The Questionist : คำถาม 2 ข้อ นี้ถ้าคุณอยากเปลี่ยนแปลงโลกจริงๆ!

คำถาม 2 ข้อ
1. คุณจะทำอะไรถ้ารู้ว่า…สามารถทำอะไรก็ได้และไม่มีวันล้มเหลว? 2. ภายใน 24 ชั่วโมงข้างหน้า อะไรคือสิ่งที่คุณสามารถเริ่มต้นทำได้ทันที…เพื่อไปสู่เป้าหมายข้อ 1?

นี่คือคำถามที่ John Paul Flintoff พูดไว้บนเวที TedTalk ซึ่งทำให้ผู้ฟังทั่วโลกฉุกคิด

คำถามข้อ 1 ช่วยให้คุณ “คิดการใหญ่” โดยไม่กลัวต่ออุปสรรค ซึ่งหลายคนได้ให้คำตอบอันน่าประทับใจ เช่น “หาทางรักษาโรคเอดส์”

คำถามข้อ 2 ช่วยคุณในการ “เริ่มต้น” จากสิ่งเล็กๆ ที่พอจะทำได้ทันที มันอาจเป็น “เริ่มต้นหาความรู้เชิงลึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับเอดส์”…ใครจะไปรู้ว่าก้าวแรกเล็กๆ อาจนำไปสู่การค้นพบหนทางรักษาเอดส์ในอนาคตอีก 10 ปีจากนี้ก็ได้!

มันเป็นคำถามที่นำไปสู่ความกล้าหาญของ “คนธรรมดา” คนหนึ่งในการคิดอยากเปลี่ยนแปลงโลกเพื่อไปสู่สิ่งที่ดีกว่า โดยเราสามารถเริ่มต้นได้โดยใช้ 7 ข้อเหล่านี้เป็นตัวนำทาง…

1. เริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ (Start Small)

คุณ “คิด” การใหญ่ได้แต่ควรเริ่ม “ทำ” จากสิ่งเล็กๆ แล้วค่อยก้าวไปทีละขั้น 

นี่คือเคล็ดลับที่ Muhammad Yunus เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพใช้ในการคิดค้น Micro Finance เพื่อปล่อยกู้แก่คนยากจนในประเทศกำลังพัฒนา โดยเขาเริ่มต้นด้วยเงินตัวเองเพียง $27 ก่อนพบว่าเงินจำนวนแค่นี้ช่วยคนได้มากถึง 42 คน

จากสิบเป็นร้อย-จากร้อยเป็นพัน การช่วยของเขาขยายสเกลใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนนำไปสู่การก่อตั้งธนาคาร Grameen Bank ซึ่งเมื่อถึงปี 1997 ได้ปล่อยกู้ไปแล้วกว่า $6,300 ล้าน ให้กับคนยากจนกว่า 7,400,000 คน ในการประกอบอาชีพ เริ่มต้นสร้างเนื้อสร้างตัว สุดท้ายช่วยให้หลายคน “หลุดพ้น” จากความยากจนในที่สุด

2. เป็นเพื่อนบ้านที่ดี (Be a Good Neighbor)

คุณไม่จำเป็นต้องเดินทางไปทั่วโลก หรือพบปะบุคคลสำคัญเสมอไป แต่สามารถสร้าง Impact (และได้รับ Impact) จากเพื่อนบ้านจากผู้คน “บ้านใกล้เรือนเคียง”

ตอนที่ John Paul Flintoff ขึ้นพูดบนเวที TedTalk เรื่องการป้องกันภาวะโลกร้อน (Global Warming) เขาเล่าว่าเริ่มจากเดินไล่ไปทักทายเพื่อนบ้านแถวที่อยู่อาศัยทุกหลัง

แต่เขาไม่ได้เข้าหาด้วยท่าทีกดดันหรือโยนงานวิจัยที่เต็มไปด้วยข้อมูลตัวเลขที่สนับสนุนความคิดเค้า แต่กลับหยิบยื่น “ต้นมะเขือเทศ” ให้ไปปลูกฟรีๆ

เขาทำแบบนี้อยู่หลายปี จำนวนต้นมากขึ้น หลากหลายพันธุ์ขึ้น ที่น่าสนใจคือ หลังจากนั้นเพื่อนบ้านหลายคนเริ่มที่จะ “ปลูก” ต้นไม้นานาชนิดด้วยตัวเองแล้ว ซึ่งช่วยลดภาวะโลกร้อน(ในสเกลเล็กๆ)แถวย่านนี้ และที่แน่นอน ช่วยให้สภาพแวดล้อมสดชื่นสวยงามขึ้นมาก

อะไรที่คุณเริ่มต้นทำได้ทันทีหน้าบ้าน? (หรือละแวกบ้าน?)

3. เน้นย้ำประเด็นสำคัญ (Highlighting an Issue)

คุณคิดว่ามีประเด็นสำคัญเรื่องไหนที่ไม่ได้รับความสำคัญมากพอหรือไม่ได้รับการพูดถึงในกระแสหลักไหม? ถ้ามีล่ะก็…อย่างแรก จงหาความรู้ใส่ตัวให้รอบด้านเกี่ยวกับเรื่องนั้น คุณต้องรู้จริงก่อน แล้วค่อยไป “ป่าวประกาศ” เน้นย้ำความสำคัญให้ทุกคนได้รับรู้ซะ

ซึ่งยุคนี้เราทุกคนสามารถเป็นสื่อเล็กๆ ได้เพราะมีโซเชียลมีเดีย ทำให้ประเด็นนี้กลายเป็นกระแส Viral ได้ง่ายกว่ายุคก่อนมาก

4. ลองมีน้ำใจเล็กๆน้อยๆ กับผู้อื่น (Practice Random Acts of Kindness)

ความมีน้ำใจแม้จะเล็กน้อยแต่กลับสร้าง “แรงกระเพื่อม” ที่ส่งต่อจากคนแล้วคนเล่าได้ และทำให้วันธรรมดากลายเป็นวันที่พิเศษขึ้นมา(นิดนึง)ได้ทันที

ทำอย่างไร? ง่ายๆ เลยในชีวิตประจำวัน เดินผ่านใครลองส่งยิ้มเล็กๆ ให้ / เปิดประตูค้างไว้ให้คนเดินตามหลังเข้า / เลี้ยงข้าวแกงเพื่อน / ซื้อกาแฟให้คิวคันหลังในช่อง Drive-Thru / โอนเงินบริจาคมูลนิธิต่างๆ…เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ทำให้เป็นวันที่แสนดีขึ้นมาได้แล้ว

เรื่องนี้มีผลวิจัยรองรับ แค่ความมีน้ำใจแสนเล็กน้อยที่ได้รับ ก็ทำให้ร่างกายหลั่งสารออกซิโทซิน (Oxytocin) ที่ทำให้เรารู้สึกมีความสุขอิ่มเอมและมองโลกในแง่บวกขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์

5. จ่ายเงินกับสิ่งที่มีอุดมการณ์ตรงกับคุณ (Let Your Values Guide Your Spending)

ลองอุดหนุนเป็น “พิเศษ” กับธุรกิจที่ยึดมั่นในความเป็นธรรม มีอุดมการณ์ที่ดีต่อสังคมบางอย่าง หรือง่ายๆ ธุรกิจที่มีครบทั้ง 3P (People, Planet, Profit)

ลองศึกษาบริษัทหรือสินค้าที่คุณซื้อประจำว่า…

  • กว่าจะมาเป็นสินค้าตรงหน้าต้องผ่านอะไรมาบ้าง (วัสดุรักษ์โลกไหม?)
  • รายได้เอาไปช่วยเหลือองค์กรไหนเป็นพิเศษหรือเปล่า? (คิดถึงสังคมไหม?)

เรื่องนี้จะเกิดผลถ้า “คนหมู่มาก” ทำกัน เพราะแบรนด์จะปรับตัวตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป 

ถ้าผู้บริโภคแคร์สิ่งแวดล้อม…แบรนด์จำเป็นต้องแคร์สิ่งแวดล้อมตาม มิเช่นนั้น คนก็ไม่ซื้อ หรือหันไปซื้อแบรนด์อื่นที่แคร์แทน

6. นั่งสมาธิ (Meditate)

แม้ดูเหมือนเป็นการเปลี่ยนแปลงจากภายใน แต่ออร่าที่เปล่งออกมาจากตัวคุณจะส่งผลถึงคนภายนอกรอบตัวด้วย

มีผลสำรวจมากมายระบุว่า อัตราการเกิดอาชญากรรมลดลงอย่างมีนัยสำคัญในชุมชนที่ผู้คนอย่างน้อย 1% นั่งสมาธิอย่างเป็นประจำ

เรื่องนี้ไม่ต้องบอกพวกเราก็รู้ การนั่งสมาธิช่วยให้เราสงบสุข เกิดสันติภาพในใจ สุขอิ่มเอมลึกๆ ข้างใน และช่วยให้สมองปลอดโปร่งคิดไอเดียดีๆ ได้ในที่สุด

7. เป็นตัวของตัวเองในทุกเรื่อง (Be Authentic in Everything You Do)

เพราะทุกคนมีความแตกต่างไม่เหมือนใครซักคน ทั้งร่างกาย ทัศนคิต ความคิด คุณค่าที่ยึดถือ การเป็นตัวของตัวเองในทุกเรื่องจะทำให้คุณอยู่ในที่ลงตัวที่สุด ทำได้ดีที่สุดและมีความสุขที่สุดในแบบของคุณเอง

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…คุณพร้อมมีความสุขกับการทำงานในทุกๆ วันแล้วหรือยัง? >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 80