สัมภาษณ์งานตั้งหลายคน จะรู้ได้อย่างไรว่าใครคือ “คนที่ใช่”

โลกของการทำงานกำลังหมุนเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทักษะที่เคยเพียงพอในอดีตอาจไม่เพียงพออีกต่อไปในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกวงการ บริษัทจึงต้องการบุคลากรหรือพนักงานที่มีมากกว่าแค่ความรู้ความสามารถเฉพาะทาง แต่ยังต้องมีความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

10 สัญญาณสัมภาษณ์งาน บ่งบอกว่าผู้สมัครคนนี้คือ “คนที่ใช่”

โลกของการทำงานกำลังหมุนเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทักษะที่เคยเพียงพอในอดีตอาจไม่เพียงพออีกต่อไปในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกวงการ บริษัทจึงต้องการบุคลากรหรือพนักงานที่มีมากกว่าแค่ความรู้ความสามารถเฉพาะทาง แต่ยังต้องมีความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

นอกจากทักษะเฉพาะทางที่ตรงกับตำแหน่งงานแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่บ่งบอกว่าผู้สมัครคนหนึ่งมีความเหมาะสมกับบริษัทหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นทัศนคติ ความคิดสร้างสรรค์ หรือความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของทั้งตัวบุคคลและบริษัท 

วันนี้ CareerVisa จะมานำเสนอสัญญาณที่บ่งบอกว่า HR ควรจะรับผู้สมัครคนนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีม หรือไม่ มาลองดูกัน

เข้าใจบริษัทและตำแหน่งงานเป็นอย่างดี

หากผู้สมัครงานสามารถตอบคำถามงานได้อย่างฉะฉาน มีความมั่นใจและเข้าใจในตัวบริษัทกับตำแหน่งงานเป็นอย่างดี อาจจะสามารถแสดงได้ว่าผู้สมัครนี้มีความสนใจในตัวงาน และเตรียมตัวในการสัมภาษณ์มาอย่างเพียบพร้อม และถ้าหากผู้สมัครถามคำถามกลับได้อย่างชาญฉลาดก็จะแสดงให้เห็นถึงความกระตือรือร้นและอยากเติบโตในบริษัท

มีทักษะการสื่อสารที่ดี

สามารถสื่อสารได้อย่างชัดเจน ตอบคำถามได้อย่างฉะฉานและตรงประเด็น นอกจากสื่อสารออกมาได้ดีแล้ว ยังต้องเป็นผู้ฟังที่ดี มีสมาธิในการฟังผู้สัมภาษณ์และเก็บใจความของคำถามได้เป็นอย่างดี

มีทัศนคติเชิงบวกและกระตือรือร้น

สามารถแสดงความมั่นใจออกมาได้จากการตอบคำถาม การวางตัว การแสดงออกทางกายและใบหน้า นอกจากนี้แล้วการแสดงความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ก็สามารถสร้างความปะรทับใจได้อย่างมากเลยทีเดียว

มีความคิดสร้างสรรค์สามารถริเริ่มอะไรด้วยตัวเองได้

สามารถนำเสนอไอเดียใหม่ ๆ ได้อย่างมั่นใจ มีความสร้างสรรค์และมีความไม่เหมือนใคร ซึ่งการเสนอเหล่านั้นต้องสามารถช่วยเหลือบริษัทได้ ตรงประเด็นหรือตรงกับหัวข้อของคำถาม นอกจากนั้นผู้สมัครควรแสดงให้เห็นถึงความกระตือรือร้นในการเติบโตและรับฟังข้อแนะนำ

มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น

ไม่ปิดกั้นตัวเองกับการทำงานร่วมกับคนอื่นเป็นทีม หรือการทำงานร่วมกับทีมอื่น ๆ อีกทั้งผู้สมัครที่ดียังต้องแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบในการทำงาน มีทัศนคติที่ดีกับการทำงานร่วมกับทีม

มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวได้ดี

สามารถรับกับการเปลี่ยนแปลงได้ ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ มีความคิดที่จะพัฒนาตัวเองให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งต้องสามารถเรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเอง ไม่จมอยู่กับมันและคิดลบกับมันมากจนเกินไป

มีความสนใจในบริษัทและวัฒนธรรมองค์กร

แสดงความเข้าใจและความสนใจในค่านิยมองค์กร แสดงความกระตือรือร้นที่จะปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง และมีความกระตือรือร้นในการอยากเข้าร่วมทีมกับทางบริษัท

มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง

หากมีประสบการณ์ตรงที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่สมัคร ผู้สมัครคนนี้ก็จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ หรือถ้าไม่ได้ทำงานตามสายงานนี้มา หากมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องและสามารถอธิบายทักษะที่นำมาประยุกต์ใช้ได้เป็นอย่างดี ก็เป็นสิ่งที่บริษัทต้องการเช่นกัน

แสดงความสนใจในผลงานของบริษัท

ศึกษาและหาข้อมูลว่าบริษัททำอะไรมาบ้าง และสามารถอธิบายรายละเอียดออกมาได้ ถือว่าเป็นการแสดงออกว่าผู้สมัครมีความสนใจในบริษัท อีกทั้งผู้สมัครที่ดีควรให้ความคิดเห็นในผลงานบริษัทได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล เป็นความคิดเห็นที่ดีต่อการที่บริษัทจะนำไปพัฒนาผลงานต่อไป

แสดงความมั่นใจในตัวเอง

สำคัญที่สุดคือความมั่นใจของผู้สมัคร การตอบอย่างฉะฉาน การมีบุคลิกที่มั่นใจ ดูมั่นคง จะแสดงให้เห็นว่าผู้สมัครเตรียมตัวมาสัมภาษณ์งานเป็นอย่างดี มีความสนใจและกระตือรือร้นในการเข้าร่วมทำงานกับทางบริษัท

อย่างไรก็ตามการสัมภาษณ์งานอาจจะไม่ใช่ทั้งหมดที่บริษัทนำมาตัดสินว่าผู้สมัครคนนี้ดีหรือไม่ดี เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน เพราะฉะนั้นอย่าลืมที่จะลองหาบททดสอบ เช่น การทำ Test วัดทักษะเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เป็นต้น หรือบทสอบอื่น ๆ ที่จะทำให้ได้รู้จักผู้สมัครมากยิ่งขึ้น การมีอะไรเพิ่มเติมจากการสัมภาษณ์เหล่านี้ ก็อาจจะทำให้บริษัทตัดสินใจเลือกผู้สมัครที่เหมาะสมได้ง่ายขึ้น 

 

รวมไปจนถึงการอ้างอิงจากคนที่เคยทำงานร่วมกับผู้สมัครคนนั้น ๆ ก็จะทำให้บริษัทรู้จักผู้สมัครได้มากขึ้น อีกทั้งยังได้รับฟีดแบ็กจากคนที่เคยทำงานร่วมกับผู้สมัครมาโดยตรงอีกด้วย

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

สื่อสารในงาน HR
4 เทคนิคแค่ปรับวิธีการ "สื่อสารในงาน HR" ก็สำเร็จได้มากกว่าเดิม
ในหลาย ๆ ตอนที่ผ่านมา จากการที่ได้ศึกษาเรื่องกลยุทธ์ ระบบ โครงสร้าง หรือเทคโนโลยีในงานบุคคลอย่างต่อเนื่อง ในบทความนี้จะขอพูดถึงจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญไม่แพ้กัน...
463530318_1022896112967358_2588988375219884352_n
5 ขั้นตอนสร้างแบรนด์องค์กรให้เป็นที่ต้องการของคนเก่ง: คู่มือสู่การเป็นนายจ้างในฝัน
การสร้างแบรนด์ “นายจ้าง” เชิงกลยุทธ์จะช่วยให้องค์กรเห็นภาพ ‘คนที่ใช่’ ที่องค์กรอยากให้มาร่วมงานด้วย เข้าใจการใช้ชีวิต แรงจูงใจ และเป้าหมายทางอาชีพของคนกลุ่มนั้นมากเพียงพอจนสามารถเขียน...
HR Tech
ข้อดีและข้อควรระวังของ HR Tech: เปลี่ยนงานทรัพยากรบุคคลสู่ดิจิทัลเต็มรูปแบบ
การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลในงานทรัพยากรบุคคลคุณเห็นด้วยหรือไม่ว่า งานทรัพยากรบุคคลกำลังจะกลายเป็นดิจิทัลเต็มรูปแบบ (HR Tech) ไม่เพียงแต่ในแง่ของการใช้งานเทคโนโลยีเท่านั้น...