Workplace Threatening : เมื่อ”พนักงานถูกคุกคาม”ในที่ทำงาน !!

พนักงานถูกคุกคาม
  • เราต้องการแรงงานไทย ไม่ต้องการพวกกะเหรี่ยง
  • น้อง…ฝากซีร็อกซ์ เอาไปส่ง แล้วชงกาแฟมาให้พี่ที่โต๊ะด้วย
  • เธอเป็นผู้หญิง…จะทะเยอทะยานขึ้นเป็นผู้บริหารไปทำไม?

คำพูดและการกระทำที่ริดรอนศักยภาพคนเหล่านี้ คือส่วนหนึ่งของ Workplace Threatening การคุกคามรูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นในที่ทำงานหลายแห่งทั่วโลก  แต่โลกศตวรรษที่ 21 กำลังโอบกอดสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมกัน ความคิดที่ช่างล้าหลังเหล่านี้ต้องทยอยหมดไป…แล้วคุณในฐานะผู้นำองค์กรจะทำอย่างไรได้บ้าง ?

การคุกคามรูปแบบต่าง ๆ ?

ก่อนจะแก้ปัญหา ต้องเข้าใจปัญหาบ้างซะก่อน การคุกคามในที่ทำงานเกิดขึ้นได้หลายเรื่องมากๆ อาทิเช่น

  • เพศ – มักเป็นผู้หญิงที่ถูกกระทำ
  • เชื้อชาติ – มักเป็นคนกลุ่มน้อย (Minority) ที่ถูกกระทำ
  • ความอาวุโส – มักเป็นผู้ใหญ่ทำกับเด็ก 
  • ตำแหน่ง – มักเป็นหัวหน้าทำกับลูกน้อง 

และมาพร้อมรูปแบบ “วิธีการ” คุกคามที่หลากหลาย ทั้งทางสายตา / หยอกล้อรูปร่าง / พูดโยงเรื่องเพศ / การแต๊ะอั๋ง / การสั่งงานที่ไม่เป็นธรรม ฯลฯ

เราต้องระบุให้ออกก่อนว่าเป็นการคุกคามเรื่องอะไร รูปแบบไหน ใครเป็นคนกระทำ-ถูกกระทำ เมื่อรู้สภาพการณ์แล้วจึงค่อยหาทางแก้ปัญหาvอย่างไรก็ตาม การคุกคามปัจจุบันมีหลายวิธีที่เข้าขั้น “ซ่อนเร้น” บางครั้งไม่ได้ประเจิดประเจ้อ เช่น หัวหน้าชอบสั่งงานลูกน้องช่วงเย็นก่อนเลิกงานอยู่บ่อยๆ โดยอ้างความเร่งด่วนหรือความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน ทำให้ลูกน้องต้องอยู่ดึกหรือเอางานกลับไปทำที่บ้านอยู่บ่อยๆ หรือด้านเชื้อชาติ โดยเฉพาะที่สหรัฐอเมริกาหรือยุโรป HR บางคนถึงกับตีเนียนไม่ตอบรับ Resume ของคุณเลยเมื่อแค่เห็นว่า “ชื่อ” ของคุณดูเหมือนเป็นชาวต่างชาติ (ทั้งๆ ที่คุณอาจเกิดและโตที่ประเทศนั้น)

นอกจากนี้ บางครั้งการถูกคุกคามทางเพศก็เกิดจากความไม่ตั้งใจหรือความไม่รู้ (Ignorance) เช่น ชาวยุโรปบางประเทศมีวัฒนธรรมทักทายโดยการเอาแก้มชนกัน ซึ่งกระทำกันในเชิงธุรกิจด้วยในบางโอกาส จุดนี้พนักงานชาวเอเชียอาจรู้สึกกระอักกระอ่วนที่ต้องถูกชนแก้ม เป็นต้น เมื่อมาดูผลสำรวจเรื่องนี้จากแหล่งต่างๆ จากการสำรวจของสถาบันวิจัยในแต่ละประเทศเกี่ยวกับผู้ถูกคุกคามทางเพศในที่ทำงาน พบว่า

  • ไทย พบ 10%
  • อังกฤษ 13%
  • อเมริกา 54%

ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าตัวเลขจริงอาจสูงกว่านี้มาก เพราะยังมีเหยื่ออีกหลายคนที่ไม่กล้าเปิดเผยข้อมูล หรือยังไม่แน่ใจว่าตัวเองกำลังถูกคุกคามอยู่หรือไม่ จากผลสำรวจของ NPR ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. พบว่า 77% ของพนักงานหญิงถูกคุกคามทางเพศด้วยวาจาในที่ทำงาน ขณะที่ 51% ถูกลูบคลำ(แต๊ะอั๋ง) โดยไม่ได้รับอนุญาต เหตุการณ์ลักษณะนี้ทำร้ายจิตใจจนกระทบการทำงานในที่สุดทั้งด้าน Productivity ความคิดสร้างสรรค์ การให้ความร่วมมือกับทีม หรือความจงรักภักดีต่อองค์กร

จิตวิทยาเบื้องหลัง 

ในแง่ชีววิทยา มนุษย์ก็คือลิงตัวหนึ่ง เราอยู่กันเป็นฝูงและมี “ระดับขั้น” (Hierarchy) ชัดเจน ตัวผู้ต้องการอำนาจเพื่อขึ้นเป็นจ่าฝูงและเพื่อดึงดูดตัวเมียในการผสมพันธุ์ ตัวเมียก็ต้องการผสมพันธุ์กับตัวผู้ที่อยู่แถวหน้า เพราะจ่าฝูงมีทรัพยากรมากกว่า มีโอกาสหาอาหารมาเลี้ยงดูลูกได้มากกว่า ไม่ว่าจะเพศไหน-วัยไหน ล้วนต้อง “แข่งขัน” ซึ่งกันและกัน พยายามกีดกันคนที่อยู่ข้างล่างไม่ให้ขึ้นมาข้างบน  พยายามคุกคามข่มเหงคนที่อ่อนแอกว่า มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกกัน…สังคมมนุษย์เราอยู่กันแบบนี้มาตั้งแต่อดีตกาล ถึงปัจจุบัน แม้สังคมเราเปลี่ยนไปแล้ว มีอารยธรรมที่ศิวิไลซ์ขึ้น มีกฎหมายคอยคุ้มครอง…เพียงแต่สัญชาตญาณ (Instinctive Behavior) การแข่งขันนี้ยังคงฝังอยู่ในตัวเราทุกคนไม่มากก็น้อย

เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว เราจะเข้าใจว่าเมื่อใดก็ตามที่คนเราไม่สามารถข่มสัญชาตญาณในตัวไว้ได้ การคุกคามจะเริ่มออกฤทธิ์ ทางแก้คือหามาตรการกลไกบางอย่างขึ้นมาเพื่อไม่ให้สัญชาตญาณเป็นฝ่ายชนะ

วิธีรับมือในฐานะผู้นำ

หลายรัฐในอเมริกา ถึงกับมีกฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่า องค์กรของคุณต้องมีสัดส่วนพนักงานที่เป็นเชื้อชาติชนกลุ่มน้อยไม่ต่ำกว่ากี่ % เพื่อการปฏิบัติทางเชื้อชาติอย่างเท่าเทียม (Racial Indiscrimination)  ในใบสมัครงาน หลายองค์กรถึงกับยกเลิกการระบุ “เชื้อชาติ-รูปถ่าย” ลงไป เพื่อลดโอกาสที่นายจ้างหรือ HR จะเกิดอคติขึ้นได้

รัฐบาลเยอรมันประกาศแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับการปกป้อง เพื่อแบ่งแยกงาน-ชีวิตส่วนตัวอย่างชัดเจน และลดโอกาสการถูกกลั่นแกล้งจากหัวหน้าที่สั่งงานลูกน้องอย่างไม่เป็นธรรม ผู้นำสามารถสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นแนวราบ (Flat Hierarchy) ลดระบบอาวุโสให้เหลือน้อย เช่น ระบุว่าลูกน้องวัย 20s ก็สามารถวิพากษ์วิจารณ์ไอเดียของหัวหน้าวัย 50s ได้ถ้าเห็นว่ามีข้อบกพร่อง

นอกจากนี้ การเคลื่อนไหว #MeToo Movement ได้ส่งแรงกระเพื่อมและการตระหนักรู้ของปัญหาด้านการคุกคามทางเพศไปทั่วโลกธุรกิจ ประเด็นเรื่องการคุกคามทางเพศ ก่อนรับเข้าทำงาน HR ควรชี้แจงประเด็นนี้แก่ผู้สมัครให้ชัดเจน ถึงข้อจำกัดการกระทำและ “บทลงโทษ” ที่จะตามมา ซึ่งต้องมีความรุนแรงและเด็ดขาด การให้ความรู้เพื่อฉุกคิดก็สำคัญ เช่น ในด้านวาจาระหว่างพนักงานชาย-หญิง ให้คิดซะว่าอย่าพูดกับพนักงานผู้หญิง ด้วยคำพูดที่คุณ(ผู้ชาย) จะไม่มีวันพูดกับคุณแม่-พี่สาว-น้องสาวของคุณเด็ดขาด!

หนึ่งในบริษัทที่พยายามขจัดปัญหาด้านการคุกคามทางเพศอย่างจริงจังคือ Google ซึ่งเป็นข่าวดังไปทั่วโลกเมื่อหลายปีก่อน เรื่องมีอยู่ว่า Andy Rubin พนักงานกิตติมศักดิ์ (ผู้คิดค้นระบบ Android) ได้ลาออกจาก Google อย่างเงียบๆ ในปี 2014 พร้อมเงินชดเชยก้อนโต เนื่องมาจากปัญหาการคุกคามทางเพศแก่พนักงานหญิงคนหนึ่ง

เรื่องดันไปถึงหู The New York Times ซึ่งได้เผยแพร่ข่าวนี้อีกทีหนึ่ง จนพนักงาน Google รู้กันไปทั่ว และไม่เห็นด้วยว่าทำไมถึงยังได้รับเงินชดเชยก้อนโตนั้น ทั้งๆ ที่มีพฤติกรรมเสื่อมเสีย จนพนักงาน Google ประสานงานกันหลายหมื่นคนออกมาประท้วงบริษัทในปี 2018 จน Sundar Pichai ซีอีโอของ Google รีบออกมาประกาศว่าจะดำเนินการขั้นเด็ดขาดแก่พนักงานทุกระดับที่มีพฤติกรรมเสื่อมเสียเช่นนี้ ปี 2018 Google ปลดพนักงานเกือบ 50 คนอย่างเด็ดขาดที่มีการกระทำเข้าข่ายคุกคามทางเพศแก่เพื่อนร่วมงาน โดยจำนวนนี้กว่า 25% เป็นถึง “ผู้บริหารอาวุโส” เลยทีเดียว

และยังได้เปลี่ยนแปลงข้อกำหนดเกี่ยวกับการล่วงละเมิดดทางเพศและบทลงโทษที่เฉียบขาดรุนแรงขึ้นอีกกว่า 80 ข้อ ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่พนักงานของบริษัท และภาพลักษณ์ขององค์กรในระยะยาวที่ต้องดึงดูดคนเก่งทั่วโลกมาร่วมงาน  เรื่องนี้สะท้อนว่า การเห็นถึงความสำคัญและความเด็ดขาดของผู้นำองค์กรคือด่านแรกที่สร้างความเชื่อมั่นให้แก่พนักงานได้ดีที่สุดนั่นเอง

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ และมีความสุขกับงานในทุกๆวัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 80