Framing กรอบความคิดในกะลาที่ขังตัวเอง

Framing
"ถ้าคุณถูกบอกว่ามีโอกาสรอด 90% คุณจะรู้สึกต่างจากการบอกว่ามีโอกาสตาย 10% หรือไม่?" แม้ทั้งสองคำกล่าวจะมีความหมายเดียวกัน แต่การจัดกรอบที่แตกต่างกันสามารถเปลี่ยนแปลงการรับรู้และการตัดสินใจของคนได้อย่างสิ้นเชิง

Framing คืออะไร ?

Framing” หรือ “การตีกรอบความคิด” คือแนวคิดทางจิตวิทยาและการสื่อสารที่กล่าวถึงวิธีที่ข้อมูลหรือปัญหาถูกนำเสนอและทำให้เกิดการตีความในมุมมองที่ต่างกัน โดยกรอบหรือมุมมองนั้นจะกำหนดวิธีที่เรามองเห็นและเข้าใจสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง เช่น ถ้าหากปัญหาถูก “จัดกรอบ” ให้เน้นความเสี่ยง คนอาจจะตอบสนองแตกต่างจากกรอบที่เน้นผลประโยชน์หรือโอกาส

  • เนื้อไม่มีไขมัน 75% VS. เนื้อมีไขมัน 25%
  • ได้ที่ 2 รองชนะเลิศ VS. อดได้แชมป์ 

นี่คือตัวอย่างของ Framing หรือ “การตีกรอบความคิด” เป็นจิตวิทยาหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อมุมมองและความคิดของเราในทุกเรื่อง ซึ่งเราทุกคนล้วนตกอยู่ภายใต้กฎ Framing ไม่เรื่องใดก็เรื่องหนึ่ง ไม่เว้นแม้แต่ CEO / ศาสตราจารย์ / ผู้เชี่ยวชาญ

การตีกรอบความคิด เป็นได้หลายรูปแบบมากๆ เช่น…

คำนิยาม 

  • ห้องคอนโดสมัยใหม่ VS. พื้นที่ในการสร้างครอบครัว
  • ห้องทำงาน VS. ห้องสร้างสรรค์ผลงาน
  • ชงกาแฟดริป VS. ศิลปะแห่งความพิถีพิถัน
Framing

คำพูด

  • คุณรู้สึกอย่างไรกับสินค้านี้? (เป็นกลาง)
  • คุณชอบสินค้านี้อย่างไร? (โฟกัสด้านบวก)
  • Deadline เย็นนี้แล้ว ทำไมโปรเจ็คท์ยังไม่เสร็จอีก?!! (พนง.อาจหาข้ออ้าง)
  • รีบทำโปรเจ็คท์ให้เสร็จซะ Deadline เย็นนี้แล้ว! (พนง.รีบปั่นงานให้เสร็จ)

ไม่สำคัญว่าคุณจะพูดอะไร…สำคัญว่าคุณพูด “อย่างไร” เรื่องเดียวกัน แต่เราตอบสนอง-คิด แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าได้รับสารแบบไหน

ตัวเลข

มีผลการทดลองในเนื้อ 2 แบบระหว่าง 99% fat-free VS. 1% fat นักวิจัยถามผู้ทดลองว่า…คิดว่าแบบไหน ‘ดีต่อสุขภาพ’ กว่า?  ผู้ทดลองส่วนใหญ่เลือกแบบแรก…ทั้งๆ ที่ทั้งคู่เหมือนกัน! ที่แล้วกันใหญ่กันคือ…

มีการเปลี่ยนเป็น 98% fat-free VS. 1% fat คนส่วนใหญ่ก็ยังคงเลือกแบบแรกอยู่ดี…ทั้งๆ ที่ไขมันมากกว่า! เพราะข้อความแรกตีกรอบความคิดให้โฟกัสที่ “fat-free” ปราศจากไขมัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ ขณะที่ข้อความสองโฟกัสที่ “fat” ไขมัน ซึ่งมีภาพลักษณ์แง่ลบ

การตีกรอบความคิดไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวแต่อย่างใด อันที่จริง เป็นหน้าที่ของผู้บริหาร-ผู้นำองค์กร ที่จะต้องตีกรอบความคิดให้พนักงานตัวเองด้วยซ้ำ ในการโน้มน้าว / มอบวิสัยทัศน์ / สร้างแรงบันดาลใจ หัดมอง “วิกฤติปัญหา” ให้เป็น “โอกาสในการลองทำสิ่งใหม่ๆ” มอง “การมาทำงานในแต่ละวัน” เป็น “สร้างคุณค่าให้ตัวเองในทุกวัน”

คุณ Rolf Dobelli ผู้เขียนหนังสือขายดีอย่าง The Art of Thinking Clearly เสริมว่า การตีกรอบยังถูกพลิกมาใช้เป็นด้านบวกกับตัวเราได้ด้วย (Positive Framing)

  • งดกินไขมัน ประหยัดเวลาวิ่งลงได้ 30 นาที
  • ใส่แมสก์ เพิ่มความเป็นส่วนตัวในที่สาธารณะ

แต่ทั้งนี้ Positive Framing ต้องตั้งอยู่บนรากฐานของความเป็นจริง ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นการ “เลี่ยงบาลี” (Glossing) ดังที่เราเห็นจาก “น้ำท่วม” ถูกบิดคำเป็น “น้ำรอระบาย”..


ถ้าชอบบทความแบบนี้ อย่าลืมกดไลค์-กดแชร์ และ…กดคลิกเข้าไปสำรวจ “แบบประเมินอาชีพฟรี” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอนาคตในฝัน ได้ที่ >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

อ้างอิง

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง