8 วิธี “ลางาน”อย่างมือโปร บอกลาความรู้สึกผิด

ลางาน
อย่ารู้สึกผิดเมื่อต้องลางาน ต้องบอกก่อนว่าหลายคนมักจะรู้สึกผิดที่จะลางานไปทำธุระ หรือบางทีรู้สึกไม่สบายแต่ก็ไม่กล้าลางานเพราะไม่อยากให้คนอื่นมองว่าตัวเองไม่มีความรับผิดชอบ หรือกลัวว่าตัวเองจะไปเป็นภาระงานให้กับเพื่อนร่วมงานที่ต้องไปทำงานในวันนั้น ๆ

หลายคนเมื่อลางาน แต่ว่ามีความรู้สึกเกรงใจก็มักจะเปิดคอมตอนที่กดลางาน อย่างไรก็ตามการกระทำนี้ไม่ได้มีผลดี หรือไม่ได้ทำให้เพื่อนร่วมงานมองว่าเรามีความรับผิดชอบ แต่หลายครั้งกลับทำให้คนในที่ทำงานสับสนว่าสรุปแล้วเราลางานจริง ๆ หรือเราแค่ไม่อยากมาทำงาน

 

จริง ๆ แล้วนั้นการลางานไม่ใช่เรื่องผิด ถ้าเราทำตามขั้นตอนทุกอย่าง กดลาอย่างถูกต้องตามระเบียบของที่ทำงาน เพียงแต่ว่าเราต้องลางานอย่างเหมาะสม และวางตัวให้ได้อย่างมือโปร มาดูกันว่ามีวิธีใดบ้าง

 

8 วิธี ลางานให้ได้อย่างมือโปร

 

ไม่สบายก็ควรลาป่วย

อย่าฝืนตัวเองไปทำงานหากรู้สึกไม่ค่อยสบายหรือทำงานไม่ได้ประสิทธิภาพตามที่ควรจะเป็น ถ้าหากเรารู้ตัวว่าไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ ก็ควรจะลางานและให้เวลาตัวเองได้พักเพื่อทำให้ความพร้อมในการทำงานกลับมาเต็มที่เหมือนเดิม

 

หากมีเหตุผลด่วนที่ต้องลางาน ให้กล้าที่จะลา

อย่ามองข้ามเหตุผลเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นมาอย่างฉับพลันในช่วงก่อนไปทำงาน เช่น ท้องเสีย รถติดจนทำให้ไม่สามารถไปทำงานได้ สภาพอากาศที่ไม่เอื้อกับการเดินทาง เป็นต้น หากเรามองว่าสิ่งเหล่านี้กระทบกับการไปทำงานของเรา ให้กล้าที่จะบอกหัวหน้าเพื่อขอลางานช่วงเช้า หรือขอไปสาย เพื่อรายงานสถานการณ์ความไม่สะดวกของตัวเอง

 

ลางานอย่างกระชับได้ใจความ

หากรู้สึกผิดที่จะต้องลาอย่าพยายามที่จะอธิบายจนยืดเยื้อ ให้อธิบายสั้น ๆ ได้ใจความถึงเหตุผลที่เราต้องลางาน ก่อนที่จะกดลาอย่างถูกระเบียบ บางทีการอธิบายอย่างมากมายอาจจะทำให้หัวหน้าหรือเพื่อนร่วมทีมเข้าใจเนื้อความการลางานของเราผิดได้ และจะมองเราไม่ดีในเวลาต่อมา

 

อย่าห่วงการทำงานในตอนที่เราลางานอยู่

หากได้ทำการลางานไปแล้ว หรือกดลาในระบบไปแล้ว อย่าลืมที่จะให้เวลาตัวเองได้พัก หรือไปทำธุระของตัวเองอย่างเต็มที่ พยายามอย่าเปิดคอมหรือห่วงงานมากจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้คนอื่นมองว่าเราไม่ได้มีธุระ หรือไม่ได้ป่วยจริง ๆ แบบที่แจ้งลาไว้ก็ได้ อีกทั้งยังเป็นการใช้สิทธิของตัวเองให้เต็มที่อีกด้วย

 

พยายามอย่าอัพเดทอะไรมากมายบน Social Media

การลางานที่เหมาะสมเราไม่ควรที่จะอัพเดทว่าเราทำอะไรอยู่ บางทีเพื่อนร่วมงานก็ไม่จำเป็นต้องรับรู้ชีวิตเราในยามที่เราลางานขนาดนั้น เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนเวลางานคนอื่น หรือไม่ทำให้คนอื่นมองเราผิดไป ไม่ต้องอัพเดทชีวิตของเรา และลางานแบบเงียบ ๆ จะดีที่สุด

 

รับผิดชอบงานตัวเองก่อนที่จะลางาน

หากเรารับรู้ล่วงหน้าว่าต้องลางานช่วงไหน หรือมีการไปเที่ยวช่วงไหนเป็นระยะเวลานาน ๆ อย่าลืมที่จะเคลียร์งานของตัวเอง เพื่อทำให้ลางานได้อย่างสบายใจและไม่เป็นภาระของคนอื่น

 

รู้จักขอบคุณเมื่อต้องลางาน

หากมีคนที่ช่วยเหลืองานเราในระหว่างที่เราลางาน อย่าลืมที่จะขอบคุณเขา และพยายามหาเวลาที่จะตอบแทนในความช่วยเหลือเหล่านั้น เพื่อแสดงถึงน้ำใจและการเคารพความช่วยเหลือของคนอื่น

 

อย่าลาป่วยบ่อยจนเกินไป

ไม่ผิดที่เราจะลางานและลาป่วย แต่พยายามอย่าลาให้เป็นนิสัย ทั้งนี้ทั้งนั้นเราควรดูแลสุขภาพของตัวเอง และไม่ป่วยบ่อยมากจนเกินไป จนทำให้ความรับผิดชอบของเรา หรือประสิทธิภาพการทำงานของเราลดลง

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง