จะเป็น Tech Lead ให้ดี ควรมีคุณสมบัติอย่างไร

การเป็น Tech Lead ที่เก่ง จะต้องมีการพัฒนาหลากหลายทักษะ ทั้ง Hard Skills และ Soft Skills ไม่ว่าจะเป็น ทักษะการเขียนโปรแกรม การพัฒนาระบบ ไปจนถึงทักษะความเป็นผู้นำและการสื่อสาร เป็นต้น มาลองดูกันว่าถ้าหากเราต้องการเป็น Tech Lead ที่เก่งและดี เราควรมีคุณสมบัติและพัฒนาตัวเองไปในทางไหนบ้าง

Tech Lead คือตำแหน่งงานของคนที่ต้องเป็นผู้นำดูแล Tech Team ของบริษัท ส่วนใหญ่แล้วจะเติบโตมาจากการทำงานสาย Developer หรือ Engineer มาก่อน เป็นคนที่มีประสบการณ์ด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์มาแล้วมากกว่า 5-6 ปี หรือมีความสามารถที่พร้อมที่จะทำงานและนำทีมไปพร้อม ๆ กัน

 

หน้าที่ของ Tech Lead คือต้องเป็นคนจัดการทีม วางแผนแจกจ่ายงานให้กับคนในทีม อีกทั้งยังต้องเป็นคนวางเป้าหมายการทำงาน และสื่อสารให้กับคนในทีมรู้เรื่อง รวมถึงต้องเข้าใจเทคนิกการทำงานเป็นอย่างดี เพื่อที่จะได้สามารถตรวจงานและเช็กความเรียบร้อยทุกอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ซึ่งการเป็น Tech Lead ที่เก่ง จะต้องมีการพัฒนาหลากหลายทักษะ ทั้ง Hard Skills และ Soft Skills ไม่ว่าจะเป็น ทักษะการเขียนโปรแกรม การพัฒนาระบบ ไปจนถึงทักษะความเป็นผู้นำและการสื่อสาร เป็นต้น มาลองดูกันว่าถ้าหากเราต้องการเป็น Tech Lead ที่เก่งและดี เราควรมีคุณสมบัติและพัฒนาตัวเองไปในทางไหนบ้าง

Adaptability

การปรับตัวได้เก่ง เป็นทักษะและ Trait ที่สำคัญในการเป็น Tech Lead เพราะว่าโลกของ Software Development มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามการพัฒนาของสิ่งรอบตัว เราจึงต้องปรับตัวและตามมันให้ทัน

Resilience

ความยืดหยุ่นต่อความท้าทายถือเป็นเรื่องที่ต้องมี เนื่องจากความท้าทายของงานเกิดขึ้นได้ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นจุดบกพร่องหรือความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เราต้องยืดหยุ่นและรับมือกับมัน พร้อมที่จะปรับแนวทางการทำงานให้เหมาะสมอยู่อย่างสม่ำเสมอ

High EQ

การเป็น Tech Lead เราไม่ได้ทำงานกับตัวเองอย่างเดียว แต่ต้องทำงานร่วมกับทีม หรือคนต่างทีมเพื่อทำให้ชิ้นงานเสร็จสมบูรณ์ ความสามารถทางด้านการจัดการอารมณ์และความฉลาดทางอารมณ์จึงถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องมีอย่างยิ่ง เพื่อทำให้รับมือกับการทำงานร่วมกับผู้อื่นและสามารถนำทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Learner Mentality

มี Mindset ที่ชอบเรียนรู้ มีความอยากรู้อยากเห็นที่จะพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้นเรื่อย ๆ ในสายงานที่ตัวเองทำอยู่ เพราะโลกแห่งการเป็นนักพัฒนาระบบนี้มีการแข่งขันที่สูง ใครที่มีความรู้มากกว่า รู้กว้างกว่า ย่อมได้เปรียบและทำให้คนรอบตัวอยากทำงานด้วย

Big Picture Focus

มองภาพรวมให้แตก มองภาพใหญ่ให้ออก เมื่อเราทำงานคนเดียวเราสามารถโฟกัสการทำงานไปทีละจุดทีละอย่างได้ก็จริง แต่ว่าในบทบาทของผู้นำหรือ Lead แล้ว เราควรจะต้องเข้าใจภาพรวมของงาน สามารถ Catch up งานได้หมดไม่ว่าจะ Process ไหนก็ตาม เพื่อที่จะได้กำหนดทิศทางการทำงาน และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างสม่ำเสมอ

Delegation

การมอบหมายงานอย่างมีประสิทธิภาพ เราต้องเข้าใจในงานทุก ๆ ขั้นตอน สามารถจัดสรรแบ่งเวลาการทำงานและแจกจ่ายงานได้เป็นอย่างดี เพื่อควบคุมให้ระบบการทำงาน หรือทิศทางการทำงานเป็นไปในแบบที่วางไว้ และบรรลุวัตถุประสงค์สูงสุดของชิ้นงานในตอนสุดท้าย

Servant Leadership

การเป็นผู้นำที่สามารถตามได้เหมือนกัน เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะว่าในบทบาทของผู้นำ เราต้องเข้าใจลูกทีมแต่ละคนว่าแต่ละคนมีศักยภาพอะไรโดดเด่น ใครที่ถนัดหรือไม่ถนัดเรื่องไหน เพื่อดึงความเก่งของลูกทีมออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เราต้องเรียนรู้ที่จะให้ลูกทีมทำตามออกมาตามที่ถนัด ให้อิสระทางการทำงานและความคิด ได้มีโอกาสเป็นผู้นำบ้างในบางเวลา เพื่อให้คุณค่าในการทำงานและความสามารถของแต่ละคน

อ้างอิง: 

https://www.shakebugs.com/blog/software-engineering-team-lead-traits/

– https://tinyurl.com/2hycrrj2

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง