Wine Manners : ปิดดีลกับลูกค้าด้วยการดื่มไวน์

wine
เรารู้กันดีว่า หลายครั้งดีลธุรกิจไม่ได้ถูกพูดคุยกันในห้องประชุมที่รายล้อมไปด้วยเหล่าผู้บริหารสุดเครียด แต่ถูกพูดคุยและปิดดีลกันในบรรยากาศสบายๆ บนโต๊ะอาหารยามดินเนอร์ ซึ่งมักมีธรรมเนียมการดื่ม “ไวน์” รวมอยู่ด้วย

ในระดับสากล การรู้ธรรมเนียมไวน์เป็นการสร้าง First Impression ที่ดี เสริมให้เรามีบุคลิกภาพ มีมารยาททางสังคม ดูเป็นคนเอาใจใส่ และที่สำคัญ…ดูมีคลาส ทั้งหมดนี้พลอยทำให้ภาพลักษณ์องค์กรคุณดีไปด้วยในตัว (สถานะเราก็คือตัวแทนองค์กรคนหนึ่ง)

โดยเฉพาะธุรกิจที่อยู่ในวงการแฟชั่นหรือวงการหรูหราชั้นสูงที่ต้องพบปะกับลูกค้ากลุ่ม Elites เป็นประจำ เรื่องมารยาทการดื่มไวน์ถือเป็นสิ่งที่ต้อง “เป็นงาน”

ถ้าว่ากันตามตรง ไวน์ยังเป็นตัว “ละลายพฤติกรรม” ได้ดี ทั้งคุณและลูกค้าอาจคุยกันแบบเปิดอกตรงไปตรงมามากขึ้น: Pain Point ที่เจอคืออะไร / ไม่ชอบตรงไหน / ต้องการ % เพิ่มเท่าไร 

การเข้าใจมารยาทสิ่งละอันพันละน้อยของไวน์จึงเป็นทักษะที่เราควรรู้เพื่อการทำงานที่ราบรื่น

Wine & Dine

หนึ่งในพิธีรีตองที่สืบสานกันมาเป็นเวลานับร้อยปี และปัจจุบันก็ยังใช้กันเป็นมาตรฐานในทุกร้านก็ว่าได้ นั่นคือการ “ทดสอบรสชาติ” (Wine Tasting Ritual) ก่อนดื่ม ขั้นตอนเป็นแบบนี้

  • ถ้าคุณเป็นคนสั่งไวน์ พนักงานจะเดินหยิบขวดไวน์มาให้คุณตรวจสอบว่าถูกต้องหรือไม่
  • จากนั้นจะรินไวน์ปริมาณนิดเดียวเพื่อให้คุณ “ชิม”
  • คุณหันไปขอบคุณพนักงานเล็กน้อย ก่อนหยิบแก้วไวน์ขึ้นมา
  • คุณจะตรวจสอบ “สี” ของไวน์ “หมุน” แก้ว 4-5 รอบ ก่อนจะ “ดม” กลิ่นโน๊ตของไวน์ที่ปล่อยออกมา
  • และทำการ “จิบ” ทีนึง พร้อมทำเสียง “ซิบๆ”
  • ก่อนจะหันไปตอบพนักงานว่า OK
  • จากนั้นพนักงานจะรินให้แขกคนอื่นก่อน โดยรินให้คุณเป็นคนสดท้าย

อันที่จริงแล้วการถามลักษณะนี้ เป็นเพียง “ธรรมเนียมปฏิบัติ” ที่ทำกันในสากลเท่านั้น น้อยครั้งมากที่ลูกค้าผู้ชิมจะ “ปฏิเสธ” ต่อหน้าต่อตา (นอกจากไวน์จะเสียจริงๆ…ซึ่งโอกาสเกิดขึ้นยากมากๆ)

ปกติตามร้านอาหารจะมีพนักงานคอยเสิร์ฟรินแบบนี้ให้เรา แต่กรณีถ้าไวน์เหลือและต้องการรินเพื่ม แต่ร้านคนยุ่งมากหาตัวพนักงานจับยาก เราอาจลงมือเป็นคนรินเองเพื่อไม่ให้เสียเวลา

มารยาทข้อแรกคือ “Lady First” รินให้สุภาพสตรีก่อนเป็นลำดับแรก จากนั้นให้รินทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ให้ “ข้าม” แก้วตัวเองไปก่อน แก้วของตัวเองจะเป็นแก้วสุดท้ายที่ถูกริน

นอกจากนี้ ให้จับขวดไวน์ที่บริเวณฐานด้านล่าง โดยขณะรินต้องหัน “ฉลากขวดไวน์” เข้าหาหน้าแขกเพื่อให้เห็นได้ง่าย

แต่กรณีเป็นร้านอาหารหรูแบบทางการ เช่น Fine Dining ขั้นตอนนี้ขอให้ปล่อยเป็นหน้าที่ของ Sommelier หรือผู้เชี่ยวชาญด้านไวน์ที่จะมีบริการแบบมืออาชีพ เป็นคนคอยเทคแคร์ลูกค้าทุกอย่างให้เอง

มารยาทเรื่องไวน์ยังมีศิลปะที่น่าสนใจอีกเพียบ อาทิเช่น

เวลาจับแก้ว ให้จับที่ “ขาแก้ว” อย่าจับที่ตัวแก้วเพราะอุณหภูมิที่มือของเราอาจทำให้ไวน์เสียรสชาติดั้งเดิมไป นิ้วโป้งและนิ้วชี้หนีบจับที่ขาแก้วจะทำให้เราดูดีขึ้นแบบสุดๆ

และเมื่อการชนแก้วมาถึง ให้ชนที่ “โถแก้ว” ซึ่งลดโอกาสการแตกและให้เสียงอันไพเราะก้องกังวาน 

ถ้าเป็นลูกค้าชาวเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น-เกาหลี ให้เราดื่มตามหลังลูกค้าเล็กน้อยซัก 1-2 วินาที (อย่าดื่มตัดหน้า) ซึ่งเป็นมารยาทการกินดื่มของคนชาตินี้นั่นเอง หากต้องการเอาใจลูกค้าเป็นพิเศษ ตอนชนแก้วอาจพูดเป็นภาษาประจำชาติของลูกค้าได้เช่นกัน 

  • ญี่ปุ่น = คัมไป
  • จีน = กันเปย์ (หมดแก้ว)
  • ฝรั่งเศส = ซองเต้ (Santé หรือ แด่สุขภาพของคุณ)
  • อิตาลี = ซา-ลู้ท-เต้ (Salute หรือ แด่สุขภาพ)

อย่างไรก็ตาม เดี๋ยวนี้ในทางสากลไม่ว่าชาติไหนๆ ก็สามารถใช้คำว่า “Cheers” ได้เป็นปกติ

คอยสังเกตว่าลูกค้า “ถนัด” มือข้างไหน ถ้าถนัดข้างขวาก็รินและเสิร์ฟให้ฝั่งขวา ถ้าข้างซ้ายก็รินและเสิร์ฟให้ฝั่งซ้าย การใสใจรายละเอียดเล็กน้อยนี้ช่วยสร้างความประทับใจได้ไม่น้อย

สำหรับปริมาณไวน์ที่ริน อธิบายอย่างง่ายได้ว่า

ไวน์ขาว รินประมาณ 50% ของแก้ว

ไวน์แดง รินประมาณ 25% ของแก้วพอ เพื่อให้อากาศเข้าถึงไวน์ เสริมรสชาติได้ดี (จำง่ายๆ ไวน์แดง < ไวน์ขาว)

อย่ารอให้แขกดื่มไวน์จนเกลี้ยงหมดแก้ว ให้เราคอยรินเพิ่มอยู่เรื่อยๆ ไม่ทำให้ประสบการณ์การดื่มของเค้า “สะดุด” เป็นอันขาด (นอกจากแขกจะเป็นฝ่ายบอกให้หยุดเอง)

ท้ายที่สุด เราต้อง “รู้ลิมิตตัวเอง” ไม่ได้ดื่มเอาเมา แต่ดื่มเพื่อคุยงานอย่างสร้างสรรค์และกระชับความสัมพันธ์ การเผลอดื่มเยอะจนเกินลิมิต อาจทำให้เราเผลอพูดอะไรบางอย่างออกไปจนข้อมูลความลับของบริษัทรั่วไหล

Wine & Life

มาถึงจุดนี้เราจะเห็นแล้วว่า ไวน์เป็นทั้งศิลปะ-เป็นศาสตร์-เป็นวัฒนธรรมอันละเมียดละไม ไม่แปลกเลยเมื่อมีมือใหม่เข้าวงการไวน์แล้วบอกว่า หลังจากนั้นไม่นาน มันหล่อหลอมให้เค้ามีนิสัย ”พิถีพิถัน” อ่อนช้อยขึ้น ส่งผลกระทบต่อด้านอื่นๆ ทั้งการงานและชีวิตส่วนตัว

ไวน์ยังเป็นตัวกลางชั้นดีในการสร้าง Connection กับผู้อื่น มอบเวลาพิเศษให้แก่ผู้ร่วมรับประทานบนโต๊ะอาหาร

มารยาทการดื่มไวน์ที่กล่าวไป ยังใช้ได้กับเหล่าเพื่อนร่วมงานของเรา เป็นตัวกลางชั้นดีในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในองค์กร

.

.

ครั้งหน้าที่คุณไปดินเนอร์กับลูกค้า ลองนำมารยาทการดื่มไวน์เหล่านี้ไปใช้ดูสิ อาจสร้างความประทับใจให้แก่กัน จนนำไปสู่การปิดดีลสำคัญได้เลย!

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

วิธีประเมินหัวหน้า
วิธีประเมินหัวหน้าอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาทั้งทีมและองค์กร
ในช่วงการประเมินผลการทำงานประจำปี นอกจากพนักงานจะถูกประเมินโดยหัวหน้าแล้ว หลายองค์กรยังเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถประเมินการทำงานของหัวหน้าตนเองได้อีกด้วย...
6 นิสัยสำคัญ
6 นิสัยสำคัญที่จะทำให้ปี 2025 เป็นปีที่ดีที่สุดของคุณ โดย Ali Abdal
ถ้าคุณกำลังมองหาวิธีพัฒนาตัวเองให้ชีวิตดีขึ้นในปี 2025 ลองมาดู 6 นิสัยสำคัญ ที่ Ali Abdal ผู้เชี่ยวชาญด้าน Productivity และเจ้าของช่อง YouTube ชื่อดังแนะนำไว้...
ลาพักร้อน
ก่อน "ลาพักร้อน" ต้องรู้ ! วิธีจัดการงานและตัวเองให้หยุดยาวอย่างสบายใจ 
ลาพักร้อนนี่แหละความสุขของพนักงานคงมีหลายคนที่ทำงานมาตลอดปี และอดทนรอเวลาที่จะได้ใช้วันลาของตัวเองเพื่อไปพักร้อนยาวๆ สัก 1 ทริป บอกเลยว่าการ “ลาพักร้อน”...