Law of Jante : เคล็ดลับการทำงาน & ใช้ชีวิต ของชาวสแกนดิเนเวียน

law of jante
ประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย ล้วนเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งสิ้น มี GDP/หัว สูงที่สุดอันดับต้นๆ ของโลก ติด Top5 ประเทศที่ผู้คนมีความสุขที่สุดในโลก

ทั้งด้านความสุข ความเจริญของประเทศ หรืออุปนิสัยการทำงาน ทุกอย่างล้วนอยู่ภายใต้ปรัชญาที่ชาวสแกนดิเนเวียนแชร์ร่วมกันหมดนั่นคือ “Law of Jante” 

(ปล. ประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย หลักๆ มีอยู่ 3 ประเทศด้วยกัน ได้แก่ สวีเดน / นอร์เวย์ / เดนมาร์ก )

Law of Jante คืออะไร? 

“กฎของยานเต้” เป็น Mindset ปรัชญาการดำเนินชีวิต & การทำงานที่ชาวสแกนดิเนเวียนยึดถือปฏิบัติมาช้านานแล้ว

มีใจความสรุปได้ว่า…”คุณอาจไม่ได้ดี-เก่ง-เหนือไปกว่าผู้อื่น”

ซึ่งเป็นรากฐานความคิดที่ส่งเสริมความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ การเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน ความซื่อสัตย์สุจริต และถ่อมตนอย่างพินอบพิเทา…ซึ่งจะว่าไป ก็เป็นคาแรคเตอร์ของชาวสแกนดิเนเวียนเลยทีเดียว

โดยถ้าว่าตามหลักการแล้ว กฎของยานเต้มีอยู่ 10 ข้อด้วยกัน

  1. อย่าคิดว่าตัวเอง…พิเศษเลิศเลอ
  2. อย่าคิดว่าตัวเอง…เป็นคนดีศรีประเสริฐ
  3. อย่าคิดว่าตัวเอง…ฉลาดกว่าผู้อื่น
  4. อย่าคิดว่าตัวเอง…เหนือกว่าผู้อื่น
  5. อย่าคิดว่าตัวเอง…มีมากกว่าผู้อื่น
  6. อย่าคิดว่าตัวเอง…สลักสำคัญกว่าผู้อื่น
  7. อย่าคิดว่าตัวเอง…เก่งไปซะทุกเรื่อง
  8. อย่าคิดว่าตัวเอง…จะได้รับความสนใจจากผู้อื่น
  9. อย่าคิดว่าตัวเอง…จะเที่ยวไปสั่งสอนผู้อื่นได้
  10. อย่าหัวเราะเยาะผู้อื่น (ความคิด, รูปลักษณ์, การกระทำ)

เราจะจับใจความได้ว่า ทุกข้อล้วนต้องการสื่อว่าเราอาจไม่ได้ดี-เก่ง-เหนือไปกว่าคนอื่น จึงควรปฏิบัติต่อกันอย่างให้เกียรติในฐานะเพื่อนมนุษย์ 

อย่าเข้าใจผิดกฎของยานเต้ไม่ได้ทำให้คุณ “ด้อยค่า” ตัวเอง หากแต่เป็นการ “มองเห็นคุณค่า” ในตัวผู้อื่นต่างหาก นำไปสู่ Team Spirit สปิริตการให้ความร่วมมือทำงานกันเป็นทีมนั่นเอง

(กฎของยานเต้จึงเป็นแนวคิดที่แทบจะอยู่ขั้วตรงข้ามกับแนวคิดแบบปัจเจกชน Individualism หรือแนวคิดการแบ่งชนชั้น เช่น “ตั้งใจเรียนสูงๆ โตขึ้นจะได้เป็นเจ้าคนนายคน”)

Law of Jante ในชีวิต & การทำงาน

ในแง่ของความสุข การที่เรามี Law of Jante อาจทำให้เรามี “เป้าหมาย” ขนาดกลางๆ ไม่ยิ่งใหญ่เว่อร์วัง ข่าวดีคือ มีโอกาสที่จะทำสำเร็จได้มากกว่า และกรณีถ้ามันให้ผลลัพธ์ที่สูงเกินความคาดหมายไปมาก ก็มีแนวโน้มทำให้มีความสุขเพิ่มมากขึ้นตาม

Image Cr. bit.ly/3u9IDz2

เรื่องนี้สอดคล้องกับผลวิจัยจาก University College of London (UCL) ว่า การมีความคาดหวังที่ต่ำ (Low expectation) สามารถช่วยกระตุ้นความสุขมากขึ้นได้

Image Cr. bit.ly/3u9IDz2

การมีเป้าหมายไม่ใหญ่โตโอ่อ่า ยังสอดคล้องกับคำพูดของ Alexander Loyd ผู้เขียนหนังสือขายดีอย่าง Beyond Willpower ที่กล่าวว่า 

“Don’t set yourself for failure.” ในช่วงเริ่มต้น อย่าทำอะไรที่ใหญ่เกินตัว (ประเมินตัวเองสูงไป) เพราะมักนำไปสู่ความท้อแท้และล้มเหลว เช่น

  • การทำงาน: เริ่มงานวันแรกอย่าหักโหมวันละ 12 ชั่วโมง
  • การออกกำลังกาย: อย่าเริ่มต้นด้วยการวิ่งวันละ 10 กิโลเมตร

สำหรับในแง่การทำงาน บริษัทอาจตั้งข้อสงสัยกับพนักงานคนนี้ที่มี กฎของยานเต้ (เช่น ไม่ได้ฝันใหญ่) ว่าจะบั่นทอนความคิดสร้างสรรค์หรือไม่?

แต่ไม่ต้องห่วงว่า Law of Jante จะทำให้พนักงานไม่ Productive หรือขี้เกียจ ในทางตรงข้าม กลับกลายเป็นว่ามันเป็นเครื่องเตือนสติในการ “คิดวิเคราะห์” อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ไม่ได้มองอะไรแบบผิวเผิน และมี Empathy เอาใจเค้ามาใส่ใจเรา เช่น

  • สอบถามความคิดเห็นเพื่อนร่วมงานเพื่อให้มีมุมมองหลากหลายด้าน (เพราะคิดว่าเราไม่ได้ฉลาดกว่าคนอื่น…ละทิ้งอีโก้)
  • หาวิธีใหม่ๆ ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้ดูแตกต่าง (เพราะคิดว่าถ้าทำอะไรเดิมๆ แล้วใครจะมาสนใจเรา…ไม่ได้เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล)

และด้วยแนวคิดที่ย้ำเตือนเสมอว่าคุณอาจไม่ได้ดี-เก่ง-เหนือไปกว่าผู้อื่น ก็ทำให้คุณอยากที่จะพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องไม่รู้จบ (Continuous improvement) ซึ่งคือหัวใจในการทำงานของยุคนี้เลยที่อะไรเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก

นอกจากนี้วัฒนธรรมการทำงานของชาวสแกนดิเนเวียน หัวหน้าจะเป็นฝ่าย “มอบ” ความไว้วางใจให้ลูกน้องก่อนเลย (Give trust first) ที่เหลือ…เป็นหน้าที่ลูกน้องที่จะต้องพิสูจน์ตัวเองแล้วว่าทำได้หรือไม่ นี่อาจเป็นวิธีเข้าสู่ “Flow State” ได้อย่างราบรื่น เพราะเมื่อเราปราศจากความ “กังวล” ก็สามารถโฟกัสงานตรงหน้าได้เต็มที่ สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ 

และต้องไม่ลืมว่า พนักงานที่ยึดมั่นใน กฎของยานเต้ ยังช่วยลดปัญหา “การเมืองในที่ทำงาน” ลงได้ เพราะทุกคนเคารพซึ่งกันและกัน อยู่ภายใต้กฎทั้ง 10 ข้อ

ประเด็นเรื่องความเท่าเทียมและคอร์รัปชั่นก็น้อยลงตามถ้าทุกคนยึดมั่นกฎของยานเต้ซึ่งประเทศแถบสแกนดิเนเวียมีสถิติอันน่าประทับใจมาโดยตลอด

  • สวีเดน อยู่อันดับ 2 ของโลก ประเทศที่เหมาะแก่การทำธุรกิจ
  • นอร์เวย์ อยู่อันดับ 2 ของโลก ในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ
  • เดนมาร์ก อยู่อันดับ 1 ของโลก เรื่องการคอร์รัปชั่นที่ต่ำมาก

Law of Jante ไม่ได้จำกัดศักยภาพของคน มันแค่คอยเตือนสติเราไม่ให้ประมาทเลินเล่อ ในภาพใหญ่ เราสามารถดูได้จากตัวอย่างแบรนด์สัญชาติสแกนดิเนเวียนที่โด่งดังไปทั่วโลก เช่น

AstraZeneca / IKEA / Skype / H&M / Volvo / Spotify / Nokia / Lego / Carlsberg / Saab / Ericsson / Bang & Olufsen ฯลฯ

ปัจเจกชนชาวสแกนดิเนเวียนยังขึ้นว่ามีการศึกษาสูง เป็นแรงงานมีฝีมือ ซึ่งก็สะท้อนมาสู่รายได้เฉลี่ยที่สูงตาม 

  • GDP/หัว ชาวสวีเดน 138,000 บาท/เดือน
  • GDP/หัว ชาวเดนมาร์ก 160,000 บาท/เดือน
  • GDP/หัว ชาวนอร์เวย์ 208,000 บาท/เดือน

เราจะเห็นชัดเจนเลยว่า Law of Jante ไม่ได้ฉุดรั้งความสามารถของมนุษย์ หากแต่มันตอกย้ำถึง “คุณค่า” ที่เราควรปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอย่าง ความเท่าเทียม / การเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน / ความซื่อสัตย์สุจริต / หรือความอ่อนน้อมถ่อมตน

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 80