Ralph Lauren ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่แบรนด์หรูคลาสสิกเหนือกาลเวลา

Ralph Lauren
Ralph Lauren คือแบรนด์ที่ทำให้เสื้อโปโลโด่งดังไปทั่วโลก อยู่อันดับ 10 แบรนด์เสื้อผ้าที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก และเป็นแบรนด์หรูคลาสสิกที่ทุกคน…ต้องมีซักตัว

จุดกำเนิด Ralph Lauren

แบรนด์ Ralph Lauren ถือกำเนิดขึ้นที่ New York ในปี 1967 โดยคุณ Ralph Lauren แฟชั่นดีไซเนอร์หนุ่มวัย 28 ปี ที่มีพื้นเพมาจากชนชั้นแรงงานยากจนในย่าน Bronx ของนิวยอร์ค

Image Cr. bit.ly/2Sqtig0

สินค้าแรกคือ “เน็กไท” เพราะสมัยนั้นอเมริกานิยมแต่สีเรียบๆ แต่ของ Ralph Lauren มีลวดลายสไตล์ที่โดดเด่น และต่อมามีโอกาสได้วางขายที่ห้างหรู Bloomingdale’s ในนิวยอร์ค ปรากฎว่าได้รับการตอบรับอย่างมหาศาล โดยลูกค้าหลักเป็นนายธนาคาร นักธุรกิจ พนักงานออฟฟิศ

Image Cr. bit.ly/3fiIRzn

จากความสำเร็จและประสบการณ์ที่สั่งสม ปี 1972 ได้ต่อยอดไปออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะพลิกโฉมหน้าวงการแฟชั่น มีชื่อว่า “Polo Ralph Lauren”

เดิมที โลกรู้จักเสื้อโปโลอยู่ก่อนแล้ว แต่ยังจำกัดมักสวมใส่เฉพาะเวลาเล่นเทนนิส แถมเนื้อผ้าและดีไซน์ก็ไม่เหมาะกับใส่เดินในชีวิตประจำวัน

แม้ไม่ใช่ผู้คิดค้น ไม่ใช่ First Mover แต่เป็นเจ้าแรกที่ทำให้โด่งดังและเป็นที่ยอมรับในสากล เพราะคุณ Ralph Lauren ได้ใส่จิตวิญญาณให้มัน และประทับตราแบรนด์ว่า Polo Ralph Lauren ในทรง Single Fit อันเรียบง่าย มีให้เลือกถึง 24 สี พร้อมโลโก้คนขี่ม้าเล่นโปโล

เสื้อโปโลเป็นเสื้อ “กึ่งลำลอง-กึ่งทางการ” ซึ่งเข้ากับรสนิยมผู้บริโภคยุคนั้นที่พยายามสลัดทิ้งความทางการในทุกเรื่อง (ใส่สูทผูกไท) เป็นทางสายกลางระหว่าง “เสื้อเชิ้ต x เสื้อยืด” 

และไม่เกินจริงเลยหากจะบอกว่ามันได้เปลี่ยนวัฒนธรรมการแต่งตัวของคนทั่วโลกนับแต่นั้นมา เพราะหลังจากนั้น “เสื้อโปโล” ก็ถูกสร้างสรรค์ขึ้นจากหลากหลายแบรนด์จนกลายเป็นอีกมาตรฐานไอเท็มมาตรฐานในท้องตลาดไป

ผลิตภัณฑ์เซ็ตนี้เองที่สร้างชื่อให้ Ralph Lauren และแม้ผ่านมา 50 ปี ก็ยังเป็นไอเท็มคลาสสิกที่ยังมีอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ 

Ralph Lauren ยังได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่อีกมากมาย รวมไปถึงเสื้อผ้าสำหรับสุภาพสตรี

ในปี 1981 ได้ลุยตลาดต่างประเทศครั้งแรกที่ถนน New Bond Street ณ กรุงลอนดอน ซึ่งก็ประสบความสำเร็จอย่างดี

ก่อนที่ปี 1997 บริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ค ก่อนขยายสาขาไปทั่วโลก

ปี 2020 Ralph Lauren มีรายได้ $5.7 billion โดยแบ่งสัดส่วนรายไต้ตามภูมิภาคได้ดังนี้

  • North America 54% ที่ $3.1 billion 
  • Europe 28% ที่ $1.6 billion 
  • Asia 18% ที่ $1 billion 

Elite Class

“โลโก้” คือเครื่องมือสื่อสารที่ชัดเจนที่สุด สาเหตุที่ Ralph Lauren เลือกใช้รูปคนเล่นโปโลมาเป็นโลโก้เพราะมันสื่อถึง Elite Class สังคมชนชั้นสูง

Image Cr. bit.ly/2Sqtig0

กีฬาโปโล x ชนชั้นสูง เป็นของคู่กันมาเป็นร้อยปีแล้ว แทบจะเป็นภาพจำที่แยกขาดกันไม่ได้ ไปที่ไหนใครก็รู้ 

เมื่อมาอยู่ในเสื้อผ้า ย่อมทำให้ดูหรูหราพรีเมียมขึ้นทันที ต่อมา Ralph Lauren จึงเป็นไอเท็มที่อยู่คู่กายเหล่า Elites ทั่วโลกในหลากหลายโอกาส

เราสามารถพบเห็น Elites ที่อินเดีย / Elites ที่แอฟริกา / Elites ที่เม็กซิโก / Elites ที่อังกฤษ / Elites ที่แคนาดา / หรือ Elites ที่เมืองไทย…สวมใส่เสื้อผ้า(โดยเฉพาะเสื้อโปโล) Ralph Lauren ในหลายกิจกรรมเหมือนกันหมด เช่น กิจกรรมขี่ม้า / การตีกอล์ฟ / นั่งเรือยอร์ช ฯลฯ

ความคลาสสิกที่อยู่เหนือกาลเวลา

คุณ Ralph Lauren เคยกล่าวว่า “Fashion is over quickly. Style is forever.” แฟชั่นมาเร็วไปเร็ว แต่ความมีสไตล์จะยังอยู่ตลอดไป

นี่คงเป็นเหตุผลให้ Ralph Lauren เป็นแบรนด์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความเรียบหรู คลาสสิก แม้ผ่านไปหลายทศวรรษก็ยังดูดีอยู่

ความคลาสสิกยังรวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นในเครือด้วย เช่น ของตกแต่งบ้าน / บาร์เครื่องดื่ม / ร้านอาหาร ในเครือ Ralph Lauren ทั้งหมดจะให้กลิ่นอายความคลาสสิก สุขุม ภูมิฐาน (บางคนเรียกว่าเป็นสไตล์ Gentlemen’s Club)

ไม่ได้หยุดแค่เสื้อผ้า

Ralph Lauren ถูกรู้จักอย่างดีในแฟชั่นเสื้อผ้า แต่อันที่จริงตัวแบรนด์ยังแตกผลิตภัณฑ์ไปทำเฟอร์นิเจอร์บ้าน / น้ำหอม / Accessories / ร้านอาหาร / คาเฟ่ ฯลฯ

และมีแบรนด์ย่อยในสังกัดอีกมากมาย เช่น Club Monaco / Denim & Supply Ralph Lauren / Polo Golf & RLX Golf / American Living / Chaps

ภาพจำในสื่อที่สอดคล้องกัน

Ralph Lauren ผูกแบรนด์เข้ากับเหล่าสังคมชั้นสูง

  • ในภาพยนตร์ The Great Gatsby ในปี 1974 นักแสดงนำทุกคนสวมใส่ Ralph Lauren
  • นิตยสารแฟชั่นชั้นสูง เช่น Vogue
  • ปรากฎในงานแฟชั่นระดับโลก เช่น New York Fashion Show

และได้สปอนเซอร์โดยตรงในหลายกีฬาที่คนมีอันจะกินมักเล่นกัน เพื่อให้เหมาะกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ อาทิเช่น เทนนิส / กอล์ฟ / แข่งเรือใบ / กีฬาโปโล

นอกจากนี้ทุกงานโฆษณาที่ปรากฎออกสื่อ จะมีความสอดคล้องสม่ำเสมอ (Consistency) สะท้อนความเป็นครอบครัว โรแมนติก สไตล์ โดยทุกฉากเบื้องหลังมีองค์ประกอบที่แสดงถึงความร่ำรวยมีอันจะกินเสมอ จึงสร้าง Brand Perception ระดับพรีเมียมในใจผู้บริโภคได้

A Philanthropist

คุณ Ralph Lauren เติบโตมาในครอบครัวยากจน เขาจึงรู้ซึ้งดีถึงความยากลำบากในชีวิต ตัวเขาเองจึงเป็นผู้ใจบุญรายใหญ่ (Philanthropist) ที่บริจาคเงินสิ่งของและสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้คน

ประเด็นนี้สอดคล้องกับ CEO Influencer ยิ่งทำให้ภาพลักษณ์แบรนด์ดูดีขึ้นไปอีกจากการประพฤติตัวของ CEO ผู้นำองค์กรโดยตรง

คุณ Ralph Lauren เคยเขียนความฝันสมัยยังเรียนอยู่ม.ปลายว่า “อยากเป็น Millionaire” มาวันนี้เขาได้กลายเป็น “Multi-billionaire” ไปแล้ว Forbes ประเมินว่าเขามีทรัพย์สินกว่า 200,000 ล้านบาท

แต่มรดกตกทอดที่เขาภาคภูมิใจที่สุดคงไม่ใช่ความร่ำรวยที่มี แต่คือ Ralph Lauren ทั้งตัวตนของเขาเองและเอกลักษณ์สไตล์ของแบรนด์ที่กาลเวลาพิสูจน์แล้วว่าเป็นวัฒนธรรมการแต่งตัวที่ได้รับการยอมรับจาก “รุ่นสู่รุ่น”

Ralph Lauren…แบรนด์หรูคลาสสิกเหนือกาลเวลาจริงๆ

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 80