อยากชนะ ChatGPT อย่าลืมพัฒนา Skills เหล่านี้ติดตัว

ในยุคที่ AI ฉลาดขึ้นจนสามารถทำอะไรหลาย ๆ อย่าง และคิดสิ่งต่าง ๆ ได้มากยิ่งขึ้น จนเริ่มที่จะฉลาดกว่ามนุษย์! มาดูกันว่า พอจะมีทักษะอะไรบ้าง ที่ AI และ ChatGPT ยังวิ่งตามเราไม่ทัน

ในปัจจุบัน AI ถูกนำมาใช้ร่วมกับการทำงานของคนอยู่หลายอย่าง และไม่ว่าจะสายอาชีพไหน ล้วนนำ AI เข้ามาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะ ChatGPT หรือ AI Chatbot ที่ถามได้ตอบได้ทุกอย่าง ต้องบอกเลยว่าเป็น Tool ยอดฮิตที่ตอนนี้ไม่ว่าจะอาชีพไหน ก็นำเข้ามาใช้ร่วมกับการทำงานกันอย่างมากมาย

 

ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเขียนคอนเทนต์ การคิดหัวข้อทำรายงาน การคำนวณ บอกเลยว่า ChatGPT ก็สามารถช่วยคุณได้เกือบทุกอย่าง งั้นแบบนี้สิ่งไหนบ้างที่ ChatGPT ยังไม่สามารถช่วยเราได้?

 

ถึง AI จะมีความฉลาดและก้าวทันตามมนุษย์ได้ในหลายทักษะ แต่ต้องบอกก่อนว่าในปัจจุบัน ก็ยังมีอีกหลายหลายทักษะที่ AI ยังก้าวมาไม่ถึง 

และถ้าใครที่มีทักษะเหล่านี้ติดตัวไว้ บอกเลยว่าเหนือกว่า AI หรือ ChatGPT แน่นอน

 

มาดูกันว่าถ้าเราอยากชนะ ChatGPT ควรที่จะต้องพัฒนา Skills ไหนเอาไว้กันบ้าง

 

6 Skills ที่เราควรพัฒนาเอาไว้ หากต้องการที่จะชนะ ChatGPT

 

 

“Emotional Intelligence” (ความฉลาดทางอารมณ์)

ถึง AI จะสามารถตอบคำถามได้หลากหลายเท่ากับมนุษย์ หรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ แต่อย่างหนึ่งที่ AI ยังทำไม่ได้นั้นคือการเข้าใจอารมณ์ ทั้งอารมณ์ของตัวเองและของผู้อื่น ซึ่งการที่เราฉลาดทางอารมณ์และสามารถจัดการอารมณ์ได้ นั่นคือทักษะสำคัญที่ต้องใช้ในการทำงานหลากหลายรูปแบบ และแทบจะสำคัญมาก ๆ ในทุก ๆ สายงาน

 

 

“Creative Thinking” (ความคิดสร้างสรรค์)

ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่เหนือเหตุผล หลายครั้งที่เราคิดสร้างสรรค์ออกนอกกรอบโดยไม่ได้คำนึงว่าจะทำได้หรือไม่ ซึ่งหุ่นยนต์ที่ทุกอย่างประมวลผลตามเหตุและผล ไม่สามารถมีความคิดสร้างสรรค์เท่ามนุษย์ได้แน่ ๆ เพราะฉะนั้นทักษะนี้เลยเป็นทักษะเฉพาะทางที่มนุษย์สามารถทำได้เหนือกว่าหุ่นยนต์ และคิดว่าถ้าพัฒนาได้ ก็จะทำให้เหนือกว่า AI ในที่สุด

 

 

“Adaptability” (ทักษะการปรับตัว)

ทักษะด้านการปรับตัว ถือว่าเป็น Soft Skill สำคัญที่หลายบริษัทต้องการ เพราะสภาพแวดล้อมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้าหากเราไม่มีทักษะนี้ก็อาจจะทำให้อยู่ยากในการทำงานหรือในบริษัทที่มีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และในโลกตอนนี้ที่ AI เข้ามามีอิทธิพลกับงานต่าง ๆ ยิ่งทำให้การเปลี่ยนแปลงนั้นเร็วยิ่งขึ้นไปอีก

 

 

“Critical Thinking” (ทักษะการคิดวิเคราะห์)

ในอนาคต Ai มีโอกาสที่จะคิดวิเคราะห์เชิงตรรกะได้มากเท่าเทียมกับมนุษย์ แต่ถ้าหากเราสามารถพัฒนา Skill นี้ได้ ก็จะสามารถควบคุมหรือว่าทำงานร่วมกับ AI ได้อยางมีประสิทธิภาพ ซึ่งบอกเลยว่าการคิดเชิงตรรกะเป็นอะไรที่สามารถพัฒนาได้ จากการฝึกฝนและศึกษาอยู่ตลอดเวลา

 

 

“Communication” (ทักษะการสื่อสาร)

สิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก ๆ ในการทำงานคือทักษะการสื่อสาร เพราะเราต้องทำงานร่วมกับคนอื่น และสื่อสารอยู่ตลอดเวลา การที่เราสามารถสื่อสารให้เข้าใจได้ง่าย และมีการโน้มน้าวคนอื่นได้ถือเป็นเรื่องสำคัญ และ AI ยังไม่สามารถสื่อสารได้อย่างเป็นธรรมชาติเท่ามนุษย์เพราะฉะนั้น ทักษะนี้จึงเป็นทักษะสำคัญที่เราควรพัฒนาติดตัวเอาไว้

 

 

“Leadership” (ความเป็นผู้นำ)

ทักษะความเป็นผู้นำเป็นทักษะสำคัญที่ถ้าหากเรามีเอาไว้ ก็จะสามารถโน้มน้าวให้ทุกคนทำงานไปในทางเดียวกัน และเป็นที่ไว้ใจในการทำงานร่วมกับผู้อื่น รวมถึงไม่ว่าบริษัทไหน ย่อมต้องการคนที่สามารถเป็นผู้ตามและผู้นำในเวลาเดียวกันได้ การเป็นผู้นำคือการกล้าตัดสินใจ มีความมั่นใจในตัวเอง และรับฟังผู้อื่นนั่นเอง

 

 

อ้างอิง : https://www.csm.tech/blog-details/6-human-skills-that-will-survive-the-chatgpt-tsunami/

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง