กรณีศึกษา Business Transformation ล้มเพื่อลุกขึ้นบิน

Business Transformation
ขอต้อนรับสู่กรณีศึกษา Business Transformation หรือ “การปรับเปลี่ยนองค์กรครั้งใหญ่” จาก 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ในหลายวงการธุรกิจ เพราะการจะคาดเดาอนาคตได้ การเรียนรู้จากอดีต น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด…

Fujifilm

ก่อตั้งเมื่อปี 1934 Fujifilm เริ่มมาจากการเป็นผู้ผลิตกล้องฟิล์มชั้นนำซึ่งมีชื่อเสียงไปทั่วโลกเคียงคู่กับ Kodak แบรนด์ผู้ผลิตกล้องฟิล์มสัญชาติอเมริกัน ทั้งคู่คือผู้นำตลาดที่ครองบัลลังก์มาเนิ่นนาน แต่แล้วในปี 2000 อินเตอร์เน็ตและการเติบโตอย่างรวดเร็วของกล้องดิจิตอลเริ่มสั่นสะเทือนธุรกิจหลักของ Fujifilm และแล้วก็มาถึงปี 2007 ปีเปิดตัว iPhone นวัตกรรมที่ต่อมาจะเปลี่ยนพฤติกรรมคนทั้งโลก รวมถึงธุรกิจหลักของบริษัท Fujifilm เพราะมีไอโฟนก็เหมือนมีกล้องไปในตัว แถมภาพดิจิตอลชัดกว่ากล้องฟิล์มมาก ยอดขายกล้องฟิล์มถดถอยลงเรื่อยๆ ร้านล้างฟิล์มปิดตัวลงนับไม่ถ้วนทั่วโลก

แต่ Fujifilm โอบกอดการเปลี่ยนแปลง เริ่มหันมาโฟกัสที่กล้องดิจิตอล ขณะเดียวกัน ทุ่มงบ R&D เพื่อดูว่าทรัพยากรที่มีอยู่มหาศาลจะต่อยอดไปสู่ธุรกิจใหม่ๆ ได้อย่างไร ปี 2007 เดียวกันนี้ ได้กระโดดเข้าสู่ธุรกิจเครื่องสำอาง ออกแบรนด์ Astalift ครีมชะลอการเหี่ยวย่นของผิวที่ต่อยอดมาจากคอลลาเจนที่ใช้รักษาสภาพฟิล์ม ปี 2008 รุกตลาดเวชภัณฑ์และการวินิจฉัยโรคด้วยการ X-Ray ซึ่งเป็นสิ่งที่ Fujifilm มีเทคโนโลยีเป็นทุมเดิม มาถึงตรงนี้ Fujifilm ได้เดินแยกทางจาก Kodak เป็นที่เรียบร้อย ขยายต่อยอดธุรกิจไปมากมายที่ไม่ได้จำกัดแค่ฟิล์มอีกต่อไป ปัจจุบัน Fujifilm มีมูลค่าบริษัทราว 650,000 ล้านบาท ที่น่าเหลือเชื่อคือ กว่า 50% ของรายได้มาจากอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์…ไม่ใช่ธุรกิจฟิล์มถ่ายรูป ซึ่งคิดเป็นเพียง 12% (ลดลงจาก 60% สมัยยุครุ่งเรืองในปี 2000)

Danish Oil and Natural Gas  

ปี 2012 บริษัทพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเดนมาร์ก Danish Oil and Natural Gas เผชิญวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่จนทำให้ราคาน้ำมันดิ่งเหวลงกว่า 90% และถูกลดความน่าเชื่อถือจนติดลบจาก S&P บริษัทได้ว่าจ้างอดีตผู้บริหาร LEGO หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่เพื่อนร่วมชาติมากุมบังเหียน แต่แทนที่ผู้บริหารท่านนี้จะปลดพนักงานออก กลับเลือกที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความเป็นไปได้แห่งอนาคต นั่นคือ การเข้าสู่ “ธุรกิจพลังงานทางเลือก” 

นี่เป็นวิสัยทัศน์ที่ไม่ได้มาเล่นๆ ถึงขนาดเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น Ørsted บริษัทได้เปลี่ยนนโยบายการดำเนินธุรกิจใหม่ทั้งหมด โละของเก่าที่พึ่งพาน้ำมัน สู่ของใหม่ที่พึ่งพาพลังงานสะอาด ปรากฏว่าทำได้ดีมากๆ กลายเป็นหนึ่งใน First-Mover ที่ประสบความสำเร็จในตลาด สอดคล้องกับนโยบายของสหภาพยุโรป (EU) ณ ตอนนั้นที่ตั้งเป้าว่า การจัดหาพลังงานในทวีปยุโรป จะต้องมาจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ให้ได้ 20% ภายในปี 2020

Ørsted ตั้งเป้าว่าภายใน…

  • ปี 2023 ยุติการใช้พลังงานถ่านหินทั้งหมด
  • ปี 2025 จะปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ ขึ้นแท่นบริษัทแรกในโลกที่ทำได้สำเร็จ
  • ปี 2040 ขยายไปถึงซัพพลายเออร์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะต้องเป็น carbon-free

ปัจจุบัน Ørsted ขึ้นแท่นบริษัทด้านพลังงานหมุนเวียนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยมูลค่าบริษัทกว่า 2.5 ล้านล้านบาท

Nokia

และแล้วก็มาสู่กรณีศึกษาที่คลาสสิกที่สุด หลายคนอาจคิดว่าบริษัท Nokia ได้ล่มสลายไปแล้ว แต่อันที่จริงเป็นแค่ ‘ธุรกิจมือถือ’ ต่างหากที่ล่มสลาย เป็นที่ทราบกันดีว่า Nokia คือผู้นำธุรกิจมือถือมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ ความรุ่งเรืองนั้นมาสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการในปี 2007… ปีเปิดตัว iPhone มือถือ Nokia ถูกโค่นแชมป์ลงด้วยเทคโนโลยีที่เหนือกว่า และกลายเป็นประวัติศาสตร์อย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่ปี Nokia ยุติธุรกิจโทรศัพท์มือถือโดยสมบูรณ์ โดยขายธุรกิจส่วนนี้ให้กับ Microsoft ไปตั้งแต่ปี 2014 หลังจากวิกฤติ Nokia ได้ปรับผังองค์กรขนานใหญ่ 

  • ไล่พนักงานชุดเดิมออกยกชุดกว่า 99% 
  • ไล่บอร์ดบริหารชุดเดิมออก 80% 
  • เหลือผู้บริหารคนเก่าเพียงแค่ 1 คน

…และบังคับให้พนักงานทุกคนทำ แบบประเมินอาชีพ เพื่อดูว่านี่คืองานที่เขาอยากทำต่อจริงๆ หรือไม่ 🙂

คลื่นลูกใหม่ มาพร้อมไอเดียใหม่ๆ แม้มือถือ Nokia จะไปไม่ถึงฝัน แต่บริษัท Nokia ยังคงทำธุรกิจในวงโคจรอุตสาหกรรมโทรคมนาคมนี้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นโครงข่ายโทรคมนาคม ที่ครองสัดส่วนตลาดราว 25% เป็นเบอร์ 3 ของโลก (รองแค่ Huawei และ Ericsson) และ NASA ยังได้ว่าจ้าง Nokia ให้เป็นผู้วางเครือข่าย 4G LTE เป็นครั้งแรกบน ‘ดวงจันทร์’

Nokia ยังได้พัฒนาระบบ AI ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไร้คนขับ เทคโนโลยีอวกาศ หรือ Internet of Things ซึ่งรวมแล้วมีสิทธิบัตรด้านนี้อยู่เกือบ 2,000 ใบ นอกจากนี้ยังมีสิทธิบัตรเกี่ยวกับ 5G มากถึง 3,000 ใบ เพียงพอที่จะสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้บริษัทในอนาคตต่อไปได้ ปัจจุบัน Nokia ยังคงเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในประเทศฟินแลนด์ ที่ประมาณ 22,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เราจะเห็นว่า Business Transformation ต้องอาศัยความกล้าและวิสัยทัศน์ที่จะเปลี่ยนองค์กรจากหน้ามือเป็นหลังมือ ระหว่างทางมักหมายถึงการบอกลาคนเก่าและต้อนรับคนใหม่

เมื่อล้ม ก็ลุกขึ้นยืน และพร้อมโบยบินใหม่.. 

มาทำ “แบบประเมินอาชีพ” ฟรีกับ CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ ได้ที่ >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/


อ้างอิง

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง