เมื่อ พนักงานแย่ๆ กำลังไล่พนักงานน้ำดี องค์กรควรรับมืออย่างไร?

พนักงานแย่ เป็น “ลูกรัก” ของนายวันๆ เอาแต่นินทา บ่น ด่า จนบรรยากาศที่ทำงานเสียน้ำเสียไม่ยอมออก สุดท้าย น้ำดีทยอยออกแทน

น้ำเน่าเพียงหยดเดียว เมื่อเจือปนในน้ำดี ก็ทำให้น้ำทั้งหมดเน่าเสียได้…แม้จะปนเปื้อนเล็กน้อยแค่ไหน แต่น้ำทั้งหมดที่อยู่ในนั้นก็ไม่อาจเรียกตัวเองว่าเป็น “น้ำบริสุทธิ์” น้ำดี น้ำที่มีคุณภาพได้อีกต่อไป บริษัทเองก็เช่นกัน “พนักงานแย่ๆ” เพียงคนเดียว (หรือหยิบมือ) อาจฉุดรั้งให้ทั้งบริษัทต้องเดินถอยหลัง เพราะแท้จริงแล้ว องค์กรก็คือ “คน” นี่เอง…ถ้ามีคนดี-คนเก่ง องค์กรก็เจริญรุ่งเรือง

ผลวิจัยจาก Gallup เผยว่ากว่า 17% ของพนักงานชาวอเมริกันเข้าข่ายเป็นพวกน้ำเสีย โดยมีลักษณะไม่ให้ความร่วมมือ ไม่มีส่วนร่วม และมีแนวโน้มจุดประเด็นความแตกแยกภายในองค์กร…นี่เป็นประเด็นที่จะมองข้ามไปไม่ได้เลย

พนักงานแย่ๆ

พฤติกรรมของ “พนักงานแย่”

“แย่” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง Performance แย่เท่านั้น แต่หมายถึง “พฤติกรรมโดยรวม” ที่ทำลายบรรยากาศในที่ทำงาน / บั่นทอดความคิดสร้างสรรค์ / ลด Productivity เพื่อนในทีม

โดยอุปนิสัยของ “พนักงานแย่ๆ” มีได้หลากหลาย ตัวอย่างเช่น

  • นินทา – เป็นเสียง Toxic ที่สร้างความน่ารำคาญ
  • อารมณ์เกรี้ยวกราด – คุยด้วยเหตุผลไม่ค่อยได้
  • อีโก้ – หยิ่งทะนงตัว ความคิดตัวเองถูกต้อง คนอื่นต้องตาม
  • เล่ห์เหลี่ยม – กลับคำไปมา มีแนวโน้มช่อโกง
  • เล่นบทเหยื่อ – มีอะไรโทษแต่คนอื่น ไม่เคยโทษตัวเอง
  • ด้อยค่าคนอื่น – ไม่เคยเห็นหัว เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง

นอกจากนี้ “คุณคือค่าเฉลี่ยของคน 5 คนที่คลุกคลีมากที่สุด” เป็นวลีที่รับรู้และยอมรับกันดีในวงการธุรกิจ เมื่อเป็นเช่นนี้ เราคงไม่อยากให้พนักงานดีคลุกคลีกับพนักงานแย่นัก

เพราะพฤติกรรมของคนเรา “แพร่ระบาด” (Spreadable) ไปยังคนอื่นได้อย่างง่ายดาย ผ่านปฏิสัมพันธ์ผิวเผินแค่การมองเห็น / รับรู้ / ได้ยินมา

เราจะเห็นว่ามีคาแรคเตอร์คล้าย “โควิด” ไวรัสที่แพร่เชื้อกลายพันธุ์ เมื่อมี 1 คนติดขึ้นมา ต้องรีบล็อคดาวน์พื้นที่ทั้งหมดเพื่อไม่ให้ระบาดหนัก

จากพฤติกรรมพนักงานแย่ 1 คน กลายเป็นว่า “เริ่ม” มีคนที่พูดจา Toxic ทำนองนี้โผล่ขึ้นมา 1-2-3-4 และมากขึ้นเรื่อยๆ (เป็นการ “เลียนแบบ” พฤติกรรมโดยไม่รู้ตัว) จนอาจกลายเป็น “วัฒนธรรมคนในองค์กรใหม่” ในอนาคตอันใกล้ที่ไม่น่าอภิรมย์นัก

ทั้งหมดทั้งมวลนี้ อาจนำไปสู่บรรยากาศในออฟฟิศที่น่าเวทนา เพื่อนร่วมทีมเริ่มขาดความไว้วางใจแก่กัน การทำงานไม่ราบรื่น และสุดท้าย “ความสุข” ในการทำงานที่ดำดิ่ง

พนักงานแย่ๆ

นอกจากนี้ นักวิจัยจาก University of Washington Business School ทำการทดลองโดยส่งพนักงานแย่ 1 คน เข้าไปร่วมทำงานโปรเจ็คท์กับพนักงานดี ก่อนจะพบว่า “Productivity ของพนักงานดี ลดลง 30%” เป็นอย่างน้อย

แล้วองค์กรจะรับมือกับ พนักงานแย่ๆยังไงได้บ้าง?

แน่นอนว่า ขั้นตอนแรกคือการเรียกทุกฝ่ายมา “พูดคุยแบบเปิดอก” (Candid group conversation) ปัญหาส่วนใหญ่แก้ได้ด้วยการพูดคุยเจรจาต่อรอง 

ค้นหาว่า “ต้นตอของปัญหา” มาจากไหน อะไรทำให้พนักงานแย่ถึงมีพฤติกรรมแบบนี้? รากเหง้ามาจากปัญหาครอบครัวรึเปล่า มีปัญหาส่วนตัวที่ไม่สบายใจอยู่เดิมรึเปล่า?

สาธยายว่า พฤติกรรมของพนักงานแย่ส่งผลกระทบร้ายแรงแค่ไหนต่อผู้อื่น ทำให้ Productivity ลดลงไปแค่ไหน ทำให้บรรยากาศการทำงานแย่ลงอย่างไร อธิบายอย่างมีเหตุผล 1-2-3-4

.

.

การ “ไม่โปรโมท” ขึ้นตำแหน่งหรือขึ้นเงินเดือน โดยให้เหตุผลเรื่องพฤติกรรมเสียๆ หายๆ ที่ต้องแก้ให้ได้ก่อน ก็เป็นอีกกลไกที่เป็นที่ยอมรับได้

“ทัศนคติ” ก็สำคัญในหมู่หัวหน้า-ผู้บริหาร หลายท่านยุ่งกับงานตัวเองมากจนมองว่านี่เป็นเรื่องดราม่าระหว่างบุคคล “อยู่ได้ก็อยู่ อยู่ไม่ได้ก็ออกไป” ไม่ได้เกี่ยวข้องกับนโยบายหรือเรื่องสำคัญของบริษัท 

แต่ต้องไม่ลืมว่า บริษัทดำเนินไปได้เพราะ “คนเก่ง” ถ้าคนเก่ง คนดี ขยัน ซื่อสัตย์ ทยอยออกไปที่อื่น…คงไม่ใช่เรื่องดีแน่ๆ ระดับผู้นำจึงเป็นหัวหอกในการลงมาแก้ปัญหานี้ด้วย (Address the problem)

อีกประเด็นน่าลำบากใจคือ พนักงานแย่คนนั้นเป็น “ลูกรัก” ของหัวหน้าอีกทีหนึ่งด้วยเหตุผลบางประการ กรณีนี้อาจต้องให้หัวหน้าที่ตำแหน่งสูงขึ้นไปอีกหรือสูงสุด “รับรู้” ปัญหานี้และดำเนินการแก้ไขซะ

.

.

อย่างไรก็ตาม ข้อควรระวังคือต้องแยกให้ออก ต้องวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดี บางทีพนักงานคนนั้นอาจแย่ในมุมมองของพนักงานด้วยกันเอง แต่อาจ “ดี” ในมุมมองของผู้บริหาร

เค้าอาจเป็นคนพูดจาแรงๆ ขวานผ่าซาก ไม่ให้เกียรติคนอื่นเท่าไรนัก…แต่แลกมาด้วยการดูแลผลประโยชน์บริษัทได้ดี ไม่ยอมให้ใครมาเอาเปรียบ

กรณีนี้ อาจต้องปรับที่ “วาทศิลป์” การสื่อสารระหว่างเพื่อนร่วมงานแทน

.

.

แม้พนักงานแย่จะรับรู้แล้ว แต่สุดท้ายยังไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้ บริษัทคงต้องพิจารณา “เชิญออก” และหาคนใหม่มาแทน

แม้ต้องเสียทรัพยากรเพิ่ม แต่น่าจะคุ้มค่ากว่าใน “ระยะยาว” และเป็นผลดีต่อ “ส่วนรวม” คนอื่นในองค์กรก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป จนบานปลายเข้าสู่สถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออก 

นั่นคือ พนักงานดีต่างทยอยออกเผ่นหนีจนหมด กลายเป็นองค์กรเหลือแต่พนักงานแย่ๆ ในที่สุด…

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

openai
ข่าวดี! OpenAI Academy เปิดให้เรียนรู้ AI ฟรีแล้ววันนี้!
CareerVisa ขอแนะนำแพลตฟอร์มใหม่จาก OpenAI ที่เปิดโอกาสให้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน ครู ผู้ประกอบการ หรือผู้ที่สนใจทั่วไปก็สามารถเรียนรู้และใช้งาน AI ได้อย่างมั่นใจ...
discipline
ฝึกตัวเองให้มีวินัยขั้นสุดยอด อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ได้ด้วยสิ่งนี้ โดย Andrew Huberman
สำหรับใครที่รู้สึกว่าควบคุมตัวเองไม่ค่อยได้ ไม่มีวินัยเอาซะเลย วันนี้ CareerVisa จะมาเล่าให้ฟังแบบบ้านๆ เรื่องอยากมีวินัย (discipline) ให้ฟังว่าทำยังไงถึงจะฝึกวินัยได้แบบเป็นวิทยาศาสตร์...
Kelly McGonigal
"เครียดยังไงให้กลายเป็นพลังบวก" สรุปแนวคิดจาก Kelly McGonigal นักจิตวิทยาด้านสุขภาพและผู้เขียนหนังสือ "The Upside of Stress"
วิธีคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนมุมมองต่อความเครียดเพื่อใช้มันเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตัวเอง 1. มองความเครียดเป็นพลัง ความเครียดไม่ใช่สิ่งที่ต้องกลัว การเชื่อว่าความเครียดช่วยเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อมรับมือความท้าทาย...