Quiet Hiring – จ้างงานแบบไม่จ้าง
Gartner บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลกเผยว่า Quiet Hiring เป็นวิธี “เซฟเงิน” จากฝั่งนายจ้างหรือจากหัวหน้างานที่มีอำนาจตัดสินใจรับคนเพิ่ม โดยบริษัทจะพยายามไม่จ้างพนักงาน Full-Time แต่ใช้วิธีจัดสรรพนักงานเดิมที่มีอยู่เพื่อให้พอกับสกิลที่บริษัทต้องการ
You อยากเนียนลาออกใช่ไหม? ไม่เป็นไรเดี๋ยว I เนียนๆ หาคนมาแทน You เอง!
- พนักงานทำ Quiet Quitting
- องค์กรทำ Quiet Hiring!
Quiet Hiring เป็นวิธีที่หลายบริษัทเริ่มหันมาใช้กัน เพราะต้องรัดเข็มขัดกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในปี 2023 ที่นักวิเคราะห์หลายฝ่ายเห็นตรงกันว่ามีแนวโน้มแย่ลง
ทั้งลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและมูลค่าเวลาในการหาพนักงานใหม่ แถมพนักงานเดิมมักเข้าใจวัฒนธรรมองค์กรบ้างแล้ว ไม่ต้องมาคอยสอนงานใหม่
Quiet Hiring จึงเป็นวิธีที่หลายบริษัทใช้เพื่อความอยู่รอดในเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนของปีนี้
แล้ว Quiet Hiring มีอะไรบ้าง?
การจัดสรรพนักงานเดิมที่มีอยู่เพื่อให้พอกับสกิลที่บริษัทต้องการเกิดได้หลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น
Role Shifting – โยกย้ายตำแหน่งงานในองค์กร ให้พนักงานที่มี skill หนึ่งไปทำงานตำแหน่งอื่นที่ต้องการ skill นั้น โดยพนักงานคนนั้นจะได้รับการขึ้นเงินเดือนหรือสวัสดิการอื่นๆ เพิ่มเติมเป็นการตอบแทน
เช่น พนักงาน IT ที่มีทักษะ Communication & Coaching เก่ง อาจถูกโยกย้ายให้ไปทำงานด้าน IT-based HR ฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่ดีลโดยตรงกับแผนกไอที ซึ่งต้องการความรู้ด้านไอทีพร้อมๆ กับคุยรู้เรื่องไปในตัว
Upskill & New Skill – ซัพพอร์ตพนักงานให้ต่อยอดทักษะเดิม หรือไปพัฒนาทักษะใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมให้ดีขึ้น
เช่น บริษัทเปย์ให้พนักงานลงเรียนคอร์สใหม่ๆ พนักงาน IT ที่รู้ลึกด้านเทคนิค อาจได้รับงบโควต้าต่อเดือนให้ไปเรียนคอร์สออนไลน์ด้าน Communication & Coaching เพื่อนำไปอธิบายศัพท์เทคนิคให้ทีมอื่นๆ เข้าใจได้ง่ายขึ้น
Outsourcing – บริษัทการจ้างฟรีแลนซ์หรือ outsource เข้ามารับผิดชอบงานนั้นๆ โดยเฉพาะ
- เช่น เอเจนซี่ที่เก่งยิงแอด ไปจ้าง production house ใหญ่ๆ เพื่อถ่ายทำโฆษณาโปรเจคท์ใหญ่ๆ ที่ตัวเองไม่ได้เชี่ยวขนาดนั้น โดยจะไม่ฟอร์มทีมขึ้นมาใหม่
สำหรับ Talents เก่งๆ นี่อาจเป็นโอกาสเติบโตในหน้าที่การงานชนิดที่ต้องรีบจับตามอง เพราะ Quiet Hiring มักถูกมอบหมายงานให้แก่พนักงานเก่งๆ ที่พร้อมทุ่มเททำงานมากไปกว่าแค่ใน job description เป็นกลุ่มคนที่ทะเยอทะยาน มีเป้าหมาย พร้อมเติบโต และมองหาความท้าทายใหม่ๆ
Talents เก่งๆ จึงมีแนวโน้มได้รับโปรเจคท์ใหม่ๆ ถูกส่งไปพัฒนาสกิลใหม่ๆ ซึ่งจะได้โชว์ฝีมือการทำงานในหลายบทบาท
และถ้าทำสำเร็จ ก็เป็นการพิสูจน์ผลงานที่สร้างการเติบโตได้แบบก้าวกระโดดใน career path ได้เลยทีเดียว!
อ้างอิง :