เป็นหัวหน้าที่มีความน่าเชื่อถือ ไม่ใช่เรื่องยากขนาดนั้น

เพิ่งเป็นหัวหน้ามือใหม่ จะทำอย่างไรให้เป็นคนน่าเชื่อถือ คงมีหัวหน้ามือใหม่หลายคนที่กำลังเครียดว่าจะไม่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือกับลูกน้องหรือลูกทีมได้ มาลองดูวิธีกันว่าทำอย่างไรได้บ้าง

เชื่อว่าคงมีหลายคนที่เพิ่งได้รับตำแหน่งหัวหน้ามือใหม่ หรือเพิ่งได้ขึ้นตำแหน่งมาไม่นาน และยังไม่มั่นใจในความสามารถในการคุมทีมของตัวเอง กลัวว่าตัวเองจะยังดูไม่น่าเชื่อถือพอ ยังไม่สามารถเป็นที่ยอมรับในหมู่ลูกทีมได้ มาลองดูกันว่าเราควรทำอย่างไร ถึงจะแก้ปัญหาส่วนนี้ได้

 ข้อแนะนำสำหรับหัวหน้ามือใหม่ ทำตัวอย่างไรให้ลูกน้องเชื่อถือ

ข้อหนึ่ง : เป็นตัวอย่างที่ดีของทีม

อย่าเอาแต่พูดบอกให้คนอื่นทำแบบนั้นแบบนี้ แต่ตัวเองต้องให้ได้เสียก่อน เช่น ถ้าบอกให้ลูกทีมมาทำงานเช้า เราก็ต้องมาเช้าให้ลูกทีมเห็นเช่นกัน เป็นต้น สิ่งที่จะทำให้ลูกน้องเชื่อถือและปฏิบัติตาม คือความซื่อสัตย์ของหัวหน้าและความเป็นมืออาชีพที่เราแสดงให้ทุกคนได้เห็นนั่นเอง

ข้อสอง : สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเป็นรากฐานสำคัญของการได้รับความเคารพในที่ทำงาน ซึ่งไม่เพียงแค่เกี่ยวข้องกับการพูดคุยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการรับฟังความคิดเห็นและรับฟังปัญหาของลูกทีมอย่างกระตือรือร้นอีกด้วย ซึ่งการสื่อสารของหัวหน้าทีมที่ดี ควรมีความชัดเจนและกระชับ เข้าใจง่าย เปิดกว้างรับฟังและสามารถเข้าถึงได้

ข้อสาม : แสดงความขอบคุณและยอมรับในตัวผู้อื่น

กระตระหนักและเห็นถึงการทำงานหรือความสำเร็จของคนอื่นเป็นเรื่องสำคัญที่หัวหน้าทีมที่ดีควรทำให้ลูกน้องได้รับรู้ถึงสิ่งที่ตัวเองได้ทุ่มเทลงไป ผ่านคำชมและคำขอบคุณ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์เล็กหรือใหญ่ก็ตาม การยอมรับหรือแสดงการขอบคุณคนอื่น ยังเป็นการสร้างวัฒนธรรมการทำงานเชิงบวกที่ดีอีกด้วย

ข้อสี่ : สร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันในทีม

วัฒนธรรมการทำงานที่ทุกคนไว้วางใจกัน จะทำให้สภาพสังคมการทำงานในทีมดีขึ้นและมีความสุขในการทำงานร่วมกันมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ทีมมีความเหนียวแน่น สามัคคี และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย เมื่อคนในทีมรู้สึกได้รับความไว้วางใจ ก็มีแน้วโน้มที่จะมองโลกการทำงานในแง่บวก และไว้วางในหัวหน้าทีมกลับเช่นกัน

ข้อห้า : ให้โอกาสลูกทีมได้เติบโตในหน้าที่การงาน

มองเห็นความสามารถของลูกทีมแต่ละคน สามารถให้คำแนะนำในเรื่องของการทำงาน และการเติบโตในที่ทำงาน พร้อมทั้งยังสามารถหาโอกาสการเติบโตให้กับคนอื่นได้ ส่วนนี้จะทำให้คนรอบข้างไว้วางใจ และยอมรับในตัวของหัวหน้ามากยิ่งขึ้น เพราะถือว่าเราได้แสดงถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาอนาคตให้กับลูกทีมและทีมของตัวเองเป็นอย่างดี

อ้างอิง: https://tinyurl.com/55m5ztmw

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง