Unintentional Brand Success: บางครั้งโชคก็อยู่ข้างเรา

Unintentional Success
Starbucks เขียนชื่อลูกค้าผิด Cornflake เกิดจากลืมทิ้งข้าวสาลีไว้บนเตา Salt Bae ดังทั่วโลกในข้ามคืนจากคลิปโรยเกลือ

นี่คือตัวอย่างของ Unintentional Success ความสำเร็จที่ดูเหมือนมากับ “โชค” บ้างมาจากความผิดพลาด บ้างมาจากการละเล่นขำๆ…แต่กลับโดนใจผู้คนจนประสบความสำเร็จล้นหลาม 

เรื่องนี้มีส่วนคล้ายคลึงกับ Cunningham’s Law อยู่ไม่น้อย เพราะมนุษย์มีแนวโน้มที่จะ “จับผิด” มากกว่า “จับถูก”

อะไรที่ถูกสมบูรณ์แบบอยู่แล้ว คนเรามักเฉยๆ

แต่อะไรที่ผิดพลาด ฟังดูไม่สมเหตุสมผล เราจะ take action ทำอะไรซักอย่างกับมัน…ซึ่งสุดท้ายกลายเป็น “ได้รับความสนใจ” มากกว่าสิ่งที่ถูกต้องเสียอีก!!

.

.

เราลองมาดูตัวอย่างของแบรนด์ / สิ่งประดิษฐ์ / ผู้คน ที่ประสบความสำเร็จชนิดที่เจ้าตัวเองเองก็ไม่คาดคิดกัน

ตัวอย่างความสำเร็จที่มากับ “โชค”  

Starbucks เขียนชื่อลูกค้าผิดจนกลายเป็น Unintentional Success

นี่คือตัวอย่างที่คลาสสิกมาก บ่อยครั้งที่เวลาลูกค้าสั่งเครื่องดื่ม Starbucks แล้วบาริสต้าสอบถามชื่อเพื่อเขียนลงบนถ้วยและเรามักได้รับชื่อที่เขียน…เกือบถูก

เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้น “ทั่วโลก” เกิดเป็น Viral ของ Starbucks อยู่บ่อยครั้ง เพราะชื่อที่ได้รับมักสร้างความขบขันให้แก่ลูกค้าผู้รับ และเป็นลูกค้าเองที่มัก “ถ่ายรูปลงโซเชียล” ในเชิงตลกขบขัน สร้าง Free Media แบบเป็นกันเองให้กับแบรนด์

 Unintentional Success

Image Cr. bit.ly/2SIaqJw

ถึงกับเกิด #StarbucksNameFail ใน Twitter และ Instagram อยู่เรื่อยๆ เป็นระยะ

ส่วนเหตุผลที่เขียนผิดก็มีหลากหลาย เช่น ชื่อลูกค้าเขียนได้หลายแบบจริงๆ

  • Emily หรือ Emilee 
  • Brian หรือ Bryan

หรือบางทีบาริสต้าก็ยอมรับตรงๆ เลยว่ามาจากความเหนื่อยล้า ทำงานยิงยาวมา 5 ชั่วโมงแล้ว อาจเบลอๆ ฟัง-เขียนผิดๆ ถูกๆ

  • จาก Alan เป็น Alien / จาก Rick เป็น Lick
  • จาก Eric เป็น Evil / จาก Jeff เป็น Chef
  • จาก คุณโอม เป็น คุณโอ่ง / จาก คุณแพร เป็น คุณพระ 

สุดท้ายทางการ Starbucks ออกมาเปิดเผยแล้วว่าไม่มีนโยบายตั้งใจเขียนชื่อลูกค้าผิดแต่อย่างใด

ทางสถาบัน Brandwatch เคยทำการสำรวจเรื่องนี้ใน Twitter ในปี 2017 เป็นเวลาราว 1 เดือนครึ่งที่อเมริกาและอังกฤษ ก่อนพบว่ามีผู้คนพูดถึงกว่า 3,000 แฮชแท็ก

ถ้าคำนวณต่อ เทียบจากจุดเริ่มต้นในปี 2012 ที่ Starbucks ออกนโยบายอย่างเป็นทางการให้เขียนชื่อลูกค้า ตัวเลขอาจพุ่งไปถึง 75,000 แฮชแท็ก (ยังไม่รวมการ retweet) 

 Unintentional Success

Image Cr. bit.ly/2SIaqJw

แม้แต่ Oprah Winfrey เจ้าแม่วงการทีวียังเคยเอ่ยถึงการเขียนชื่อผิดของ Starbucks อย่างตลกขบขันกลางรายการของเธอ…เชื่อเลยว่าวันต่อมา ผู้ชมเป็นล้านของเธอจะต้องลองไปจ่ายเงินสั่งเครื่องดื่มที่ Starbucks เพื่อพิสูจน์เรื่องนี้กับตัว 

Cornflake

ปี 1898 สองพี่น้อง William และ Dr. John Kellogg เผลอลืมทิ้งเมล็ดข้าวสาลีไว้บนเตานานเกินจนเหี่ยวย่น ด้วยความเสียดาย จึงนำไปใส่ในเครื่องบดหวังยืดให้เป็นแผ่น ปรากฏว่ามันได้กลายสภาพเป็นเหมือน “เกล็ดปิ้ง”

หลังจากนั้น จึงได้ลองเอาเมล็ด “ข้าวโพด” มาทำกรรมวิธีเดียวกัน เมื่อลองชิมพบว่ารสชาติไม่เลวเลย!! เมื่อให้คนอื่นลองชิมก็ได้รับคำชมว่าอร่อย… “คอนเฟลก” ได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว!!

ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการพาณิชยกรรมเต็มรูปแบบ เป็นวัฒนธรรมอาหารเช้าของผู้คนทั่วโลกถึงปัจจุบัน

Microwave

ถ้าบรรพบุรุษมนุษย์ยุคหินของเราได้มาเห็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีอยู่ทุกครัวเรือนในปัจจุบันอย่าง “ไมโครเวฟ” พวกเค้าต้องมองว่านี่คือ “เวทมนตร์” แน่ๆ จากของแช่แข็ง ทำให้ร้อน มีกลิ่นหอมโชยพร้อมรับประทานในเวลาไม่กี่นาที

แต่จุดกำเนิดไมโครเวฟกลับเป็นเรื่องแสนบังเอิญ ปี 1945 วิศวกรอย่างคุณ Percy Spencer กำลังทดลองสร้างแมกนีตรอนที่ใช้ในระบบเรดาห์ วันหนึ่งขณะยืนอยู่หน้าเรดาห์ที่กำลังทำงาน แท่งช็อกโกแลตในกระเป๋าเสื้อเขาเริ่มละลาย ก่อนจะทดลองกับวัตถุอื่นๆ เช่น ไข่ และพบว่าระเบิดแตก

จากการทดลองอีกหลายรอบ เขาได้ข้อสรุปว่าคลื่นความร้อนมาจากสิ่งที่เรียกว่า “พลังงานไมโครเวฟ” (Microwave energy) และใช้เวลาอีก 2 ปีในการผลิตเครื่องไมโครเวฟเครื่องแรกของโลก ที่หนักถึง 340 กก. สูง 168 ซม. สนธิราคา 5,000 เหรียญดอลล่าห์สหรัฐ

ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอยู่เสมอ ไมโครเวฟมีน้ำหนักเบาลง ขนาดเล็กลง ราคาถูกลง แต่มีประสิทธิภาพมากขึ้น กลายเป็นเครื่องครัวพื้นฐานในชีวิตประจำวันของเราทุกวันนี้

Clubhouse

ต้นปี 2020 Clubhouse เป็นที่รู้จักแค่ในวงแคบๆ มีผู้ลงทะเบียนใช้แค่ 1,500 คน ผู้ใช้งานจริงราว 300 คน/วัน ยังไม่มีแม้แต่เว็ปไซต์ของตัวเอง มีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 3,000 ล้านบาท 

แต่พอต้นปี 2021 หลังจาก “Elon Musk” ได้เอ่ยถึง Clubhouse อยู่บ่อยๆ เช่น ชวนปูติน และ Kanye West เปิดห้องสทนาพูดคุยกัน ก็ทำให้ Clubhouse โตระเบิดขึ้นแท่นยูนิคอร์น ยอดผู้ใช้งานแตะ 10 ล้านคน ขึ้นแท่นแอพโซเชียลมีเดียที่ถูกดาวโหลดมากที่สุด และล่าสุดเปิดให้ดาวโหลดผ่านระบบ Android แล้ว

Clubhouse ได้กลายเป็นแอพที่พวกเราหลายคนน้อมรับมาใช้งานในชีวิตประจำวันถึงทุกวันนี้

Salt Bae

ปี 2017 เชฟชาวตุรกีคนหนึ่ง ที่ภายหลังมีสมญานามว่า “Salt Bae” โพสคลิปส่วนตัวของเขาสั้นๆ ลงในโซเชียลมีเดียถึงลีลาท่วงท่าการ “โรยเกลือลงบนเนื้อสเต๊ก”

  • มันไม่ใช่คลิปวิดีโอโปรโมทสินค้า
  • ไม่ใช่การแสดงที่ใช้ต้นทุนสูง
  • ไม่ใช่การหิวแสงอยากเด่นอยากดัง

…จะว่าไปมันดูเป็นคลิปสั้นๆ ที่อัดไว้โพสขำๆ กวนๆ ซะมากกว่า

Image Cr. nbcnews.to/3c7xmZF

แต่ใครจะไปรู้ว่า คลิปสั้นๆ ในวันนั้น จะทำให้เชฟคนนี้ที่มีชื่อเสียงแค่ในระดับเมืองของเขา…กลายเป็นเชฟที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จระดับโลก!!

เกิดการเลียนแบบท่วงท่าการโรยเกลือ / การทำมีม (Meme) / การถูกพูดถึงจากสื่อและเหล่าคนดัง และเหนือสิ่งอื่นใด การได้รับเกียรติบินไปนั่งรับประทานถึง “Nusr-et Steakhouse”  ร้านอาหารของเขาจากเหล่า “คนดัง” มีชื่อเสียงระดับโลก

คนดังเหล่านี้ก็ดังไม่เท่าไรเอง อาทิเช่น David Beckham / Cristiano Ronaldo / Michael Phelps / Jason Statham / Leonardo Dicaprio และอีกมากมาย

 Unintentional Success

Image Cr. bit.ly/3wMvYno

แน่นอน คนดังเหล่านี้ “ถ่ายรูปคู่-อัดคลิปวิดีโอ” ท่วงท่าการโรยเกลือของ Salt Bae ลงโซเชียลของแต่ละคน ได้ Free Media ชนิดประเมินค่าไม่ได้

ทุกวันนี้ Salt Bae เป็นเชฟที่มีความมั่งคั่งทะลุหลักพันล้านบาท ผู้คนต้องจองคิวล่วงหน้าแต่เนิ่นๆ ก่อนไปกินร้านในเครือของเขา และกลายเป็นสถานที่ที่มีโอกาสพบปะคนดังในหลากหลายวงการ ทั้งศิลปินดารา / นักร้อง-นักแสดง / นักธุรกิจ / นักกีฬา / นักการเมือง ฯลฯ

พื้นฐานที่ต้องมี…เพื่อให้โชคมาเข้าข้าง?

จากตัวอย่างเหล่านี้ แม้จะดูเหมือนโชคเข้าข้าง (ซึ่งก็เข้าข้างจริง) แต่อย่างน้อยเราจะสังเกตว่าต้องมีพื้นฐานบางอย่างอยู่ก่อนแล้ว

ต้องมี “ทักษะ” ความสามารถเป็นทุนเดิม หรือมี “มาตรฐาน” บางอย่างที่รัดกุมอยู่ก่อนแล้ว 

Starbucks มีนโยบายเขียนชื่อลูกค้าบนถ้วยกาแฟมาตั้งแต่ปี 2012 เป็นเจ้าแรกๆ (First mover) ในตลาดก็ว่าได้ กลายเป็น “วัฒนธรรม Starbucks” ที่แข็งแกร่งอย่างหนึ่งและสร้างความประทับใจให้ลูกค้าเป็นทุนเดิมอยู่ก่อนแล้ว เมื่อเกิดความผิดพลาดเลินเล่อเล็กๆ น้อยๆ ลูกค้าจึงมองเป็นเรื่องตลกขบขันไป

ผู้คิดค้น Cornflake อย่างสองพี่น้อง William และ Dr. John Kellogg ก็เป็นนักโภชนาการอยู่ก่อนแล้ว รู้ว่าร่างกายควรต้องได้รับสารอาหารอะไรบ้าง มีองค์ความรู้เชิงลึกด้านแพทยศาสตร์ / สุขภาพ / สายพันธุ์ของพืชผักผลไม้นานาชนิดเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

ส่วน Clubhouse ก็มีกิมมิคการตลาดที่เรียกพื้นที่สื่อได้มากคือ “Invitation-Only” ต้องถูกเชิญเท่านั้นถึงจะเล่นได้ สร้างความรู้สึก Exclusive เข้าไปใหญ่ แถมแตกต่างจากแอพอื่นในตลาดเพราะ “ไม่มีการบันทึก” ดูย้อนหลังไม่ได้ พลาดแล้วพลาดเลย และการใช้แค่ “เสียง” ในการสื่อสารเท่านั้น ก็ลด Pain Point ให้กับหลายคนได้ 

Salt Bae เป็นเชฟในวงการที่ประสบความสำเร็จอยู่ก่อนแล้ว เขาเข้าครัวฝึกปรือฝีมือมาตั้งแต่อายุเพียง 12 ปี เรียกว่าเขามีทักษะ-มีคุณสมบัติเป็นเชฟครบทุกข้อ ก่อนจะใส่ “ศิลปะ” ลงไปในการนำเสนออาหาร เป็น “ประสบการณ์” เอกลักษณ์เฉพาะตัวที่มอบให้แก่ลูกค้า

ต้องไม่ลืมว่า การทำเรื่องยากให้ดูง่าย…ก็ว่ายากแล้ว

แต่การทำเรื่องยากให้ออกมาดูขี้เล่นกวนๆ กลับยากยิ่งกว่า…ยากขั้นสุด!!

Unintentional Success “โชค” จะอยู่ข้างเรา…ก็ต่อเมื่อเรามีความพร้อมระดับหนึ่ง

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 47

Makoto Marketing

Makoto Marketing: การตลาดใช้ใจขาย ลูกค้าใช้ใจซื้อ

500 ปีที่แล้ว Toraya บริษัทที่ขึ้นชื่อเรื่องการใช้แป้งและถั่วแดงมาทำขนมญี่ปุ่น (วากาชิ) ได้ผลิตขนมส่งถวายพระจักรพรรดิญี่ปุ่น

500 ปีต่อมา Toraya ยังคงดำเนินกิจการมาจนถึงทุกวันนี้ ยังเชี่ยวชาญการทำขนมญี่ปุ่นเหมือนเดิม พร้อมยอดขายหลักหมื่นล้านเยนต่อปี