Personalization คืออะไร? ช่วยสร้างพื้นที่ให้พนักงานได้แสดงศักยภาพในแบบของตัวเองได้อย่างไร

Personalization

Personalization ในการทำงาน ยังเป็นกลยุทธ์รักษา Old talents พร้อม ๆ ไปกับกวักมือเรียก New talents ให้มาจอย ประหยัดงบ เซฟเวลา เซฟทรัพยากร แถมเพิ่มกำไรได้ด้วยถ้าทำออกมาได้.

ลองคิดดูดี ๆ นะ ถ้าเราอยากได้สูทใส่ทำงานแบบภูมิฐานที่เข้ากับรูปร่างทรวดทรงสุดๆ เราคงต้องไปตัดสูทแบบ Tailor-made เช่นร้าน The Decorum ถ้าอยากได้รถหรูในฝันที่มีเอกลักษณ์ขั้นสุดคงเป็นแบรนด์ไหนไปไม่ได้นอกจาก Rolls-Royce ที่เปิดโอกาสให้ลูกค้าเลือกสรรทุกดีเทลในรถได้ตามใจต้องการ

จากตัวอย่างเราจะเห็นแพทเทิร์นว่า การทำให้โปรดักท์ออกมาดีชนิดที่ตอบโจทย์ลูกค้าทุกด้าน หนึ่งในเคล็ดลับคือ Customization ทำตามใจที่ลูกค้าต้องการ

ทีนี้ จึงเกิดคำถามที่ย้อนกลับมาว่า…แล้วทำไมการปั้นคนในทีมให้ออกมาเก่ง ถึงไม่ทำ Personalization ล่ะ?

จากตัดเย็บชุดสูทแบบประณีต สู่การตัดเย็บวิธีทำงานแบบพิถีพิถัน ปรับจูนให้ถูกจริตความต้องการของลูกทีม

เริ่มต้นทำ Personalization กับลูกทีมยังไง?

อันดับแรก เราต้องวางทัศนคติเดิมๆ อย่าง One size fits all ทิ้งไปก่อน นี่เป็นเคล็ดลับความสำเร็จที่ยอมรับกันในอดีต แต่อาจไม่เวิร์คอีกต่อไปในโลกการทำงานยุคปัจจุบัน เพราะพนักงานแต่ละคนมีความต้องการไม่เหมือนกัน ความฝันต่างกัน แรงจูงใจต่างกัน ชุดความคิดเดิมนี้จริงเข้าไปใหญ่โดยเฉพาะกับพนักงาน Gen Z ที่มีความเป็น “ตัวของตัวเอง” สูงมากๆ การเอาไม้บรรทัดเดียวไปวัดทุกคนมีแต่จะพบกับความล้มเหลว

ต่อไป คือการยอมรับความแตกต่างของลูกทีมด้วยการเข้าใจสิ่งที่เรียกว่า Brand Archetype ของแต่ละคนว่ามีบุคลิกตัวตนอย่างไร (มีทั้งหมด 12 Brand Archetype) 

  • เช่น ถ้าลูกทีมเป็น The Sage นักคิดวิเคราะห์ ตอนดีลงานต้อง Talk numbers ระบุทุกอย่างออกมาเป็นตัวเลขรูปธรรม เช่นตอน assign งาน ต้องกำหนดวันที่ deadline ชัดเจน ใช้งบ budget กี่ % ของรายได้ หรือ lead ที่มาใหม่ต้องปิดให้ได้กี่ % 
  • แต่ถ้าอีกคนเป็น The Creative นักสร้างสรรค์ เราจะไปทำแบบเดิมไม่ได้เพราะจะเป็นการตีกรอบหัวครีเอทีฟของเค้าเกินไป แต่ต้องหันไปกำหนด vision ที่น่าเดินตาม สร้างแรงบันดาลใจ บิ้วด์อารมณ์ หรือโยนไอเดียเจ๋งๆ เพื่อให้เค้าไปต่อยอดเอง

ความน่าสนใจคือ Personalization เกิดขึ้นได้กับ “ทุกอาชีพ-ทุกตำแหน่ง” เลยก็ว่าได้ ตั้งแต่ระดับผู้บริหารระดับสูงจนไปถึงระดับปฏิบัติการทุกแผนก

  • เช่น ผู้บริหารระดับสูงคนนึง แทนที่ต้องเข้ามาประชุมออฟฟิศบ่อยๆ อาจ prefer ตระเวนไปร่วมงาน business networking เพื่อมองหาพาร์ตเนอร์ใหม่ๆ และพูดคุยกับ keyman บุคคลสำคัญๆ ในอุตสาหกรรม
  • ส่วนฝ่ายปฏิบัติการ บางทีคนนี้อาจสวนกระแส prefer เข้าออฟฟิศทุกวันเพราะรู้สึกมีไฟ ได้เดินทาง ได้พบเจอคน รู้สึกมีความครีเอทีฟมากกว่าทำงานที่บ้าน

นอกจากนี้ หัวหน้าแบบเรายังมีบทบาทหลักในการไปดีลกับฝ่าย HR เพื่อกำหนดเป็นนโยบายองค์กรในภาพใหญ่ได้ด้วยนะ 

เช่น แทนที่บริษัทจะออกแบบสวัสดิการที่มาจากนโยบายกลาง ก็เปลี่ยนไปเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการกำหนด (Empowerment & Involvement) ว่าอยาก Upskill และ Reskill ในสกิลเรื่องไหนบ้าง? เพราะไม่มีใครรู้ดีเท่าตัวพนักงานแล้ว  เช่น 

  • บางคนอยากเรียนภาษาที่ 3 เป็นภาษาญี่ปุ่น เพราะลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนญี่ปุ่น จะได้เจรจาการงานได้สะดวกขึ้น หรืออย่างน้อยที่สุด ก็เสริมสร้างความสัมพันธ์เวลาไปดินเนอร์สังสรรค์กัน
  • บางคนเลือกเรียน Coding เพราะเป็นสกิลแห่งอนาคตที่มีความต้องการในตลาดสูง 
  • หรือบางคนอาจสนใจศาสตร์การ Coaching เพื่อปูทางไปสู่การเป็นผู้บริหารในอนาคตก็ได้!

นอกจาก Personalization จะเพิ่มประสิทธิภาพใยการทำงานแล้ว ยังน่าจะทำให้ทุกคนทำงานแบบแฮปปี้ขึ้นด้วย เพราะกระบวนการ Personalization เริ่มจากเปิดใจรับฟังเสียงของพนักงานอย่างจริงจัง ทุกเสียง ทุกไอเดียได้รับการพิจารณา เป็นการเพิ่ม Employee engagement ไปในตัว ทีมรู้ว่าหัวหน้าแคร์มากแค่ไหน นำไปสู่ความรู้สึกเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการรับฟัง เกิดความ loyalty กับหัวหน้าและกับองค์กร

ในมุมนึง Personalization เป็นการ “ซื้อใจ” พนักงานแบบเปิดเผยด้วยการตอบสนองความต้องการแต่ละคนแบบตรงจุด ถ้าทำอย่างประณีตและต่อเนื่องพอ พนักงานก็พร้อม “ให้ใจ” ในการทำงานกลับมา

อ้างอิง

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง