Self-Overestimation : คุณอาจไม่ได้เก่งอย่างที่คิด

Overestimation
Self-Overestimation คือการประเมินความสามารถหรือศักยภาพของตนเองสูงเกินจริง ซึ่งอาจนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดหรือความล้มเหลวในการรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ เพราะขาดการประเมินความเสี่ยงหรือข้อจำกัดของตนอย่างเหมาะสม
  • เราทำงานเก่ง ออกมาเปิดบริษัทเองก็น่าจะรุ่ง
  • ไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม…เราเป็นครัวของโลก!!
  • “ผมมั่นใจว่าตัวเองขับรถดีกว่าคนอื่นทั่วไป”

เรามักตกเป็นเหยื่อของอาการ Self-Overestimation การคิดว่าตัวเองเก่ง(เกินจริง) เรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่เสมอ จนนำไปสู่ข้อสรุปที่บิดเบือนหรือการตัดสินใจที่ผิดพลาด!!

ทำไมเรามักคิดว่าตัวเองเก่งเกินจริง (Overestimation) ?

ตั้งแต่อดีตกาล มีกลไกหนึ่งที่ผลักดันมนุษย์ให้คิดว่าตัวเอง “ดีพอ” เพื่อออกไปลงมือทำอะไรบางอย่าง 

  • คิดว่าเก่งพอที่จะออกไปล่าสัตว์ได้
  • คิดว่าเก่งพอที่จะปกป้องคนอื่นได้
  • คิดว่าเก่งพอที่จะจีบสาวในหมู่บ้านได้

แต่ความบานปลายของกลไกนี้นำไปสู่ Self-Overestimation จนทำให้เรารู้สึก “ยกยอ” ตัวเองเกินจริง นักจิตวิทยาจาก Cornell University ที่เชี่ยวชาญด้านนี้ให้เหตุผลว่า มนุษย์มักคิดว่าตัวเองเป็นคนฉลาดกว่าความจริง เมื่อเราคิดเช่นนั้นแล้ว ก็พลอยทำให้มองข้ามข้อบกพร่อง / ขีดจำกัด / อุปสรรคภายนอก…จนนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่เรื่องธุรกิจการทำงาน แต่ครอบคลุมถึงชีวิตส่วนตัว / สุขภาพ / ความสัมพันธ์ ฯลฯ

เราอาจไม่ได้เก่งอย่างที่คิด

ผลสำรวจในหลายประเทศพบว่า ผู้ขับขี่รถยนต์ส่วนใหญ่คิดว่าตัวเองมี “ทักษะการขับขี่” ดีกว่าค่าเฉลี่ยคนทั่วไป ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ท้องถนนคงจะเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยมากแน่ๆ แต่สถิติกลับไม่เป็นเช่นนั้น

  • คนอเมริกันเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนถึงปีละ 37,000 คน
  • คนอังกฤษเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนถึงปีละ 27,000 คน
  • คนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนถึงปีละ 12,000 คน

Nokia คิดว่าตัวเองเก่งพอแล้ว เพราะเป็นเจ้าตลาดมือถือมานานกว่า 20-30 ปีในสมัยนั้นและไม่ได้ให้ความสำคัญกับ Smartphone แต่ภายหลังก็ถูกผลิตภัณฑ์ที่ปฏิวัติวงการของ Apple เขี่ยให้ตกชั้นกลายเป็นอดีต

Starbucks พิสูจน์ความสำเร็จไปทั่วโลก ไปเปิดที่ไหน ผู้บริโภคประเทศนั้นๆ ก็ให้การต้อนรับที่ดี…แต่ไม่ใช่กับ “ออสเตรเลีย” ตอน Starbucks ไปเปิดตลาดที่ออสเตรเลีย ก็นำโมเดลธุรกิจและมาตรฐานกาแฟที่ใช้กับที่อื่นทั่วโลก…ไปใช้ที่ออสเตรเลีย ก่อนจะพบว่าล้มเหลวไม่เป็นท่า!! เพราะประเทศนี้ผู้คนมี “วัฒนธรรมกาแฟ” ที่แข็งแกร่งมาก มี “มาตรฐาน” หลายอย่างสูงกว่า Starbucks เสียอีก ในปี 2008 Starbucks ได้ปิดสาขากว่า 70% ที่มีทั้งหมดในประเทศออสเตรเลีย จนเหลือแค่เพียง 23 สาขาเท่านั้น!! หรือด้านการศึกษา ย้อนกลับไปเมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว ถ้าคุณเรียน “จบนอก” แล้วกลับมาทำงานเมืองไทย คุณแทบจะเป็น Privileged Class ในสังคมไทยทันที เพราะสมัยก่อนคนจบระดับนี้ได้ยังมีน้อยมาก

แต่ปัจจุบัน แต่ละปีมีคนเรียนจบนอกถึงกว่า 15,000 คน/ปี การจบนอกยุคนี้จึงไม่ได้มี “แต้มต่อ” สำคัญเท่ายุคก่อนอีกต่อไป นอกจากนี้มหาวิทยาลัยในไทย ยังเปิดหลักสูตรนานาชาติขึ้นมากมาย ซึ่งอาจมีคุณภาพดีไม่แพ้การจบนอกด้วยซ้ำ!! หรือแม้แต่ “ความเก่าแก่” ที่เราอาจหยิบยกมาเคลมความสำคัญในประวัติศาสตร์ เช่น 

  • Central คือห้างสรรพสินค้าที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อปี 1927 ปัจจุบันมีอายุกว่า 94 ปี

แต่อายุความเก่าแก่นี้อาจเทียบไม่ได้เลยกับห้างที่อังกฤษ

  • ห้าง Selfridge ก่อตั้งเมื่อปี 1908 ปัจจุบันมีอายุ 113 ปี
  • ห้าง Harrods ก่อตั้งเมื่อปี 1824 ปัจจุบันมีอายุ 197 ปี
  • ห้าง Fortnum & Mason ก่อตั้งเมื่อปี 1707 ปัจจุบันมีอายุ 314 ปี

หรือในเชิงภาพรวม “อุตสาหกรรม” เราอาจหลงระเริงกับความชำนาญในการทำ “เกษตรกรรม” ของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ยังมีประเทศอื่นๆ ที่แม้เกษตรกรรมจะไม่ใช่สัดส่วน GDP หลักของประเทศ แต่เกษตรกรรมในประเทศนั้นกลับมีประสิทธิภาพสูงกว่าไทยด้วยซ้ำ เช่น ประเทศที่มีพื้นที่ขนาดเล็กอย่างเนเธอร์แลนด์ พบว่า

  • เนเธอร์แลนด์มีเกษตรกร 100,000 คน ทำยอดส่งออกสินค้าเกษตรอยู่ที่ราว 3 ล้านล้านบาท
  • ไทยมีเกษตรกร 12,500,000 คน ทำยอดส่งออกสินค้าเกษตรอยู่ที่ราว 700,000 ล้านบาท

จะเห็นว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของเนเธอร์แลนด์ สูงกว่าไทยถึง 4 เท่ากว่าๆ นำไปสู่คำถามว่า เนเธอร์แลนด์อาจมีความเป็น “ครัวของโลก” มากกว่าไทยใช่หรือไม่?

วิธีป้องกันไม่ให้ “Overestimation” ?

ในทุกการวิเคราะห์ใดๆ ให้ลอง “เอาตัวเองออกมา” เลิกตื่นเต้น ไม่ด่วนตัดสิน แล้วมองภาพรวมตามความจริง นี่คือด่านแรกที่ไม่นำไปสู่ความประมาท หัด “ตั้งคำถาม” อยู่บ่อยๆ เพราะจะนำคุณไปสู่ประเด็นหรือมุมมองอื่นที่ให้ข้อมูลรอบด้านได้มากขึ้น เช่น ตั้งคำถามกับประวัติศาสตร์เก่าแก่ของห้างอังกฤษ จนอาจนำคุณไปพบกับกลยุทธ์การสืบทอดธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่น / วิธีการรักษาลูกค้าเก่าและหาลูกค้าใหม่ / หรือความสวยงามของสถานที่ การตกแต่งภายในแบบฉบับอังกฤษที่สวยไร้กาลเวลา (Timeless Design)

อีกวิธีหนึ่งที่ช่วยได้มากคือ การค้นหา “ตัวเลข” มาประกอบทุกการพิจารณา และเปรียบเทียบกับคู่แข่งรอบด้าน “ตัวเลขไม่เคยโกหกใคร” คำนี้ยังเป็นความจริงและใช้ได้ดีอยู่ ตัวเลขจะมาเปลี่ยนสิ่งที่เป็นนามธรรม 🡺 รูปธรรมมากขึ้น

ที่สำคัญ ตัวเราเองต้องละทิ้งอคติส่วนตัว และต้องศึกษา “เรียนรู้” (Lifetime Learning) อยู่ตลอดเวลาเพื่อตามโลก เทรนด์ใหม่ๆ การเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ให้ทันนั่นเอง 

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ และมีความสุขกับงานในทุกๆวัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 80