Masterful Presentation : วิธีนำเสนอ สำคัญกว่า เนื้อหาที่พูด

Presentation
1. Steve Jobs หยิบ MacBook Air ออกมาจากซองจดหมาย 2. หน้าสไลด์ที่มีแค่ 3 หัวข้อเท่านั้น 3. ซูชิคำเล็กๆ ที่ถูกจัดเรียงมาอย่างสวยงาม นี่คือตัวอย่างของ Masterful Presentation ศิลปะการนำเสนอขั้นเซียนที่สะกดใจผู้คน

ศิลปะสะกดใจคนผ่าน Presentation

มีคำกล่าวว่า มันไม่สำคัญว่าคุณพูดอะไร แต่…พูดอย่างไร? วิธีการนำเสนอ อาจสำคัญกว่า เนื้อหาที่พูดในหลายบริบท  หนึ่งในกฎพื้นฐานที่ใช้กันทั่วโลกคือ Rule of Three เวลาเสนออะไรให้ทำไม่เกิน 3 หัวข้อ / 3 ประเด็น / 3 เหตุผล / 3 ทางแก้ไข / 3 ตัวเลข ฯลฯ เพราะสมองมนุษย์จะจดจำได้ดีที่สุดไม่เกิน 3 เรื่องในคราวเดียวกัน ถ้ามากกว่านั้นประสิทธิภาพจะลดลงฮวบฮาบ กรณีถ้าข้อมูลมีมากกว่านั้น ให้จัดกลุ่มไม่เกิน 3 เรื่อง แล้วค่อยแบ่งทยอยนำเสนอทีละสไลด์

ในหลายกรณี ”อารมณ์” (Emotion) สะกดใจผู้คนได้มากกว่า เมื่อให้ระลึกกลับไปเหตุการณ์ในอดีต ผู้คนมักจดจำความรู้สึกของเหตุการณ์นั้นได้ดีกว่ารายละเอียดของเหตุการณ์ 

วิธีใช้ประโยชน์จากเรื่องนี้ได้ง่ายๆ เลยคือการใช้ “ภาษากาย” (Body language) มีลีลาการเล่าที่น่าคล้อยตาม 

  • กำมือไปยังผู้ฟัง เมื่อต้องการแสดงการให้กำลังใจ
  • ก้มหน้าลง เมื่อบรรยายความรู้สึกเสียใจ
  • เอามือทาบอก เมื่อบรรยายความรู้สึกเจ็บปวดใจ

โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้ฟังที่เป็นผู้หญิง ซึ่งจะให้น้ำหนักความสำคัญไปที่อารมณ์ ความรู้สึก สีหน้าท่าทาง มากกว่าข้อมูลดิบเพียงอย่างเดียว แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องระวังมากๆ ในการนำเสนอคือ หลีกเลี่ยงอย่าให้เกิด “Cognitive Murder” การฆาตกรรมทางความคิด จะเกิดขึ้นเมื่อคนถูกป้อนข้อมูลชุดใหญ่มโหฬารที่ไม่ได้ผ่านการย่อยให้เข้าใจง่าย 

ระบบสมองของคนจะ overload และประหนึ่งหยุดทำงาน หยุดรับรู้ หยุดคิดวิเคราะห์ตามไปช่วงหนึ่งเลยทีเดียว ซึ่งทำให้ช่วงเวลานั้น สิ่งที่ผู้นำเสนอพูด…แทบจะไร้ความหมายไปเลยทีเดียว (สมองไม่รับข้อมูลมาประมวลผลแล้ว)

กรณีศึกษาชั้นเลิศ

ณ งานนิทรรศการอาหารแห่งหนึ่งในยุโรปที่รวบรวมอาหารชั้นนำและสุดยอดเชฟมาไว้ในงาน มีนักสร้างภาพยนตร์ 2 คนได้ปลอมตัวเข้าไปในงาน ระบุว่าเป็นผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่จะมาท้าชน McDonald’s จุดประสงค์เพื่อทดลองว่าเชฟเหล่านี้…แยกแยะรสชาติอาหารได้ดีจริงหรือไม่? 

ทั้งคู่ซื้อแฮมเบอร์เกอร์ McDonald’s มาระหว่างทาง และทำการหั่นแบ่งชิ้นเล็กๆ แล้วใช้ “ไม้จิ้มฟัน” ปักลงไปทีละชิ้น จัดเรียงให้สวยงาม พร้อมวางเสิร์ฟในจานอย่างเป็นระเบียบ (ดูไม่ออกเลยว่าเป็น McDonald’s) ก่อนนำไปให้เชฟผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายชิม ผลตอบรับน่าสนใจมาก พวกเค้าให้คอมเมนต์ว่า…นุ่ม / สดใหม่ / ละลายในปาก / น่าจะเข้ากันได้ดีกับไวน์

เมื่อถูกถามว่า แตกต่างอย่างไรกับ McDonald’s? คำตอบที่ได้คือ รสชาติกลมกล่อมกว่ามาก / ชิ้นเนื้อดูสวยแน่นอวบอิ่มกว่า / สัมผัสได้ถึงความออแกร์นิกที่มากกว่า ลองนึกภาพว่าถ้าแฮมเบอรืเกอร์ถูกนำเสนอแบบปกติ…ห่อด้วยกระดาษถูกๆ พร้อมโลโก้แมคโดนัลด์ ผลลัพธ์ที่ได้คงไม่เป็นเช่นนี้

การทดลองนี้พิสูจน์ว่า นอกจากชิมอาหารแล้ว เชฟเหล่านี้ยังได้ “ชิมรสชาติการนำเสนอ” ด้วย ซึ่งการนำเสนอที่ดี เปลี่ยนผลลัพธ์ได้ชนิดหน้ามือเป็นหลัง และตอกย้ำว่า ถ้าอยากให้ผู้คน “ซื้อไอเดีย” ของคุณ จงเข้าไปอยู่ในโลกของกลุ่มเป้าหมาย จงนำเสนอไอเดียในรูปแบบไม้จิ้มฟันนี้ นอกจากนี้ การแยกของกินเป็นคำๆ ยัง “เพิ่มมูลค่า” ได้เช่นกัน การ Presentation แยกเป็นชิ้นๆ คำๆ ของอาหารญี่ปุ่นอย่าง “ซูชิ” คือตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด

เมื่อแยกเป็นคำๆ แล้วเสิร์ฟมาในภาชนะไม้ (เกตะ) ที่สวยงามแล้ว กลับมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเสียอีก (ซูชิเป็นอาหารที่มี “ราคา” สูงอันดับต้นๆ ในบรรดาอาหารญี่ปุ่นทั้งหมด) การเปรียบเทียบแบบแสดงให้เห็นภาพ คืออีกหนึ่ง Masterful Presentation ชั้นเลิศ Steve Jobs ได้สร้างมาตรฐานการนำเสนอที่สูงมากไว้ที่ในปี 2008 โดยเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยการหยิบ MacBook Air ออกมาจาก “ซองจดหมาย” บ่งบอกถึงความบางและเบาชนิดที่ใส่ซองจดหมายยังได้

การเปรียบเทียบลักษณะนี้ยังใช้ได้ดีกับการเขียนหัวข้อต่างๆ เช่น

  • ผิวนุ่มเหมือนก้นเด็ก
  • แอร์เย็นเหมือนอยู่ขั้วโลกเหนือ
  • โควิด-19 ก็เหมือนผี…รู้ว่ามี แต่มองไม่เห็น

หรือการทำออกมาเป็นภาพให้ใครก็ตาม ”เข้าใจง่าย”

ปี 1854 โลกได้รู้จัก Florence Nightingale เป็นหญิงสาวไม่กี่คนในยุคนั้นที่มีการศึกษาสูง เข้าใจในคณิตศาสตร์และการแพทย์ ปีนั้นเธอถูกส่งไปโรงพยาบาลทหารในสมรภูมิรบ “สงครามไครเมีย” (Crimean War) ก่อนจะพบว่า ทหารที่ป่วยตาย มีมากกว่า ทหารที่ถูกฆ่าตาย ถึง 10 เท่า!! เนื่องมาจากโรคต่างๆ  เธอสืบเสาะจนพบต้นตอของสาเหตุนั่นคือ “ระบบท่อน้ำเสียอันล้าหลัง และ การออกแบบอาคารที่ทำให้อากาศไม่ถ่ายเท”

เธอรีบกลับไป London เพื่อชี้แจงต่อรัฐสภา แต่ในใจรู้ดีว่าคงไม่มีใครฟังข้อมูลอันยาวเหยียด โดยเฉพาะมาจากผู้หญิงที่ยุคนั้นยังไม่ค่อยได้รับความน่าเชื่อถือ เธอจึงใช้เวลาออกแบบคิดค้น “แผนภูมิรูปภาพ” (Picture chart) ซึ่งย่อยข้อมูลทุกอย่างที่ต้องการสื่อสารให้เข้าใจง่าย ปรากฎว่าสะกดใจได้ทั้งรัฐสภา ทุกคนเซอร์ไพรส์กับรูปแบบนำเสนอที่แตกต่างนี้และเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (ไม่เคยรู้มาก่อน)

จนมีคำสั่งเร่งด่วน ให้สร้างอาคารโฉมใหม่ที่อากาศถ่ายเท และ ระบบท่อน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพขึ้น จนอัตราการเสียชีวิตของทหารป่วยตายลดลงจาก 42% เหลือแค่ 2% เท่านั้น!! ไม่เกินจริงเลยหากบอกว่า การนำเสนอผ่านแผนภูมิรูปภาพของเธอ ได้ช่วยชีวิตทหารนับพันราย และแผนภูมิรูปภาพนี้เองก็ถูกพัฒนาต่อยอดจนมาถึงปัจจุบัน

จำไว้ให้ดี…วิธีนำเสนอ สำคัญกว่า เนื้อหาที่พูด

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 80