ไอดอล (Idol) มีใครเป็น ไอดอล?

idol
ไม่ว่าเก่งมาจากไหน แต่เราทุกคนย่อมมี “ไอดอล” เป็นของตัวเอง นำมาสู่คำถามว่า แล้ว CEO นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จระดับโลก ที่ขึ้นไปอยู่บนยอดสูงสุดของพีระมิดล่ะ...พวกเขามีใครเป็นไอดอลอีกที? เราตามไปดูทีละคนพร้อมกันเลย

Elon Musk

เขาเป็นอัจฉริยะด้านวิศวกรรมและฟิสิกส์มาตั้งแต่เด็ก โดยมี idol เป็น Richard Feynman นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน ผู้ให้กำเนิดวิชากลศาสตร์ควอนตัม ซึ่งเป็นคนที่ทำให้เค้าชื่นชอบศาสตร์นี้ มัสก์จะติดตามผลงานของเขาตลอดผ่านงานเขียนและการสอนต่างๆ นอกจากนี้ ไอดอลของเขายังเป็นบุคคลครั้งในอดีตกาลอย่าง Nikola Tesla ที่เป็นทั้งนักประดิษฐ์ นักฟิสิกส์ วิศวกรเครื่องกลและไฟฟ้า…มัสก์ชื่นชอบเขาถึงขนาดนำชื่อมาตั้งเป็นชื่อแบรนด์รถไฟฟ้า Tesla ถึงทุกวันนี้

อย่างไรก็ตาม มัสก์ยังได้หนึ่ง “บทเรียน” เป็นเครื่องเตือนสติ เพราะแม้ Nikola Tesla เป็นอัจฉริยะด้านฟิสิกส์และวิศวกรรม แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จทางด้านธุรกิจเลย (ทำสินค้าเก่ง แต่ขายไม่เก่ง) Elon Musk จึงบอกกับตัวเองว่า ทุกนวัตกรรมที่ดีเลิศต้องไปพร้อมกันได้ดีกับธุรกิจ ต้องมีตลาดใหญ่พอ ต้องโปรโมทสินค้า ต้องเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค…ลำพังสินค้าดีอย่างเดียวไม่เคยพอ

Bill & Warren

Bill Gates และ Warren Buffett เป็น idol ของใครหลายคนในโลกนี้ เพราะความสำเร็จทางธุรกิจ ไอเดียความคิด และไม่มีพฤติกรรมส่วนตัวเสียๆ หายๆ  ว่าแต่ แล้ว 2 คนนี้มีใครเป็นไอดอลอีกที? คำตอบคือชายที่ไม่ได้มีชื่อเสียงกว้างขวางนักนามว่า Chuck Feeney ผู้ก่อตั้ง Duty Free Shoppers Group ที่มีสาขาในหลายสนามบินทั่วโลก เดิม Chuck Feeney เป็นนักธุรกิจแสนล้านที่ประสบความสำเร็จใหญ่หลวง (แต่ low profile) แต่ความร่ำรวยที่มีนั้นได้เกินความต้องการของเขาไปมากแล้ว เขาจึงกำหนด “ภารกิจชีวิต” ที่จะ “บริจาคเงิน” อย่างต่อเนื่องไปจนตายให้แก่ผู้อื่น

จากการประเมิน เขาเหลือทรัพย์สินทั้งตัวเพียง 2 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือว่าน้อยต่ำเตี้ยเรี่ยดินมากสำหรับสเกลธุรกิจของเขา เพราะได้บริจาคเงินไปทั้งหมดรวมกันกว่า 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐไปแล้วนั่นเอง หรือราว 240,000 ล้านบาท!! เขาเคยกล่าวว่า “ใครที่ลังเลว่าจะบริจาคดีไหม…เชื่อผม คุณทำไปเถอะ มันทำให้คุณรู้สึกดีและภาคภูมิใจแน่นอน” ไม่ต้องแปลกใจเลยว่าเขามีอิทธิพลต่อ Bill Gates และ Warren Buffett มากๆ เพราะทั้งคู่ก็ได้ปฏิญาณตนขอบริจาคเงินที่ตนมีให้คนอื่นอย่างต่อเนื่อง (ทั้งคู่บริจาคจำนวนมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก) โดยจัดตั้งแคมเปญ The Giving Pledge ที่ให้เหล่าอภิมหาเศรษฐีมาเข้าร่วมและปฏิญาณตนบริจาคทรัพย์สินอย่างน้อย 50% ที่มี (ปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมกว่า 220 คนแล้ว)

Jack Ma

20 กว่าปีที่แล้ว Jack Ma ยังเป็นชายนิรนามธรรมดาคนหนึ่งที่ “ลังเล” ว่าควรเปิดบริษัททำธุรกิจเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต(ที่ยังไม่บูม ณ ตอนนั้น) ดีไหม โดยเขามี Jin Yong เป็น idols นักเขียนนวนิยายแนวกำลังภายในชื่อดัง โดย Jack Ma ได้เรียนรู้คุณค่าจากตัวละครในนวนิยายมากมายเหล่านี้ เช่น ความซื่อสัตย์และการแก้ปัญหาด้วยวิธีใหม่ๆ (Unconventional Problem Solving) ซึ่งเขาใช้ในชีวิตและธุรกิจจนถึงทุกวันนี้ ทำให้ Jack Ma ตัดสินใจก่อตั้ง Alibaba ขึ้นมา ซึ่งเป็นบริษัทด้านอินเตอร์เน็ตแห่งแรกในประเทศจีน และใส่นวัตกรรมที่มาจากแนวคิดคุณค่าเหล่านั้นลงไปในการทำธุรกิจ ปัจจุบัน Alibaba เป็นหนึ่งในบริษัทด้าน e-Commerce ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

J.K. Rowling

J.K. Rowling ผู้ให้กำเนิด Harry Potter ซึ่งจะว่าไปก็เป็นผลงานทั้งด้านนวนิยายและวรรณกรรมชั้นเลิศ โดยเธอได้รับอิทธิพลบางส่วนมาจาก William Shakespeare กวีและนักเขียนบทละครผู้ยิ่งใหญ่ของอังกฤษและของโลก ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมเราถึงได้เห็นตัวละครมากมายใน Harry Potter มีมิติและเรื่องราวอันลุ่มลึก

Jeff Bezos

โดย Jeff Bezos เปิดเผยว่า ตั้งแต่เข้าสู่โลกธุรกิจในวัย 20 ต้นๆ เขามี Warren Buffett เป็น idol มาโดยตลอด “ผมอ่านทุกอย่างที่เขาเขียน ติดตามผลงานทุกอย่างที่เขาทำ” เจฟฟ์กล่าวไว้ นอกจากนี้เขายังมี Bob Iger อดีตซีอีโอของ Disney เป็นไอดอล เจฟฟ์ประทับใจการตัดสินใจอันแน่วแน่และรวดเร็วของบ็อบที่ในปี 2006 ได้เข้าซื้อ Pixar หลังจากเข้ารับตำแหน่งเพียง 2 วัน หล่อหลอมให้ Jeff Bezos มีความเฉียบคม(และเชื่อในสัญชาตญาณ)ในการตัดสินใจทางธุรกิจต่อมา

Mark Zuckerberg

และรู้หรือไม่? ในปี 2013 Mark Zuckerberg ออกมาสารภาพต่อสื่อมวลชนเลยว่า เขามี Bill Gates เป็นไอดอลตั้งแต่ยังเด็ก “ตั้งแต่เด็ก ผมคิดว่าเขาเป็นหนึ่งในคนที่มีวิสัยทัศน์มากที่สุดในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี” มาร์กกล่าวไว้  เขาชื่นชมในพลัง “โฟกัส” จดจ่อสมาธิในการทำสิ่งหนึ่งให้สำเร็จของบิล เกตส์ที่มีต่อ Microsoft นั่นคือเป้าหมายการให้คอมพิวเตอร์ไปประจำการอยู่ทุกบ้านและทุกออฟฟิศทั่วโลก

“โดยส่วนตัว ผมเคารพนับถือเขามากๆ” เขากล่าวอย่างตื้นตัน ในปี 2015 มาร์กและภรรยาได้ให้คำมั่นสัญญาในการบริจาคเงินจากหุ้นที่มีใน Facebook กว่า 99% ให้มูลนิธิ…ตามรอยที่ Bill Gates ที่เคยทำมาตลอด

สิ่งที่เรื่องราวเกี่ยวกับ Idol สอนเรา?

idol ย่อมมี idol อีกทีนึง เพราะมนุษย์เราเชื่อมโยงถึงกัน เราทุกคนล้วนเป็น “ไอดอลให้แก่กัน” ได้ สร้างแรงบันดาลด้านบวกให้แก่กันและกันได้ อย่าประเมินตัวเองต่ำไป จงมีไฟในการสร้างผลงานให้แก่โลกนี้ หนุ่มสาวอย่างคุณอาจกำลังเฝ้ามองไอดอลรุ่นเก๋าที่ผ่านโลกมานาน

ขณะเดียวกัน เด็กน้อยที่กำลังเติบโตขึ้นในยุคนี้ ก็อาจกำลัง “เฝ้ามองคุณอยู่” อย่างห่างๆ มีคุณเป็นแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิตของพวกเค้า เราเป็นทั้ง “ผู้รับ และ ผู้ให้” ในเวลาเดียวกัน รับแรงบันดาลใจจากคนอื่น ก่อนจะส่งมอบให้แรงบันดาลใจนั้นแก่คนอื่นอีกที…แม้จะไม่รู้ตัวก็ตาม

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…คุณพร้อมมีความสุขกับการทำงานในทุกๆ วันแล้วหรือยัง? >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 80