองว่าเป็นพิษ ซึ่งผู้นำ (Leadership) เป็นปัจจัยที่ส่งผลเป็นอันดับหนึ่ง ผู้นำในระดับสูงส่งต่อวัฒนธรรมการทำงานในสไตล์ของตัวเองไปยังหัวหน้างานลำดับถัดไปที่จ้างเข้ามาและสอนงานต่อ แต่ถึงแม้ผู้นำสูงสุดจะเป็นแบบอย่างที่ดี ผู้นำระดับต้นและหัวหน้างานก็สามารถสร้างวัฒนธรรมในระดับทีมย่อยที่แตกต่างกันได้ ถึงแม้ว่าจะมีนโยบายขององค์กรเดียวกันกำกับอยู่ก็ตาม

แค่ไหนจึงเรียกว่า Toxic Culture

ถึงแม้ว่าความรู้สึกต่อสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นเรื่องส่วนบุคคล มีความแตกต่างกันตามตัวบุคคล แต่เมื่อใดก็ตามที่พนักงาน 1 คนจากทุก 4 คนเริ่มรู้สึกถึงความ Toxic ในองค์กร เมื่อนั้นแปลเป็นนัยได้ว่า วัฒนธรรมองค์กรนั้น ๆ กำลังมีป้ญหา

การแก้ปัญหา Toxic Culture เป็นของทุกคน แต่ต้องเริ่มโดยผู้นำ

ผู้นำหลายองค์กรเลือกที่จะนำการแก้ปัญหาเรื่องนี้ไปผูกกับตัวเลขทางธุรกิจ เช่น ค่าใช้จ่ายจากการลาออก หรือ ค่ารักษาพยาบาลพนักงาน ทั้งที่จริงแล้วต่อให้ไม่มีเรื่องตัวเลขเหล่านี้ ปัญหา Toxic Workplace เป็นเรื่องของคนทุกเจเนอเรชั่นในองค์กรที่ต้องจัดการและไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในฐานะผู้นำองค์กร หัวหน้างาน หรือฝ่ายบุคคลผู้มีสิทธิและอำนาจที่ถูกต้องจึงควรตรวจสอบความจริงโดยไม่มี Bias ไม่ยึดติดกับความเคยชินที่อยู่ร่วมกันมาแบบนี้ตั้งแต่อดีต และลงมือนำการแก้ไขปัญหาตัดวงจรแต่เนิ่น ๆ ไม่ปล่อยให้ลุกลามจน Gen Z ต้องลุกขึ้นมาแชร์ผ่านโซเชียลมีเดียหรือแห่ลาออกจนเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตให้กับธุรกิจกำลังจะต้องเติบโตต่อและต้องพึ่งพาคนรุ่นใหม่ที่จะไปกับอนาคตขององค์กร

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

openai
ข่าวดี! OpenAI Academy เปิดให้เรียนรู้ AI ฟรีแล้ววันนี้!
CareerVisa ขอแนะนำแพลตฟอร์มใหม่จาก OpenAI ที่เปิดโอกาสให้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน ครู ผู้ประกอบการ หรือผู้ที่สนใจทั่วไปก็สามารถเรียนรู้และใช้งาน AI ได้อย่างมั่นใจ...
discipline
ฝึกตัวเองให้มีวินัยขั้นสุดยอด อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ได้ด้วยสิ่งนี้ โดย Andrew Huberman
สำหรับใครที่รู้สึกว่าควบคุมตัวเองไม่ค่อยได้ ไม่มีวินัยเอาซะเลย วันนี้ CareerVisa จะมาเล่าให้ฟังแบบบ้านๆ เรื่องอยากมีวินัย (discipline) ให้ฟังว่าทำยังไงถึงจะฝึกวินัยได้แบบเป็นวิทยาศาสตร์...
Kelly McGonigal
"เครียดยังไงให้กลายเป็นพลังบวก" สรุปแนวคิดจาก Kelly McGonigal นักจิตวิทยาด้านสุขภาพและผู้เขียนหนังสือ "The Upside of Stress"
วิธีคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนมุมมองต่อความเครียดเพื่อใช้มันเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตัวเอง 1. มองความเครียดเป็นพลัง ความเครียดไม่ใช่สิ่งที่ต้องกลัว การเชื่อว่าความเครียดช่วยเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อมรับมือความท้าทาย...