Knowledge Expansion : จะ “หาความรู้เพิ่ม” ท่ามกลางกิจวัตรเดิม ๆ ได้อย่างไร ?

หาความรู้
สิ่งที่ทำให้คนพัฒนาขีดความสามารถได้อย่างแท้จริงคือการ “รู้รอบด้าน” เพราะจะเกิดการ “เชื่อมโยง” ศาสตร์เข้าด้วยกัน ก่อเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่

ในโลกธุรกิจที่เคลื่อนไหวไปข้างหน้าอยู่ตลอด ใครที่อยู่เฉยๆ ไม่อัพเดทตัวเอง ก็เหมือน “เดินถอยหลัง” แล้ว!! การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจึงควรเป็น Default Mode เรื่องพื้นฐานที่ต้องทำเป็นกิจวัตร

คนที่เรียนรู้พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ จะตามทันโลก เข้าใจสถานการณ์ จนมองเห็นโอกาสใหม่ๆ ที่นำไปสู่การประสบความสำเร็จ

แต่พวกเราส่วนใหญ่ วุ่นกับ “กิจวัตรประจำวัน” ที่มีปัญหาเฉพาะหน้าให้แก้ไม่หยุดหย่อน…แล้วจะ “หาความรู้” ใหม่ๆ มาใส่ตัวได้อย่างไร?

หาความรู้

วิทยาศาสตร์ของการเรียนรู้ 

ก่อนจะลงลึก เรามาเข้าใจการทำงานของสมองเกี่ยวกับการเรียนรู้เล็กน้อย

สิ่งที่ทำให้คนพัฒนาขีดความสามารถได้อย่างแท้จริงคือการ “รู้รอบด้าน” เพราะจะเกิดการ “เชื่อมโยง” ศาสตร์เข้าด้วยกัน ก่อเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ วิธีแก้ปัญหาใหม่ๆ

เรื่องนี้ตรงกับคำที่ฮิตกันอย่าง “Connecting the Dots” ถ้า Dots (หรือจุด) มีความ “แตกต่าง” หลากหลายมากเท่าไร ยิ่งมีโอกาสนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ มากเท่านั้น

มาถึงตรงนี้เราจะเห็นว่า แค่กิจกรรมง่ายๆ อย่างการ “ลองทำอะไรใหม่ๆ” ก็เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ได้มากแล้ว

  • อ่านหนังสือหลากหลายแนว
  • ท่องเที่ยวที่ใหม่ๆ
  • พบเจอผู้คนใหม่ๆ หลายวงการ
  • ลองทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ
หาความรู้

หาความรู้เพิ่ม … ท่ามกลางกิจวัตรเดิมๆ 

เรามาสำรวจเทคนิคง่ายๆ (นำไปใช้ได้ทันที!) ที่แม้จะเจอกับข้อจำกัดและกิจวัตรประจำวันเดิมๆ ซ้ำซาก…แต่ก็เปิดโลก ช่วยให้เรารอบรู้มากขึ้นได้

1. Growth Mindset

ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน

ก่อนเรียนรู้อะไรต้องเปลี่ยนชุดความคิดก่อนว่า “เราทำได้”

เราคิดและเชื่อสนิทใจแบบนี้ จะส่งสัญญาณไปยังสมองให้ช่วยจดจำได้ฝังแน่นขึ้น

Growth Mindset จะปฏิเสธข้ออ้างเหล่านี้: แก่เกินไปแล้ว / สายเกินไปแล้ว / ไม่มีเวลา / ไม่ถนัด / เดี๋ยวไว้ก่อนล่ะกัน…ความคิดเหล่านี้คือกรงขังที่ทำให้คุณหยุดเรียนรู้

หาความรู้

2. เวลา x ค่าเสียโอกาส

อันที่จริงแล้วเราทุกคนมีเวลาเท่ากัน คนที่อ้างว่า “ไม่มีเวลา” อาจหมายถึง “บริหารเวลา” ได้ยังไม่ดีพอต่างหาก

การคิดถึงเวลาและค่าเสียโอกาส คือด่านต่อมาที่ช่วยให้คุณ “จัดลำดับความสำคัญ” และจัดระเบียบสิ่งที่ควรทำ 

คุณจะเอาเวลาช่วงบ่ายวันอาทิตย์ไปทำอะไร ระหว่างนั่งดูหนังสยองขวัญผ่าน Netflix VS. เข้าสัมมนาออนไลน์ด้านการพัฒนา Public Speaking

ทั้งนี้ ไม่ได้บอกว่า Netflix ไม่ดี…แต่ถ้าคุณต้องการพัฒนาตัวเองด้านการงาน ตัวเลือกหลัง อาจช่วยให้คุณรู้เทคนิคการพูดบนเวทีสาธารณะมากขึ้น ซึ่งส่งผลถึงศักยภาพการทำงานในที่สุด

ให้ลองคิดว่า เวลากับการเรียนรู้ เป็นเหมือน “ดอกเบี้ยทบต้น” ช่วงแรกๆ มันจะดูไม่เยอะมาก แต่เมื่อเวลาผ่านไป ตัวเลขจะทวีคูณช่วงแรกคุณอาจรู้สึกว่า สิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่ๆ เอาไปใช้ไม่ค่อยได้ แต่เมื่อมีองค์ความรู้มากพอจะพบว่าเอาไปต่อยอดได้มหาศาล

3. รวมกลุ่มกิจกรรม

ถ้ากิจวัตรประจำวันยุ่งเหลือเกิน ให้ “รวม” กิจกรรมที่จะเรียนรู้เข้าไว้เป็นแพกเกจเดียวกัน หรืออีกทางเลือกที่ทำควบคู่กันไปได้คือ “ดาวกระจาย” แตกย่อยไปแทรกอยู่ในกิจวัตรอื่นๆ ของวัน

เช่น 

  • รวมกลุ่ม: นัดตีกอล์ฟกับพาร์ทเนอร์ธุรกิจ…ได้อัพเดทงานไปด้วย / สานความสัมพันธ์ไปด้วย / ออกกำลังกายไปด้วย
  • ดาวกระจาย: ฟัง Podcast ขณะวิ่งออกกำลังกายในสวน

4. Reflection

ไม่ใช่แค่ “รับ” (Input) ข้อมูลมาอย่างเดียว แต่ต้อง “ปล่อยออก” ไปด้วย (Output) 

วิธีหนึ่งคือผ่านการสะท้อนความคิดออกมา (Reflection) 

  • เขียนสรุปรายงานประจำวัน 
  • ไดอารี่ว่าวันนี้ได้ทำสำเร็จอะไรไปบ้าง 
  • เขียนคอนเทนต์ลง Facebook
หาความรู้

นี่คือวิธีที่ช่วยให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพและ “ติดตัว” เราไปเนิ่นนาน

เรื่องนี้ยังเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมการทำงานของคนญี่ปุ่น ที่หัวหน้ามักจะให้ “เด็กใหม่” ที่อยู่ในช่วงเรียนรู้งาน “สรุป” สิ่งที่เจอมาแต่ละวันก่อนแจ้งให้หัวหน้าทราบ ซึ่งช่วงแรกเด็กใหม่จะต้องทำแบบนี้ “ทุกวัน”

5. เลิกเรียนรู้สิ่งเก่าๆ

เรามักคิดว่าการเรียนรู้คือการเอาแต่รับสิ่งใหม่ๆ เข้ามา แต่โลกธุรกิจปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สิ่งเดิมๆ ที่เคยเวิร์คในอดีต ปัจจุบันอาจไม่เวิร์คแล้ว 

สิ่งที่ทำได้คือการ “เลิกเรียนรู้” เรื่องเก่าๆ นั้นซะ และโอบกอดสิ่งใหม่ๆ…เพราะแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะรับสิ่งใหม่เข้ามาท่ามกลางชุดความคิดแบบเก่าที่ฝังรากลึกอยู่

แม้แต่สิ่งที่หลายคนบอกว่า ผู้ใหญ่มี “ประสบการณ์” มากกว่าเด็ก ก็อาจใช้ไม่ได้จริงเสมอไปในปัจจุบัน เพราะประสบการณ์นั้นอยู่ในบริบทยุคก่อน

อย่างเช่น Cryptocurrency ซึ่งเป็นของใหม่ในรอบทศวรรษนี้…ผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่าหลายสิบปี ก็ใช่ว่าจะมีประสบการณ์มากไปกว่าคนรุ่นใหม่

6. ปะทะทางความคิดกับผู้คน

การพูดคุยในเชิงวิเคราะห์ / ถกเถียง / โต้แย้ง / หาเหตุผลมาพิสูจน์ความคิดตน จะช่วยยกระดับกระบวนการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical thinking) 

ยิ่งคนเยอะและหลากหลายความคิดมากเท่าไร ความรอบรู้ยิ่งหลากหลายและกลมกล่อมมากขึ้นเท่านั้น แถมทุกคนยังจะได้ฟีดแบคตรงนั้นเลย (Real-time feedback)

การปะทะทางความคิดกับผู้คนแบบนี้เกิดขึ้นได้หลายแบบขึ้นอยู่กับสถานการณ์หรือบุคลิกนิสัยของแต่ละคน เช่น คุณอาจชื่นชอบที่ได้ถกเถียงกันแบบตัวต่อตัว ได้เห็นสีหน้าท่าทางของแต่ละคน

คนสำเร็จระดับโลกก็ทำแบบนี้!!

รู้หรือไม่ว่า เทคนิคเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่บุคคลสำเร็จระดับโลกทำกัน ท่ามกลางงานที่ยุ่งมากแต่ละวัน แต่พวกเขายังสามารถขยายองค์ความรู้ตัวเอง เพิ่มขีดความสามารถไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

Warren Buffett เคยพูดถึงเรื่องนี้อย่างหนักแน่นว่า การลงทุนที่ดีที่สุดคือ “การลงทุนในความรู้” เพราะเมื่อเรามีความรอบรู้มากขึ้น ก็ตัดสินใจกับการลงทุนได้รอบด้านขึ้น และนำไปสู่ชีวิตที่ลงตัวขึ้น

โดยแก่นในการ “หาความรู้” ของเขาคือการ “อ่าน” ทั้งหนังสือ / รายงาน / คำวิพากษ์วิจารณ์ / บทสัมภาษณ์

ที่น่าสนใจคือ Warren Buffett ไม่ได้อ่านแค่เรื่องการเงิน-การลงทุน-เศรษฐกิจ อย่างเดียว แต่แผ่ขยายความ “อยากรู้” ไปมิติอื่นเสมอ เช่น อ่านผลวิจัยล่าสุดด้านผลกระทบของการใช้พลังงานที่มีต่อระบบนิเวศน์ (Ecology) เพราะทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจล้วนใช้พลังงาน 

Mark Zuckerberg ยังใช้เวลาว่างเป็นครั้งคราว “เล่นเกม” Sud Meier’s Civilization ซึ่งผู้เล่นจะต้องสร้างอารยธรรมให้ก้าวไกล โดยรายละเอียดในเกมอาจนำพาให้เรา “ฉุกคิด” หรือมองเห็นประเด็นอื่นๆ ที่อาจไม่คุ้นเคยนัก เช่น การทูต / ภูมิศาสตร์ / นิเวศวิทยา

แม้แต่ Elon Musk ที่เลื่องลือกันว่าทำงานวันละ 16 ชม. ก็ยังดู Netflix เหมือนคนปกติ!! เพียงแต่เขาเลือกประเภทหนังที่จะดู เช่น Black Mirror ซึ่งเกี่ยวกับด้านมืดของเทคโนโลยี

และนี่คือ Knowledge Expansion เทคนิคเรียบง่ายที่กิจวัตรเดิมๆ ไม่สามารถขัดขวางความรอบรู้ของคุณได้อีกต่อไป

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

วิธีประเมินหัวหน้า
วิธีประเมินหัวหน้าอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาทั้งทีมและองค์กร
ในช่วงการประเมินผลการทำงานประจำปี นอกจากพนักงานจะถูกประเมินโดยหัวหน้าแล้ว หลายองค์กรยังเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถประเมินการทำงานของหัวหน้าตนเองได้อีกด้วย...
6 นิสัยสำคัญ
6 นิสัยสำคัญที่จะทำให้ปี 2025 เป็นปีที่ดีที่สุดของคุณ โดย Ali Abdal
ถ้าคุณกำลังมองหาวิธีพัฒนาตัวเองให้ชีวิตดีขึ้นในปี 2025 ลองมาดู 6 นิสัยสำคัญ ที่ Ali Abdal ผู้เชี่ยวชาญด้าน Productivity และเจ้าของช่อง YouTube ชื่อดังแนะนำไว้...
ลาพักร้อน
ก่อน "ลาพักร้อน" ต้องรู้ ! วิธีจัดการงานและตัวเองให้หยุดยาวอย่างสบายใจ 
ลาพักร้อนนี่แหละความสุขของพนักงานคงมีหลายคนที่ทำงานมาตลอดปี และอดทนรอเวลาที่จะได้ใช้วันลาของตัวเองเพื่อไปพักร้อนยาวๆ สัก 1 ทริป บอกเลยว่าการ “ลาพักร้อน”...