หางานจาก Social Media ของตัวเองได้ง่าย ๆ มาลองดูกัน

จะมี Social Media ไว้โพสต์ชีวิตประจำเฉย ๆ ไปทำไม ในเมื่ออัพเกรดนิดเดียว ก็สามารถปังในสายงานตัวเองมากยิ่งขึ้นแบบไม่รู้ตัว หาประโยชน์จาก Social Media ของตัวเองได้ง่าย ๆ มาลองดูกัน

Social Media คือพื้นที่ส่วนบุคคลของแต่ละคน ที่เป็นพื้นที่เปิดกว้างและมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นและแสดงความเป็นตัวของตัวเอง เพียงแต่ว่า Social Media หากใช้งานอย่างถูกต้อง ก็สามารถทำให้เรามีโอกาสทางการงานมากยิ่งขึ้นได้อีกด้วย

 

หลาย ๆ คนใช้ Social Media ระบายอารมณ์ของตัวเองในแต่ละวัน แสดงให้เห็นว่าชีวิตขอตนเองเป็นอย่างไร Social Media จึงเปรียบเสมือนพื้นที่แสดง Social Status หรือสถานะของตัวเองในสังคม ถ้าหากเราใช้ผิดวิธี หรือแสดงตัวตนมากจนเกินไป ก็อาจจะเกิดผลเสียได้แบบที่เราไม่รู้ตัว เพียงแต่ว่าถ้าเรารู้วิธีใช้การมันอย่างถูกวิธี ก็สามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมากมายอีกเช่นกัน

 

วันนี้ CareerVisa จะมานำเสนอวิธีการยกระดับ Social Media ของตัวเอง ปรับเปลี่ยนนิดหน่อย ก็อาจจะได้รับโอกาสทางการงานเพิ่มขึ้นแบบไม่รู้ตัว มีวิธีหรือข้อแนะนำอย่างไรบ้าง ลองอ่านดู

 

วิธีการจัดการ Social Media ให้เปิดรับโอกาสทางการได้มากยิ่งขึ้น

นำเสนอตัวเองบนช่องทาง Online ต่าง ๆ

มีหลากหลายบริษัทที่มักจะเข้าไปส่อง Social Media ของ Candidate หรือผู้สมัครงาน ก่อนที่จะตัดสินใจรับเข้าสู่บริษัทของตนเอง ซึ่งหน้าตาของเราบนพื้นที่ Social Media จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก หากเราปูพื้นฐานตัวตนของตนเองบน Social Media เอาไว้ได้ดี ดูมีความน่าเชื่อถือ มีประสบการณ์การทำงานที่ดี ก็มักจะทำให้ได้เปรียบเสมอ

ยกตัวอย่างช่องทางหลัก ๆ ที่สามารถปรับใช้ได้ คือ LinkedIn ในยุคนี้ใครไม่มี LinkedIn ของตัวเอง บอกเลยว่าเสียโอกาสแบบสุด ๆ เพราะพื้นที่แห่งนี้นอกจากจะรวม Profile ของคนสมัครงาน ยังเป็นที่หาคนทำงานของ Recruiter ตามบริษัทต่าง ๆ อีกด้วย

เพราะฉะนั้นอย่าลืมปรับหน้าตาของ LinkedIn ของตัวเองให้สวยงาม นำเสนอภาพรวมของตัวเองออกมาอย่างมืออาชีพ ไม่ว่าจะเป็น ประวัติการศึกษา การเรียน และความสามารถพิเศษ ถ้าหากมีเวลาว่าง ลองเขียนคอนเทนต์นำเสนอตัวเองและโพสต์ลง LinkedIn ส่วนตัวดูก็ได้ เผื่อจะได้ทำให้คนรู้จักเราได้มากยิ่งขึ้น

 

หลีกเลี่ยงการโพสต์สิ่งที่ไม่เหมาะสมบน Social Media 

หากเราต้องการจะสร้างภาพจำของตัวเองบนพื้นที่ออนไลน์ให้ดูมีความน่าเชื่อถือ เราก็ไม่ควรจะโพสต์คอนเทนต์หรือเนื้อหาอะไรที่ไม่เหมาะสม อย่างเช่น การออกความเห็นเชิงด่าทอด้วยคำหยาบ คอนเทนต์ของตัวเองตอนดื่มสุรา หรือเสพยาเสพติด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สามารถพังความน่าเชื่อถือ หรืออาจจะทำให้ภาพลักษณ์ของเราเสียหายได้ หากมีคนในที่ทำงาน หรือ Recruiter จากบริษัทต่าง ๆ มาเห็นเข้า

อันที่จริงไม่ว่าจะเป็นคอนเทนต์หรือเนื้อหาอะไรก็ตาม เราควรไตร่ตรองก่อนโพสต์ลง Social Media เสมอ เนื่อจากพื้นที่ออนไลน์เป็นพื้นที่ที่เปิดกว้าง มีคนหลายคนติดตามเรา หรือหากไม่ได้ติดตามก็สามารถเข้ามาส่องความเป็นไปของเราได้อยู่ดี 

เพราะฉะนั้นอย่าลืมคิดเยอะ ๆ ก่อนที่จะโพสต์อะไรลงไปกันนะ

 

ใช้ Social Media ในการหางานอย่างเหมาะสม

นอกจากพื้นที่ Social Media จะเป็นพื้นที่แสดงความเป็นตัวเองหรือทำให้ตัวเองดูน่าเชื่อถือแล้ว หากเราใช้งานมันเป็น ก็จะเห็นได้ว่าโอกาสที่จะได้งานผ่าน Social Media นั้นมีอยู่มากมาย

ในกลุ่ม Facebook มีหลากหลายกลุ่มที่เป็นกลุ่มรับสมัครงาน หรือใน Twitter ก็มี Hashtag ในการหางานเช่นกัน เพราะฉะนั้นเมื่อเราสร้าง Profile ของตัวเองให้น่าเชื่อถือแล้ว อย่าลืมหาวิธีใช้ Social Media ตรงนี้หางานให้กับตัวเอง และเพิ่มโอกาสให้กับตัวเองกันนะ

 

ใช้ Social Media หา Insight ของที่ทำงานที่อยากทำ

หลายครั้งที่เราไม่รู้จะหาข้อมูลของที่ทำงานที่เราอยากทำจากที่ไหน Social Media ก็เป็นพื้นที่หนึ่งที่เราสามารถหาข้อมูลหรือความคิดเห็นของคนหลายคนกับที่ทำงานที่อยากเข้าได้

ไม่ว่าจะเป็นกระทู้ใน Pantip หรือการโพสต์รีวิวผ่าน Facebook, TikTok และ Instagram ทุกพื้นที่ล้วนมีประโยชน์ในการเป็นพื้นที่หาข้อมูลการทำงานทั้งสิ้น

 

ใช้ Social Media ในการหาความรู้เพิ่มเติม

ไม่ใช่เพียงแค่พื้นที่แสดงออก แต่ Social Media เป็นพื้นที่เก็บเกี่ยวความรู้ให้กับตัวเอง มีหลากหลายโพสต์ที่เป็นโพสต์นำเสนอความรู้ที่เราสามารถอ่าน จดจำ และนำไปใช้งานได้จริง 

เพราะฉะนั้นถ้าหากเราใช้งาน Social Media ได้ดี แยกแยะข้อมูลที่ดีและไม่ดีออกได้ ก็จะมีหลากหลายอย่าที่นำไปต่อยอดและพัฒนาตนเองได้อีกมากมาย

 

 

Social Media ไม่ได้มีแต่ข้อดี แต่ก็ยังมีข้อเสียอีกด้วย เพียงแต่หากเรารู้วิธีใช้อย่างถูกต้อง Social Media ก็สามารถให้โอกาสอะไรกับเราได้หลายอย่างเหมือนกัน

 

 

อ้างอิง : https://corporatetraining.usf.edu/blog/how-to-leverage-social-media-for-better-career-opportunities

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง