เลือกจดโน้ตให้มีประสิทธิภาพ ด้วย The Medium Method

จดโน้ต
สำหรับใครที่อยากจดโน้ตให้มีประสิทธิภาพแต่ไม่รู้จะเริ่มจากอะไร มีให้เลือกเต็มไปหมด วันนี้ CareerVisa ขอเสนอ “The Medium Method” หลักการเลือก อุปกรณ์จดโน้ตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

จด Note ในแอป แต่ปวดตาอยากจดด้วยสมุด จด Note ในสมุด แต่ก็อยากให้เชื่อมกับ Calendar ใช้แอปนู้น แอปนี้เต็มไปหมด สรุปว่าควรจด Note ที่ไหนบ้างดี?

สำหรับใครที่อยากจดโน้ตให้มีประสิทธิภาพแต่ไม่รู้จะเริ่มจากอะไร มีให้เลือกเต็มไปหมด

วันนี้ CareerVisa ขอเสนอ “The Medium Method” หลักการเลือก อุปกรณ์จดโน้ตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจข้อดีของโน้ตแต่ละประเภทกันก่อน ว่ามีจุดเด่นที่แตกต่างกันอย่างไร

 

✍️จดด้วยกระดาษ (Real Note)

-เร็ว สะดวก

-โฟกัสได้ง่าย

-เหมาะกับการเรียนรู้

-ดีต่อสายตามากกว่าจอ


📱จดด้วย Digital (Digital Notes)
-มี Backup
-ใช้ได้ทุกที่

-จัดระเบียบได้ง่าย

-แจ้งเตือนอัตโนมัติ

-ง่ายในการค้นหา

-แชร์ต่อได้ง่าย


เมื่อเข้าใจข้อดีของ Note ทั้งสองแบบแล้ว เราค่อยมาเลือกใช้งานให้เหมาะสมผ่านเครื่องมือเท่าที่จำเป็น

 

โดยอุปกรณ์ที่แนะนำนั่นคือ

Real Note = สมุด x 1 + Post-it x 1 + ปากกา x 1

Digital Notes = Task Manager + Note App + Calendar App

มีทั้งหมด แค่ 6 อย่างนี้ก็ใช้งานร่วมกันได้ครอบคลุมแล้ว

มีขั้นตอนการใช้งานร่วมกัน ดังนี้


Real Notes สมุด ปากกา โพสต์อิท 

👉ใช้เพื่อจดไอเดียอย่างรวดเร็ว โน้ตสั้นๆ ประจำวัน 

👉เขียน Checklist ที่ต้องการโฟกัสตรงหน้าให้เสร็จในวันนั้น หรือ ในชั่วโมงนั้นๆ

 

 

Digital Notes

👉Note App ใช้งานคล้ายสมุดจดไอเดียที่ผุดขึ้นมาในหัว หรือ Quick Note

👉Task Manager ใช้จัดการภาพรวมของงานทีต้องทำและวางแผนงานล่วงหน้าประจำสัปดาห์
👉Calendar App ใช้เพื่อนัดหมายกับผู้อื่น เชื่อมโยงให้เห็นคิวเห็นตาราง

 

อ้างอิง : https://todoist.com/productivity-methods/medium-method

 

 

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง