ไอเดีย ปรับนิด-ปรับหน่อย จนยอดขายโตระเบิด

ไอเดีย
บางครั้ง การพลิกฟื้นธุรกิจจนกลับมาประสบความสำเร็จ ไม่ได้มาจากไอเดียสุดบรรเจิด นวัตกรรมล้ำหน้าแห่งอนาคต หรือเงินลงทุนมหาศาลแต่อย่างใด 

แต่เกิดจากการใช้ “ไอเดีย” แบบ “ปรับนิด-ปรับหน่อย” ของสินค้าบริการที่มี “อยู่เดิม” ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป / สร้างความแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ / หรือขอแค่แก้ Pain Point ลูกค้าได้…ก็พอให้บริษัทกลับมาตั้งตัวยืนได้ใหม่แล้ว

เรามาดูเรื่องราวทั้ง 5 ที่น่าสนใจนี้กัน

1. เบนโตะ ป้องกันโควิด 

ในยุคที่โควิดระบาดหนัก การทานข้าวกลางวันตามที่สาธารณะเป็นอะไรที่สุ่มเสี่ยงและผู้คนซีเรียสมากว่าละอองน้ำลายของเราอาจไปโดนคนอื่น…โดยเฉพาะคนญี่ปุ่นที่ขี้เกรงใจ ไม่ชอบสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น 

พลอยทำให้ร้านเบนโตะ (ข้าวกล่อง) ภายในสถานีรถไฟแห่งหนึ่งที่ญี่ปุ่นประสบปัญหายอดขายลดลงถึง 90% อย่างไรก็ตาม ร้านนี้ไม่ยอมแพ้ แต่ปรับสินค้าตัวเองให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป(ฉับพลัน) ด้วยการออกแบบแพกเกจจิ้งใหม่ 

โดยดีไซน์ให้เวลาแกะกล่องออกมาจะเป็น “ฉากกั้น 3 ด้าน” หุ้มใบหน้าของเราไม่ให้ละอองน้ำลายเล็ดลอดไปโดนคนอื่นข้างๆ

วิธีเปิดนั้นก็ง่ายมาก ออกแบบมาให้เมื่อกางออกมาก็เป็นฉากกั้นทั้ง 3 ด้านทันที แถมยังมีการ “เจาะรู” ด้านข้างกล่องให้คน “สอดนิ้ว” เข้าไปได้ เพื่อให้ “ยกขึ้น” มากินประชิดหน้า (ใกล้ปากมากที่สุดนั่นเอง)

เป็นไอเดียพัฒนาสินค้าอย่างเรียบง่ายที่แก้ Pain Point ของคนได้ตรงจุด แถมไปเข้าตาสื่อญี่ปุ่นหลายเจ้าจนมาทำข่าว ทางร้านได้ Free Media จนผู้คนบอกกันปากต่อปาก สุดท้าย ยอดขายเลยกระเตื้องกลับมาดีขึ้นในที่สุด (และ “เบนโตะฉากกั้น” นี้ก็เริ่มเป็นมาตรฐานใหม่ในญี่ปุ่นแล้ว!)

2. ข้าวกล่องที่น้ำซอสไม่หก 

ปกติ “แม่บ้านญี่ปุ่น” มักเข้าซูเปอร์มาร์เก็ตซื้อข้าวกล่องใส่ถุงผ้ากลับบ้านกันในชีวิตประจำวัน หนึ่งใน Pain Point คือ ข้าวกล่องบางประเภทเป็นอาหารที่มี “น้ำซอส” (หรือของเหลวใดๆ ก็ตาม) ผสมอยู่ในตัว 

แม้แพกเกจจิ้งจะซีลมาอย่างดีระดับหนึ่ง แต่บางครั้งถ้าถือถุงไม่ดีเอนเอียงไปมา น้ำซอสเหล่านี้จะเล็ดลอด “หก” ออกมาได้ สร้างงานให้ต้องมานั่งทำความสะอาดทั้งตัวถุงและของอื่นๆ ที่ถูกซอสหกใส่ 

บริษัท RISUPACK ของญี่ปุ่นจึงออกแบบแพกเกจจิ้งใหม่ โดยการทำ “แง่ง” รอยหยักเพิ่มอีก “1 ชั้น” ที่ตัวแพกเกจจิ้งด้านล่าง แม้แพกเกจจิ้งจะเอนเอียง แต่น้ำซอสหรือของเหลวด้านในจะถูก “กั้นหลายๆ ชั้น” ทำให้ไม่ไหลออกมาข้างนอกง่ายๆ เหมือนเดิมอีกต่อไป 

ในการทดสอบ ได้ลองเอียงกล่องให้หัวทิ่มลงค้างไว้ ผลปรากฎว่าน้ำซอสไม่หกออกมาแต่อย่างใด

แม้ดูเหมือนเป็นการปรับปรุงอันแสนเรียบง่าย แต่กลับแก้ Pain Point ลูกค้าได้ตรงจุดสุดๆ (บางทีคนก็ ‘ต้องการแค่นี้’) ผลลัพธ์คือ…ยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 120%!!

3. คนขอทาน พร้อมถ้วยใส่เงิน 7 ถ้วยที่แปะชื่อศาสนา 

ถ้าคุณเป็นขอทานข้างถนนทั่วไป คุณอาจเขียนป้ายว่า “ช่วยผมด้วย 5 บาท 10 บาทก็ยังดี” พร้อมถ้วยใส่เงิน 1 ถ้วย

ถ้าคุณเป็นขอทานที่ครีเอทีฟขึ้นมาหน่อย คุณอาจเขียนป้ายว่า “วันนี้เป็นวันที่ดี น่าเสียดาย ที่ผมมองไม่เห็นมัน” พร้อมถ้วยใส่เงิน 1 ถ้วย

แต่ขอทานรายหนึ่งใจกลาง New York ทำสิ่งหนึ่งที่เราทุกคนเรียนรู้ได้ไม่มากก็น้อย เขาคนนี้มาพร้อมถ้วยใส่เงิน “7 ถ้วย” ที่แต่ละถ้วยเขียนแค่ชื่อ “ศาสนา” ได้แก่ Christian / Muslim / Jewish / Buddhist / Hindu / Atheist / Agnostic และไม่ได้เขียนอ้อนวอนขอเงินทองใดๆ ทั้งสิ้น แต่เขียนตั้งคำถามที่ให้เราฉุกคิดว่า “ศาสนาไหนแคร์โฮมเลสมากที่สุด?”

ไม่มีใครรู้แบคกราวน์ชีวิตขอทานรายนี้ รู้แต่ว่าเขาเข้าใจการตลาดและจิตวิทยามนุษย์เป็นอย่างดี 

เขารู้ว่าตัวเองต้องการอะไร? และใครที่สามารถให้ได้? สิ่งที่เขาต้องการคือ น้ำใจจิตกุศลจากเพื่อนมนุษย์ (เงินบริจาค)

จิตกุศลเกิดจากความเห็นอกเห็นใจ…แล้วใครมีความเห็นอกเห็นใจแก่เพื่อนมนุษย์เป็นพิเศษ? คำตอบคือ กลุ่มคนที่เคร่งครัดศาสนาใดศาสนาหนึ่ง คนกลุ่มนี้ย่อมอยากให้ศาสนาตัวเองโดดเด่นกว่าศาสนาอื่นในแง่ภาพลักษณ์ความเห็นอกเห็นใจ…และเขาหรือเธอทำได้ง่ายๆ เพียง “บริจาค” เงินให้แก่ขอทานรายนี้

เกิดการแข่งขันขึ้น 

  • ใครนับถือศาสนาพุทธ เมื่อเดินผ่านแล้วเห็นถังเงินศาสนาพุทธร่อยหรอมีเพียงเศษเงิน ย่อมอยากให้มากขึ้นเป็นพิเศษ จากเดิมที่ให้ $1 อาจให้เพิ่มเป็น $5
  • ใครนับถือศาสนาคริสต์ เมื่อเดินผ่านแล้วเห็นถังเงินศาสนาคริสต์ร่อยหรอมีเพียงเศษเงิน ย่อมอยากให้มากขึ้นเป็นพิเศษ จากเดิมที่ให้ $2 อาจให้เพิ่มเป็น $10

ทุกคนมีแนวโน้มให้มากขึ้นเพราะไม่อยากให้ศาสนาที่ตัวเองศรัทธานับถือเป็นที่โหล่ แต่ไม่ว่าจะมากน้อยแค่ไหน สุดท้ายขอทานรายนี้ก็ได้เงินมากขึ้นกว่าเดิม

(แต่จะดีกว่ามาก ถ้าขอทานรายนี้เข้าไปยัง MyRightCareer.net สร้าง Resume ได้ง่ายๆ และหางานทำได้ทันที เพื่อจะได้มีงานทำเป็นหลักแหล่ง และใช้ความครีเอทีฟของตัวเองได้มีประสิทธิภาพที่สุด!)

4. You don’t have to be Jewish. 

หากคุณเดินอยู่ในสถานีรถไฟใต้ดินที่ New York ในปี 1961 คุณจะพบกับโปสเตอร์โฆษณาขนาดใหญ่แปะทั่วบริเวณไปหมด ด้านบนของโปสเตอร์นี้เขียนว่า “You don’t have to be Jewish” ด้านล่างของโปสเตอร์เขียนว่า “to love Levy’s real Jewish Rye” 

ตรงกลางของโปสเตอร์คือภาพ “นายแบบ-นางแบบ” ที่กำลังยิ้มแย้มในมือถือแซนวิช ถ้าสังเกตต่อไปอีก นายแบบ-นางแบบมีอยู่หลากหลายวัย หลากหลายเพศ และหลากหลายเชื้อชาติ…มีคนทั้งคนดำ / คนเอเชีย / ชาวอเมริกันพื้นเมือง / เม็กซิกัน / ละตินอเมริกัน มีแทบทุกเชื้อชาติยกเว้น…ฝรั่งผิวขาว

โฆษณานี้น่าสนใจตรงที่ว่า ในยุคนั้น โฆษณาแทบจะ 100% ล้วนใช้ฝรั่งผิวขาว ผมบลอนด์ ตาสีฟ้า ฟันเรียงสวย รูปร่างดี เป็นนายแบบ-นางแบบทั้งหมดให้กับแบรนด์ ทุกอย่างดูดีไปเสียหมด ดีเกินไปจนไม่สอดคล้องกับความจริง

แต่ Levy’s ซึ่งเป็นแบรนด์เบเกอรี่แห่งหนึ่งในย่าน Brooklyn ที่ทำขนมปังไรย์ (Rye Bread) 

ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะพื้นที่โฆษณาซึ่งคือ “New York” เมืองนี้ไม่มีชาวต่างชาติ เพราะมีคนอยู่ทุกชาติบนโลกนี้มารวมกันอยู่ที่นี่ และโฆษณาโดยมีจุดประสงค์คือหาฐานลูกค้าใหม่ทั้งหมด เพราะชาวยิวจริงๆ จะกินขนมปังไรย์ (Rye Bread) แบบทำสดเท่านั้น (ของ Levy’s เป็นแบบอุตสาหกรรม)

เพื่อความแตกต่างจากขนบธรรมเนียมเดิมๆ Levy’s รู้ว่ากลุ่มลูกค้าอื่นใน New York นอกจากชาวยิว…ไม่ใช่ฝรั่งผิวขาว แต่คือคนดำ / คนจีน / ญี่ปุ่น / ชาวอเมริกันพื้นเมือง / อิตาเลี่ยน / ไอริช / ลาตินอเมริกัน ฯลฯ ซึ่งเป็นฐานลูกค้าที่ใหญ่มาก

โฆษณานี้ทำให้ ยอดขายขนมปังไรย์ Levy’s ขายดีที่สุดในเมือง และปูทางไปสู่ยอดขายอันดับ 1 ของทั้งรัฐ…ก่อนจะขายดีที่สุดทั้งประเทศในเวลาต่อมา!

5. ชุดสูทที่ใส่ได้ทุกโอกาส ทำได้ทุกกิจกรรม

บางครั้งเมื่อเรามีสูทคุณภาพดีเยี่ยม แทนที่จะป่าวประกาศแบบโฆษณาทั่วไปว่าสูทของเราดีอย่างโน้น-ดีอย่างนี้…เราใส่ให้ผู้บริโภค “เห็นภาพ” ไปเลยดีกว่าว่าเป็นอย่างไร

และนี่คือสิ่งคุณ Nobutaka Sada ประธานบริษัท Order Suit SADA Co. ที่ตั้งอยู่ในซัปโปโร “เล่นจริง-เจ็บจริง” ให้ผู้ชมเห็นกับตามาแล้ว

เพื่อพิสูจน์ว่า “สูท SADA” ทนทานต่อทุกสภาพ สามารถสวมใส่ได้ทุกโอกาส และทำได้ทุกกิจกรรม(จริงๆ) เขาไม่พูดมากเพราะเจ็บคอ แต่ใส่สูทและเดินออกไปข้างนอกแสดงให้เห็นด้วยตัวเองเลย ไม่ว่าจะ

  • เดินท่ามกลางหิมะที่ร่วงโรย…ขณะสวมใส่สูท SADA
  • ตะเกียกตะกายปีนเขาสูง 3,000 ม.…ขณะสวมใส่สูท SADA
  • โชว์ตกปลา…ขณะสวมใส่สูท SADA
  • โต้คลื่นกลางทะเล…ขณะสวมใส่สูท SADA
  • เล่นสกีผาดโผน…ขณะสวมใส่สูท SADA

กลยุทธ์ของคุณซาดะไม่มีอะไรซับซ้อนเลย เพียงแค่ทำตามสิ่งที่ป่าวประกาศ โดยการใส่สูท SADA ออกไปทำทุกกิจกรรม ภาพอันผาดโผนของเขาที่อยู่ในชุดสูท SADA ถูกพูดถึงอย่างมากในโลกโซเชียลมีเดีย จนมีสื่อใหญ่ๆ ต่างทยอยขอมาทำข่าวกับเขา ทำให้ชื่อเสียงสูท SADA เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก โดยไม่ต้องใช้เงินโฆษณาเลยด้วยซ้ำ 

สำหรับคนที่ยังไม่รู้ว่าจะหางานอะไรดี ลองทำความรู้จักตัวเองให้มากขึ้นได้ที่ >>> www.careervisaassessment.com

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…คุณพร้อมมีความสุขกับการทำงานในทุกๆ วันแล้วหรือยัง? >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 80