วิธีง่าย ๆ สู่การเป็น “หัวหน้าที่ดี” ที่ใคร ๆ ก็รัก

หัวหน้าที่ดี
ไม่กลัวลูกน้องเก่งเกินหน้าเกินตา, ฟัง มากกว่า พูด, ชมเชยเมื่อทำดี และ ตำหนิแบบมีชั้นเชิง, ให้เครดิตกับทีม ไม่ใช่กับตัวเอง นี่คือคุณสมบัติของ “หัวหน้าอันเป็นที่รักของลูกน้อง” ในฐานะหัวหน้างาน…เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเป็นหัวหน้าที่ดีขึ้นและลูกน้องรักมากขึ้น?

เบื้องหลังความชื่นชอบเคารพนับถือ 

ต้องยอมรับความจริงว่า ลึกๆ ภายในแล้ว คนเรา “ไม่สามารถบอกใครให้มารักเราได้”  ความรัก-ความชื่นชอบ-ความเคารพนับถือล้วนเกิดจากการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งของเราที่ไปสร้างความ “พึงพอใจ” แก่อีกฝ่าย คุณลักษณะหนึ่งที่ทำให้คนชื่นชอบคือ การ “มองเห็นคุณค่า” ในตัวพวกเค้า หมั่นถามสารทุกข์สุขดิบ ยื่นโอกาสใหม่ๆ ให้ เอาใจเค้ามาใส่เรา

“มันยากที่จะไม่ชอบ…คนที่ชื่นชอบคุณ” คำนี้ใช้ได้จริงเสมอ แต่ขณะเดียวกัน ความเคารพนับถือไม่ได้อยู่กับเราตลอดไป แต่ต้องคอยหมั่น “เติม” เชื้อเพลิงอยู่เสมอ และมันมีความ “เปราะบาง” เราอาจใช้เวลา 10 ปีในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจแก่คนหนึ่ง แต่อาจใช้เวลาแค่ 10 วัน (หรือแม้แต่ 10 นาที) ในการทำลายความไว้เนื้อเชื่อใจนั้นให้หายไปได้เช่นกัน นี้คือวิธีง่ายๆ สู่การเป็นหัวหน้าอันเป็นที่รัก

หัวหน้าที่ดี เป็นนักฟังที่ดี

หัวหน้าที่ลูกน้องชื่นชอบมักมีคาแรคเตอร์เป็น “ผู้ฟัง” ที่ดีมากกว่าผู้พูด พยายามเข้าอกเข้าใจคนอื่น ลูกน้องมีแต่อยากเข้าหา เพราะรู้ว่าปัญหาของเค้าจะถูกรับฟัง อย่างน้อยที่สุด หัวหน้าแบบนี้เป็น “ที่พึ่งทางใจ” ให้คนอื่นได้มาก การฟังยังเป็นการฝึกทักษะ Empathy อย่างหนึ่ง เพราะมันเป็นการพยายามทำความเข้าใจปัญหาของอีกฝ่าย และช่วยลดอีโก้ไปในตัว ปล่อยวางไม่เอาความคิดตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาลนั่นเอง

มองเห็นคนอื่น

โดยเฉพาะเวลาประชุมที่สมาชิกทีมต้องมารวมกัน ให้ถามความคิดเห็นลูกน้องก่อน โดยเฉพาะเริ่มจาก “พนักงานที่อายุงานน้อยที่สุด” ก่อน และระหว่างนั้นให้หัวหน้าจดที่เค้าพูด เป็นการทำตรงกันข้าม ปกติหัวหน้ามักนำเสนอทางแก้ปัญหาและสรุปปิดทุกอย่าง เพราะเมื่อหัวหน้าพูดอะไรขึ้นมาก่อนแล้ว ลูกน้องอาจไม่กล้าเสนอเพราะอาจไปโต้แย้งไอเดียของหัวหน้าได้นั่นเอง เทคนิคหนึ่งคือการถามบ่อยๆ ว่า “มีปัญหาอะไรบ้างหรือเปล่า?” อย่างน้อยคนได้ยินก็รู้สึกว่ามีตัวตนถูกมองเห็นจากหัวหน้า

ไม่กลัวลูกน้องเก่งกว่า

สำหรับหัวหน้าที่ทุกคนรัก เมื่อเห็นแวว Talent รุ่นเยาว์บางคนที่มีศักยภาพไปได้ไกล จะส่งเสริมให้โอกาสและปั้นจนถึงที่สุด แม้สุดท้ายลูกน้องคนนั้น จะเก่งนำหน้าตัวเองหรือขึ้นสู่ตำแหน่งใหญ่ที่สูงกว่าในอนาคตก็ตาม เมื่อเรามาดูโลกปัจจุบัน จะเห็นว่าเด็กยุคใหม่มีแนวคิดบางอย่างที่ก้าวหน้าจนผู้ใหญ่ยังทึ่ง ส่วนหนึ่งเพราะมาจากเทคโนโลยีที่เปิดกว้างจนหาข้อมูลความรู้ใส่ตัวได้จากทุกที่และทุกเรื่อง…ลูกศิษย์ย่อมเก่งกว่าอาจารย์ ก็ใช้ได้ดีเช่นกับลูกน้อง-หัวหน้า

หัวหน้าที่ดี ต้องมีทัศนคติบวก

ใครๆ ก็อยากใช้ชีวิตคู่กับคนคิดบวกฉันใด ใครๆ ก็อยากทำงานกับหัวหน้าคิดบวก-มีทัศนคติด้านบวกฉันนั้น!! เพราะลูกน้องสัมผัสได้ถึงความเปิดกว้าง ความเป็นไปได้ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ไม่สยบต่อปัญหาแต่เรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน มองวิกฤติให้เป็นโอกาส หรือหาโอกาสทางรอดจากวิกฤตินั้น

ทัศนคติบวกยังสะท้อนมาถึง Mood & Tone ในการทำงาน คนคิดบวกมักมีออร่าพลังในการทำงาน ซึ่งคนรอบข้างสามารถสัมผัสได้ ส่งผลถึงความคิดสร้างสรรค์และการคิดนอกกรอบใหม่ๆ ขณะที่หัวหน้าคิดลบอารมณ์บูด บรรยากาศการทำงานมีแต่จะหม่นหมอง ทัศนคติด้านบวกไม่ใช่แค่กับปัญหาเนื้องาน แต่ยังรวมถึงสมาชิกในทีมด้วย หรือมี Growth Mindset นั่นเอง เชื่อว่าลูกน้องสามารถเติบโตขยายศักยภาพได้มากกว่าที่เป็นอยู่หากได้รับการฝึกฝนเพิ่มเติม ลูกน้องก็อยากทำงานกับหัวหน้าที่เชื่อในตัวเค้า รู้ว่าตัวเองพัฒนาไปมากกว่าเดิมได้

เคารพทุกคนอย่างเท่าเทียม

ผู้นำที่ดีจะไม่นำเอาอายุความอาวุโสหรือตำแหน่งที่สูงกว่าของตนเองมาใช้เป็นเครื่องมือในการทำให้คนอื่นเคารพนับถือตน แต่พวกเค้าจะทำเป็น “แบบอย่าง” (Lead by example) ที่ดีเองซะก่อน ให้คนอื่นเคารพผ่านการกระทำ…ไม่ใช่ผ่านวาจา(หรือบังคับ) Adam Grant ผู้เขียนหนังสือ Give and Take บอกว่า ผู้นำส่วนใหญ่ที่ทุกวันนี้ดูเหมือนทำอะไรก็มีแต่คนสนับสนุนไปเสียหมด เพราะก่อนหน้านี้พวกเค้าเคยเป็น “ผู้ให้อย่างแท้จริง” มาก่อน

หัวหน้าที่ดี ต้องบริหารงานในทีมเป็น

หัวหน้าที่ดีไม่จำเป็นต้องเก่งหรือฉลาดหลักแหลมที่สุด แต่ต้องเป็นคนที่บริหารจัดการงานในทีมเป็น ต้องจัดเรียงลำดับความสำคัญของงานได้ เพื่อทำให้ทีมบรรลุเป้าหมาย (จะว่าไปชื่อตำแหน่งก็บอกในตัวอยู่แล้วว่า “ผู้บริหาร”)

หัวหน้าที่ดีจะไม่ “โยนงาน” มั่วๆ ให้คนในทีม แต่จะรู้ว่าอันไหนคือ

  • งานด่วน แต่ ไม่สำคัญ / งานด่วน และ สำคัญ
  • งานไม่ด่วน แต่ สำคัญ / งานไม่ด่วน และ ไม่สำคัญ

นอกจากนี้ ต้องรู้ว่าลูกทีมเก่งถนัดอะไร ก่อนจะมอบงานที่ตรงกับสกิล (Put the man on the right job) และสามารถ “ดึงศักยภาพ” คนในทีมออกมาได้มากที่สุด

หัวหน้าที่ดี ชมคนให้เป็น

เมื่อลูกน้องทำดีหรือแม้แต่สร้างผลงานเล็กๆ น้อยๆ หัวหน้าที่ดีจะรู้จัก “พูดชม” อย่างเปิดเผยที่ออกมาจากใจ เพราะรู้ว่าเป็นการให้กำลังใจคนในทีมและเป็นสิ่งที่ควรได้รับ

“เมื่อใครทำดี…ก็ควรได้รับคำชม”

ผลวิจัยทางจิตวิทยามากมายเผยว่า พนักงานที่ได้รับคำชมโดยเฉพาะจากคนที่อยู่ตำแหน่งสูงกว่า แม้จะเป็นคำชมสั้นๆ อย่าง “ขอบคุณนะครับ / ทำได้ดีมาก / เยี่ยมมากนะเรา” ทำให้พนักงานรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง มีไฟในการทำงาน และจงรักภักดีต่อบริษัทมากขึ้น   ลองประยุกต์เอาวัฒนธรรมการทำงานของคนญี่ปุ่นไปใช้ เมื่อถึงเวลาเลิกงาน ลุกจากโต๊ะกำลังจะกลับบ้าน พนักงานคนอื่นที่พบเห็นเดินผ่านจะพูดทำนองว่า “ขอบคุณวันนี้ที่อุตส่าห์เหน็ดเหนื่อย”

ตำหนิอย่างมีชั้นเชิง

แต่การทำงานย่อมมีความผิดพลาด และหลีกเลี่ยงการตำหนิไปไม่ได้ แต่หัวหน้าที่ดีจะมีชั้นเชิงการตำหนิ โดยไม่พูดเหมารวมอย่าง “เรานี่มันไม่ได้เรื่องเลยจริงๆ” แต่จะ “ติเพื่อก่อ” เช่นคำว่า “ไม่สมกับเป็นคุณเลยนะ” / “ไม่เอาน่า แม้แต่คุณก็ยังทำไม่ได้เหรอ” การตำหนิลักษณะนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมได้มากกว่า

ให้เครดิตลูกทีม

เมื่องานออกมาประสบความสำเร็จ หัวหน้ามักคือคนแรกๆ ที่สปอตไลท์ส่องไฟลงมา และมุมมองจากคนนอกมักยกความดีความชอบทั้งหมดมายังหัวหน้าคนนี้จนเผลอมองข้ามผู้มีส่วนเกี่ยวข้องคนอื่นไป แต่หัวหน้าที่ดีจะรู้จักการให้ “เครดิต” ลูกทีมทุกคน ไม่เอาเรื่องดีๆ เข้าตัวคนเดียว เพราะรู้ว่าหากปราศจากลูกทีมแล้ว งานไม่มีทางสำเร็จแน่นอน

วิธีง่ายๆ เหล่านี้สามารถนำไปปรับใช้ได้แทบจะทันที เชื่อเลยว่าลูกน้องจะรักคุณมากขึ้นอย่างออกหน้าออกตา!

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ และมีความสุขกับงานในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 80