ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

คำทรงพลัง
จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้” บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

นี่คือตัวอย่างเทคนิคชั้นเชิงของการใช้ “คำทรงพลัง”

แปลกแต่จริง หลายครั้งมนุษย์เราไม่ค่อยให้ความสนใจกับคำพูดอะไรที่ตรงไปตรงมา ต้องใส่ “ศิลปะ” วาทศิลป์การพูดลงไปก่อนถึงจะค่อยหันมามอง

เรื่องแรกที่ต้องจำขึ้นใจก่อนเลยคือ “อย่าพึ่งรีบพูด…สิ่งที่ต้องการพูด” (ไม่พูดตามที่ใจคิด) เพราะส่วนมากจะไม่ค่อยเวิร์คหรอก ตัวอย่างง่ายๆ เช่น

  • ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ลองไปทานด้วยกันไหมครับ

คุณ Sasaki Keiichi ผู้คว่ำหวอดในวงการโฆษณาญี่ปุ่นเผยว่า เพราะเราอยู่ในยุคข้อมูลล้นโลก (Overloaded information) ข้อมูลไหนที่ไม่มีเอกลักษณ์จะถูก “มองข้าม” ทันทีและถูกปฏิบัติราวกับ “ไม่มีตัวตน” 

และคำพูดคำจาของเราก็เป็นข้อมูลอย่างหนึ่ง จึงต้องมีชั้นเชิงในการพูดเพื่อให้มีตัวตน-ถูกมองเห็น-ได้ในสิ่งที่หวัง

เทคนิคการสร้าง คำทรงพลัง” 

แม้แต่ร้านอาหารมิชลินสตาร์ยังต้องมี “สูตรอาหาร” เพื่อควบคุมรสชาติให้มีมาตรฐานเหมือนกันเลย หัวหน้าเชฟจะไม่หวังพึ่งไหวพริบความรู้สึกส่วนตัว 

คุณ Sasaki Keiichi แนะนำว่าการสร้าง “คำทรงพลัง” ก็มีสูตรที่เอาไปใช้เป็นมาตรฐานได้เช่นกัน เทคนิคนั้นมีหลายแบบ แต่มีชั้นเชิงหนึ่งที่เหมือนกันคือ การทำให้ประโยค “ไม่ราบเรียบ” ยิ่งราบเรียบน้อยเท่าไร…คนยิ่งประทับใจ (เหมือนรถไฟเหาะ)

เรียกชื่อ 

คนเราจะตอบสนองเวลาถูก “เรียกชื่อ” แค่การเรียกชื่อสั้นๆ ก็ช่วยสร้างความรู้สึกใกล้ชิดและผูกพัน…และอย่างที่รู้สึกกัน คนเรามักปฏิเสธคนใกล้ชิดได้ยาก แต่ปฏิเสธคนที่ไม่รู้สึกผูกพันได้ง่าย

เช่น คุณลงจากรถผู้บริหารกำลังเดินเข้าตึกอาคารแต่เช้าตรู่แล้วเจอหัวหน้ารปภ.

  • อ้าว วันนี้มาทำงานแต่เช้าเลยนะ VS. อ้าวสุชาติ วันนี้มาทำงานแต่เช้าเลยนะ

เทคนิคนี้จะดีมากถ้าใช้ควบคู่กับการ “ขอบคุณ”

คนเราจะไม่ค่อยปฏิเสธคำขอบคุณ เพราะความรู้สึก “อยากช่วยเหลือ” คนที่มองเห็นคุณค่าของเรา อยู่ในสัญชาตญาณมนุษย์อยู่แล้ว 

  • รบกวนช่วยส่งมอบให้ลูกค้าทีนะครับ VS. คุณออย ขอบคุณมากนะครับที่ช่วยเหลือผมมาตลอด รบกวนช่วยส่งมอบให้ลูกค้าทีนะครับ

คำขัดแย้ง

นี่คือเทคนิคสุดคลาสสิกและเป็นสากลมากๆ พบเจอในแทบทุกวัฒนธรรมเลยก็ว่าได้

ให้นำประโยคที่ต้องการสื่อสารไปไว้ข้างหลัง และแทรกขึ้นต้นด้วยประโยคที่ “ขัดแย้ง” หรืออยู่ขั้วตรงข้ามขึ้นมาก่อน คีย์เวิร์ดพื้นฐานคือคำว่า “แต่”

  • “นี่ไม่ใช่ชัยชนะของผม…แต่มันคือชัยชนะของพวกคุณ
  • “ใครจะเป็นศัตรูกับคุณก็ช่าง…แต่ผมคนหนึ่งล่ะที่เป็นมิตร
  • “ปกติผมเป็นคนประนีประนอม…แต่ไม่ใช่กับดีลครั้งนี้
  • “ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้
  • “เทคโนโลยีช่วยให้เราสะดวกสบายมากขึ้น…แต่ทำไมเรากลับมีเวลาน้อยลง
  • “จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s”

ปฏิกิริยาร่างกาย

แม้คำที่สื่อถึงปฏิกิริยาร่างกายอาจไม่ได้ใช้พูดจนเกร่อในชีวิตประจำวันนัก แต่จะมีประสิทธิภาพในภาษาเขียนมาก แถมช่วยให้คนรับสารนึกภาพตามได้ง่ายด้วยเพราะเรามีปฏิกิริยาร่างกายเหมือนกัน

  • “พอได้ยินคำปราศัยของคุณ…ผมนี่ขนลุกไปทั้งตัวเลย”
  • “ห้องประชุมวันนี้บรรยากาศตึงเครียดมาก เงียบจนได้ยินเสียงหัวใจตัวเองเต้น


คำซ้ำ

นอกจากตราตรึงในความทรงจำแล้ว ยังไฮไลท์หัวใจสำคัญของคีย์เวิร์ดที่ต้องการสื่อสารไปในตัว

  • “การปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน”
  • “อาหารร้านนี้อร้อย อร่อย อร่อยกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว”
  • “ทุกคนมี Growth Mindset ในตัว ขอให้จำไว้ว่าพวกคุณทำได้ คุณทำได้…สุดท้ายคุณจะต้องทำได้!!”
  • “ทุกเช้าผมจะตื่นมาออกกำลังกาย มื้อเช้าผมจะกินให้เยอะเสมอ ก่อนนั่งทำงานเงียบๆ ในตอนเช้า…ที่สำคัญ ผมตื่นนอนเช้าตรู่เป็นประจำ”

เปรียบเปรย

เทคนิคนี้ช่วยให้คนฟัง “นึกภาพตาม” และช่วยในการจดจำได้ง่ายที่สุด (แต่มีข้อระวังคือ สิ่งที่เปรียบเปรยต้องเป็นสิ่งที่ผู้ฟังมีความเข้าใจหรือคุ้นเคยระดับหนึ่ง) 

  • “บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล”
  • “ธุรกิจก็เหมือนการปลูกต้นไม้ ถ้าปุ๋ยดี ธุรกิจก็โตไว”
  • “การเจรจาต่อรองก็เหมือนละคร มีบางตอนต้องแสดง”
  • “อีโก้ก็เหมือนการใส่ส้นสูง ทำให้คุณดูดี แต่ใส่นานๆ แล้วเมื่อย”

พิเศษเฉพาะคุณ

มนุษย์จะรู้สึกดีเป็นพิเศษเมื่อมีใครทำอะไรให้เราคนเดียว จะยิ่งมีประสิทธิภาพถ้าเกริ่นนำก่อน ช่วยเพิ่มความอยากรู้อยากเห็น (Curiosity) ไปในตัว

  • “เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้”
  • “รู้แล้วอย่าไปเล่าให้ใครฟังนะครับ”
  • “เอาตรงๆ ผมไม่เคยเล่าเรื่องนี้ให้ใครฟังมาก่อนเลยนะ คุณคือคนแรก”

ตัวอย่างการใช้ คำทรงพลัง”

David Ogilvy ผู้ได้รับสมญานามว่าเป็น “บิดาแห่งการโฆษณา” เคยสร้างสรรค์ผลงานหนึ่งในปี 1958 ซึ่งกลายเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงให้คนรุ่นหลังได้ร่ำเรียนกันว่า

“At 60 miles an hour the loudest noise in this new Rolls-Royce comes from the electric clock.”

แทนที่จะบอกว่า “รถคันนี้เงียบที่สุด” แต่เขากลับใส่ท่วงท่าให้กับประโยค

  • ใช้ “ตัวเลข” 60 ไมล์/ชั่วโมง มาอ้างอิงเพื่อความเป็นรูปธรรม เป็นหลักฐานที่จับต้องได้ ทุกคนเข้าใจตรงกัน
  • มีการแฝง “คำขัดแย้ง” อย่าง “The loudest noise” วางไว้อยู่ข้างหน้าคำที่ต้องการสื่อสาร
  • มีการใช้เทคนิค “คำเปรียบเปรย” อย่าง “เสียงนาฬิกา” เพื่อสื่อถึงความเงียบสงบ เป็นอะไรที่จับต้องได้ เสมือนจินตนาการว่าได้นั่งอยู่ในรถ 

มีการใส่เทคนิคคำทรงพลังมาไว้ในประโยคได้อย่างแนบเนียน อ่านแล้วรู้สึกลื่นไหลลงตัว โฆษณาชุดนี้ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ ผลงานของเขาขึ้นหิ้งคลาสสิก ตัวเขาเองกลายเป็นไอคอนแห่งวงการ

ปี 1997 ตอนที่ Tony Blair นายกรัฐมนตรีอังกฤษสมัยนั้น ต้องการเน้นย้ำการให้ความสำคัญเรื่อง “การศึกษา” เป็นวาระแห่งชาติ เคยกล่าวขึ้นสั้นๆ ว่า

“Education, education, education.”

เป็นเทคนิค “คำซ้ำ” อันเรียบง่ายแต่ตราตรึงว่าการศึกษาต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง และสร้างภาพจำของ Tony Blair และการศึกษาไปโดยปริยาย

Reed Hastings ผู้นำ Netflix เคยโต้แย้งว่าเค้าไม่เคยมองสมาชิกในทีมบริษัทเป็นครอบครัว…หากแต่มองและบริหารพวกเขาเป็น “ทีมฟุตบอล” แต่ละคนมีหน้าที่ของใครของมัน ต้องช่วยเหลือกัน ใครทำพลาดก็มีสิทธิ์โดนพักเกม

เทคนิค “คำเปรียบเปรย” ของเขาทรงพลังมาก และมีอิทธิพลทางความคิดต่อผู้นำองค์กรอีกหลายต่อหลายคนที่ออกมาเห็นด้วย

สุดท้าย เทคนิคคำทรงพลังเหล่านี้สามารถนำไปใช้ได้ทั่วโลก ทุกประเทศ ทุกเขื้อชาติ ทุกวัฒนธรรม เพราะมันล้วนมีพื้นฐานความเป็นมนุษย์ คุณเองก็เริ่มต้นลองได้ง่ายๆ เช่นกัน

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ พร้อมมีความสุขกับการทำงานในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 47

Makoto Marketing

Makoto Marketing: การตลาดใช้ใจขาย ลูกค้าใช้ใจซื้อ

500 ปีที่แล้ว Toraya บริษัทที่ขึ้นชื่อเรื่องการใช้แป้งและถั่วแดงมาทำขนมญี่ปุ่น (วากาชิ) ได้ผลิตขนมส่งถวายพระจักรพรรดิญี่ปุ่น

500 ปีต่อมา Toraya ยังคงดำเนินกิจการมาจนถึงทุกวันนี้ ยังเชี่ยวชาญการทำขนมญี่ปุ่นเหมือนเดิม พร้อมยอดขายหลักหมื่นล้านเยนต่อปี