จัดการปัญหา แก้ไขทุกวิกฤติด้วย Fink’s Crisis Management Model

ชีวิตการทำงานของทุกคนคงไม่ได้ราบรื่นเสมอไป ยิ่งต้องทำงานร่วมกับหลายฝ่าย หลายทีม ยิ่งมีปัญหาเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นเราต้องเรียนรู้การตั้งรับวิกฤติที่จะเกิดขึ้น และผ่านมันไปให้ได้เสมอ

วันนี้ CareerVisa จะมานำเสนอโมเดลจัดการวิกฤติชีวิตด้วย Fink’s Crisis Management Model 

แนวคิดง่าย ๆ ปรับใช้กับการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันได้ มาลองดูกัน

 

Fink’s Crisis Management Model มี 4 Stage ด้วยกัน ดังนี้

 

❗Stage 1: ระยะก่อนวิกฤติเกิดขึ้น (Prodromal Stage)

ระยะนี้จะเป็นระยะแจ้งเตือน เป็นระยะที่เราสามารถเริ่มสังเกตเห็นการแจ้งเตือนว่ากำลังจะมีปัญหาหรือวิกฤติบางอย่างเกิดขึ้น จึงเป็นระยะที่ดีที่สุดในการวางแผนตั้งรับและหา Solution แก้ไขวิกฤติต่อไป

✅สิ่งที่ควรทำ

– ควรเตรียมความพร้อมและติดตามสัญญาณเตือนวิกฤติอย่างใกล้ชิด

– เตรียมแผนรับมือ

– ประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

 

❗Stage 2: ระยะวิกฤติเกิดขึ้นเต็มรูปแบบ (Acute Stage)

เป็นระยะที่วิกฤติเกิดขึ้นเฉียบพลัน และส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ซึ่งถ้าหากเราไม่เตรียมการให้พร้อมตั้งแต่ Stage แรก บอกเลยว่า Stage นี้ก็จะผ่านไปได้อย่างยากลำบากแน่นอน

✅สิ่งที่ควรทำ

– ตอบสนองและหาวิธีการแก้ไขวิกฤติอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

– สื่อสารข้อมูลให้กับฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน และตรงไปตรงมา

– ควบคุมสถานการณ์ให้ได้เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายมากเกินไป

 

❗Stage 3: ระยะวิกฤติเริ่มคลี่คลาย (Chronic Stage)

เป็นระยะที่วิกฤติเบาลงแต่ว่ายังเรื้อรังและยังส่งผลกระทบอยู่บ้าง ช่วงนี้เป็นช่วงที่อาจจะไม่ยากลำบากเท่าระยะก่อนหน้านี้ แต่ว่าก็ยังต้องเฝ้าระวังไม่ให้วิกฤติกลับมาร้ายแรงเหมือนเดิมอยู่ดี

✅สิ่งที่ควรทำ

– ทำการสื่อสารแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง

– สร้างความไว้วางใจให้กับคนรอบข้าง

– อย่าพึ่งการ์ดตก ให้ทำตามแผนการแก้ไขปัญหาจนมั่นใจว่าปัญหาสิ้นสุดดี

 

❗Stage 4: ระยะวิกฤติสิ้นสุด (Resolution Stage)

เป็นระยะที่วิกฤติสิ้นสุดลง เป็นช่วงที่เราได้พักและได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์รวมถึงสรุปปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้น เพื่อเก็บไว้เป็นแนวทางในกรณีที่มีวิกฤติใหม่ ๆ เกิดขึ้นอีกในอนาคต

✅สิ่งที่ควรทำ

– เรียนรู้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้น สรุปเป็นแนวทางแก้ไขในอนาคต

– พัฒนาแนวทางแก้ไข เพื่อที่จะได้พร้อมรับทุกปัญหาที่เกิดขึ้น

 

อ้างอิง: https://www.smartsheet.com/content/crisis-management-model-theories

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง