7 ทักษะที่ควรเรียนรู้เอาไว้ หากต้องทำงานเป็นทีม

ไม่ว่าจะทำงานที่ไหน ตำแหน่งอะไร เราล้วนหนีไม่พ้น “การทำงานเป็นทีม” เพราะฉะนั้นมันไม่เหมือนกับการนั่งหน้าคอมทำงานคนเดียวแล้ว แต่เราต้องทำงานร่วมกับคนอื่นอย่างมากมาย ไม่ว่าจะทั้งกับคนในทีมหรือคนต่างทีมที่ต้องมีการประสานงานร่วมกัน

ต้องบอกก่อนเลยว่า ไม่ใช่ทุกคนจะมี Teamwork skill ที่ดีเด่น หลายคนไม่ชอบการทำงานเป็นทีมและมักจะเลือกงานที่ต้องทำคนเดียว ไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับใคร เพราะรู้สึกสบายใจมากกว่า

แต่ถ้าต้องมองถึงโลกแห่งความเป็นจริง ไม่ว่าการทำไงก็ตามบางทีเราก็อาจจะหนีไม่พ้นการทำงานที่ต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น ยิ่งในสายงานปัจจุบันอย่างการทำงานในบริษัท Tech หรือ Startup ต่าง ๆ เป็นต้น ล้วนจะต้องทำงานเป็นทีมอยู่ในหลาย ๆ โปรเจกต์

 

ซึ่งในการทำงานเป็นทีมมันก็มีข้อดีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการที่งานหรือโปรเจกต์จะได้มีความคิดหลากหลายเข้ามามีส่วนร่วม ได้ผลงานออกมาอย่างสร้างสรรค์ หรือไม่ว่าปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น การที่เรามีคนทำงานหลากหลายคน มีคนให้ปรึกษาเยอะ ก็อาจจะช่วยให้มีไอเดียในการหาทางออกอยู่มากกว่าการทำงานคนเดียว

 

เพราะฉะนั้นวันนี้ CareerVisa จึงจะมานำเสนอ 7 ทักษะ หรือ Skills ที่ควรจะโฟกัส เพื่อทำให้การทำงานเป็นทีมออกมาอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

[7 Skills ที่ควรมีไว้ในการทำงานเป็นทีม]

1) Communication (การสื่อสาร) : เป็นสิ่งที่แน่นอนอยู่แล้วว่าการทำงานเป็นทีมต้องใช้มากที่สุด นั่นก็คือการสื่อสาร ซึ่งจะให้พูดคุยอย่างเดียวก็บอกเลยว่าอาจจะทำให้งานออกมาไม่ได้ดีเท่าที่ควร แต่เราควรสื่อสารให้เก่ง ให้ตรงประเด็น ทำให้อีกฝั่งเข้าใจง่าย นอกจากเป็นคนสื่อออกไป ก็ต้องเป็นคนรับสารและตอบโต้ให้ดีอีกด้วย

2) Time management (การบริหารจัดการเวลา) : เพราะการทำงานเป็นทีมไม่ได้ขึ้นอยู่กับแค่คน ๆ เดียว แต่ขึ้นอยู่กับคนหลายคนที่ต้องทำงานร่วมกัน เพราะฉะนั้นการบริหารจัดการเวลาจึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น การตรงต่อเวลา การจัดการเวลาในการทำงานไม่ให้กระทบการทำงานของส่วนอื่น การแบ่งเวลาให้ดี ล้วนเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

3) Problem-solving (การแก้ไขปัญหา) : การทำงานไม่ว่าจะอะไรก็ตาม สามารถมีปัญหาเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การทำงานเป็นทีมเช่นกัน ยิ่ง Process งานมีอยู่หลายส่วน ยิ่งเกิดปัญหาได้ง่ายกว่าปกติ เพราะฉะนั้นทักษะการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจเฉพาะหน้า ย่อมเป็นสิ่งที่ทุกคนควรมี

4) Listening (การฟัง) : ไม่ใช่แค่พูดเก่ง พูดเป็นอย่างเดียว แต่การรับฟังผู้อื่นก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะการทำงานแบบทีมทุกคนล้วนมีสิทธิ์ที่จะออกความคิดเห็น หรือออกไอเดีย การรับฟังและพิจารณาหาสิ่งที่เหมาะสมที่สุดจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะฉะนั้นจงหัดฟังให้เป็น และรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นให้มาก

5) Critical thinking (การคิดแบบเหตุและผล) : ทักษะการคิดเป็นเหตุและผลค่อนข้างสำคัญในการทำงานที่มีหลายขั้นตอนหรือหลายคน หลายครั้งที่เราต้องวางแผนหรือตัดสินใจในการทำงานออกมาให้เหมาะสมที่สุด การคิดเป็นเหตุผลจึงควรจะถูกให้ความสำคัญ

6) Collaboration (การร่วมมือร่วมใจกัน) : การทำงานเป็นทีมถ้าทุกคนคิดคนละแบบ หรือมีเป้าหมายไม่ตรงกัน ก็อาจจะทำให้ผลลัพธ์งานออกมาไม่ดี หรือมีปัญหาระหว่างทางในการทำงาน เพราะฉะนั้นถ้าทุกคนมีความสามัคคีกัน มีความเข้าใจในเป้าหมายงานที่ตรงกัน และให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี ก็จะทำให้งานออกมามีประสิทธิภาพ และทำงานเป็นทีมอย่างมีความสุขและราบรื่นมากยิ่งขึ้น

7) Leadership (การเป็นผู้นำ) : ไม่ใช่ว่าทุกคนจะมีทักษะนี้ แต่ว่าคนที่ทำงานเป็นทีม ควรจะต้องเรียนรู้การเป็นผู้นำให้เป็น รวมถึงต้องสามารถเป็นผู้ตามได้ด้วย หลายครั้งที่การทำงานเป็นโปรเจกต์ จำเป็นจะต้องมีคนที่คอยนำและวางแผนให้กับทีม และต้องรับผิดชอบกับงานในส่วนของตัวเองให้ได้ เพราะฉะนั้นเราจึงควรมีความเป็นผู้นำในตัวเอง

 

ไม่ว่าจะทักษะหรือ Skill ไหนก็ตาม เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถพัฒนาและเพิ่มความสามารถให้กับตัวเองได้จากการเรียนรู้และฝึกฝน ถ้าอยากเก่งขึ้นและทำงานร่วมกับคนอื่นได้ง่ายขึ้น อย่าลืมหมั่นพัฒนาตนเองกันอยู่เสมอนะ

 

อ้างอิง : https://www.herzing.edu/blog/7-important-teamwork-skills-you-need-school-and-your-career

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง