1. การถูกปฏิเสธ (Rejection)
แม้การถูกปฏิเสธจะเกิดจากเรื่องที่ไม่สำคัญหรือคนที่เราไม่รู้จัก แน่นอนมันสร้างเจ็บปวดได้รุนแรงทั้งใจ รวมถึงจิตใต้สำนึก และเราลดความเจ็บปวดจากการถูกปฏิเสธได้ด้วยการใช้ตรรกะเป็นแนวทางการรักษา คือ
- ไม่โทษตัวตัวเอง
- ทบทวนคุณค่าของตัวเอง
- ฟื้นฟูความรู้สึกและนึกถึงสัมพันธ์ของสังคมที่เราอยู่ เพื่อตอกย้ำว่าเรายังเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
- ลดความอ่อนไหวของตัวเอง แม้จะถูกปฏิเสธบ่อยๆ
2. ความเหงา (Loneliness)
ความรู้สึกเหงาขึ้นอยู่กับคุณภาพของความสัมพันธ์มากกว่าปริมาณคนรู้จักที่มี ความเหงาทำให้รู้สึกเหมือนไม่มีตัวตน ทักษะการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นถดถอยเหมือนกล้ามเนื้อที่ไม่ได้ใช้งาน และส่งผลเสียระยะยาวต่อสุขภาพ ทำให้อายุไขสั้นลง เพิ่มความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ และแนวทางการรักษา ได้แก่
- ท้าทายความเข้าใจเชิงลบ
- ทบทวนพฤติกรรมที่ไม่เป็นมิตร และระวังตัวไม่ให้ทำกับคนอื่น
- มองและทำความเข้าใจกับมุมมองของคนอื่น
- Empathy ผู้อื่นให้เป็น เพิ่มความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดกว่าที่เคย
- สร้างความสัมพันธ์ทางสังคมผ่านโอกาสหรือกิจกรรม
- เลี้ยงสัตว์
3. การสูญเสียและเหตุการณ์สะเทือนใจ (Loss and Trauma)
เมื่อเผชิญกับความสูญเสียหรือเหตุการณ์ร้ายแรงที่ทำให้ชีวิตเปลี่ยน อาจทำให้รู้สึกผิดแม้ว่าไม่ได้เกิดจากการกระทำของเรา เมื่อพยายามทำความเข้าใจ ความรู้สึกเจ็บปวดนี้ควรดีขึ้นตามเวลา แต่หากยังไม่ move on หดหู่จนไม่อยากทำอะไร จะส่งผลต่อความสัมพันธ์กับคนที่ยังเหลืออยู่ไปด้วย ซึ่งแนวทางการรักษา ได้แก่
- บรรเทาความเจ็บปวดทางอารมณ์ในวิธีที่เหมาะสมกับตัวเอง เช่น การระบาย การลืม
- สร้างมุมมองของตัวตนที่สูญหายไป เช่น หาจุดเชื่อมกับตัวตนเดิม หรือสร้างขึ้นมาใหม่
- ค้นหาความหมายของการสูญเสีย
4. ความรู้สึกผิด (Guilt)
เมื่อเราทำให้ผู้อื่นผิดหวัง หรือรู้สึกไม่ดีที่ทำไม่ได้ตามความคาดหวังหรือมาตรฐาน ที่กระทบกับความสัมพันธ์ควรถูกแก้ไขเร็วที่สุด และหากขอโทษแล้วได้รับการให้อภัยหรือแก้ไขความผิดพลาดได้แล้ว ความรู้สึกผิดก็หายไป แต่หากความเสียหายที่เกิดขึ้นมากกว่าที่จะให้อภัย ให้ลองใช้การรักษา ดังนี้
- ขอโทษอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบด้วย 3 อย่าง คือ แสดงความเสียใจ ขอโทษอย่างชัดเจน และคำขอให้อภัยจากอีกฝ่าย ยอมรับในสิ่งที่เราทำไม่ได้ และควรนึกถึงอารมณ์หรือความรู้สึกของอีกฝ่าย เช่น ชดเชยหรือเสนอวิธีการแก้ไข
- การให้อภัยตัวเอง
- การกลับไปใช้ชีวิต
5. การครุ่นคิด (Rumination)
ทำให้เครียด นำไปสู่ภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมผิดปกติ และความช่วยเหลือจากคนรอบข้างเป็นเรื่องสำคัญมาก แนวทางการรักษา
- เปลี่ยนมุมมอง
- เบี่ยงเบนความสนใจจากความเจ็บปวดทางอารมณ์
- ตีกรอบความโกรธใหม่
- ทำตัวสบาย ๆ กับเพื่อน
6. ความล้มเหลว (Failure)
บางคนตอบสนองกับความล้มเหลวได้ดี แม้จะเจ็บปวดและผิดหวังแต่ถือเป็นโอกาสเรียนรู้เพื่อเติบโต แต่กับบางคน ความล้มเหลวทำให้เข้าใจทักษะความสามารถตัวเองผิดไป ขาดความเชื่อมั่น รู้สึกพึ่งพาตัวเองไม่ได้ จนไม่กล้าพยายามครั้งต่อไป
แนวทางการรักษา:
- รับการสนับสนุนและยอมรับความจริง
- พุ่งเป้าไปยังปัจจัยที่ควบคุมได้
- ยอมรับความผิดพลาดและจัดการความกลัว
- จัดการความกดดันเรื่องผลการปฏิบัติงาน
7. ความเคารพตัวเองต่ำ (Low self-esteem)
คนที่เคารพตัวเองต่ำจะอ่อนไหวต่อการถูกปฏิเสธและความล้มเหลว มีความสามารถในการควบคุมตัวเองต่ำ มองโลกในแง่ร้าย มักปฏิเสธคำชมเชยจากผู้อื่นเพราะคิดว่าไม่ใช่เรื่องจริง ไม่คู่ควร และยังทำตัวแย่เพื่อยืนยันสิ่งที่ตัวเองคิด ทำให้ความสัมพันธ์ยิ่งแย่ลง ในทางกลับกัน คนที่มีความเคารพตัวเองสูงเกินไปก็มักโทษคนอื่นและโกรธง่ายเมื่อถูกตำหนิ
แนวทางการรักษา:
- เห็นอกเห็นใจตัวเอง
- ค้นหาจุดแข็งของตัวเอง
- เพิ่มความอดทนต่อคำชม
- พัฒนาศักยภาพตัวเองให้รู้สึกมีพลังงานที่ดีอยู่เสมอ
- หมั่นสร้างความแข็งแกร่งในการควบคุมตัวเอง
อาการทั้ง 7 ประเภทนี้เป็นเคสตัวอย่างที่เข้าใจง่ายอ้างอิงจากงานวิจัยและการศึกษา ซึ่งแต่ละอาการมีการรักษาที่หลากหลาย เพื่อให้แต่ละคนได้ดูแลจิตใจที่เหมาะสมในเบื้องต้น แต่อย่างไรก็ตามหากเราปล่อยนานเกินไปกว่าจะรักษาด้วยตัวเอง เราควรไปปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาบำบัดให้รับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป