หัวหน้า 6 ประเภทที่ลูกน้องเข้าขั้นเกลียด

หัวหน้า
ณ จุดหนึ่งของชีวิตการทำงาน เราล้วนต้องเจอกับหัวหน้าที่มีข้อบกพร่อง และเรามักบอกตัวเองว่า อนาคตเราจะไม่มีวันเป็นหัวหน้าแบบนั้นแน่นอน อย่างไรก็ตาม หัวหน้าที่แย่กลับถูกพบเจอได้เกลื่อนกลาดในที่ทำงาน 

ผลสำรวจหนึ่งที่จัดทำขึ้นโดย Barna Group (ร่วมกับ Leadercast) เผยว่า 40% ของพนักงานชาวอเมริกันคิดว่าตัวเองกำลังทำงานให้กับ”หัวหน้า”ที่เข้าขั้น “แย่”

ซึ่งนำไปสู่คำถามที่น่าขบคิดต่อว่า “หัวหน้าที่แย่” นั้นเป็นอย่างไร?

(และถ้าคุณเป็นหัวหน้า จะหลีกเลี่ยงยังไงได้บ้าง?)

1. The Buddy – หัวหน้า ที่ทำตัวเหมือนเป็นเพื่อนสนิท

หัวหน้าประเภทนี้อยากจะเป็นเพื่อนกับทุกคน แม้ความเฟรนลี่จะเป็นเรื่องน่าอภิรมย์ แต่ The Buddy มักสุดโต่งเกินไป จนสูญเสียความเคารพนับถือจากเหล่าลูกน้องในที่สุด

The Buddy มักเกิดกับ “หัวหน้ามือใหม่” ที่พึ่งเคยถูกโปรโมทขึ้นระดับนี้เป็นอย่างครั้งแรก โดยมีอดีตเพื่อนร่วมงานกลายสภาพเป็นลูกน้องในสังกัด (อยู่ภายใต้อำนาจการควบคุม) นั่นเอง

หลีกเลี่ยงการเป็น The Buddy ยังไง ?

เหล่าหัวหน้าต้องเข้าใจว่า “ระยะห่าง” เป็นสิ่งจำเป็นในการทำงาน ตั้งแต่แรกเริ่มควรเรียกทุกคนมาพูดคุยและขีด “เส้นแบ่ง” ความสัมพันธ์ให้ชัดเจนแต่เนิ่นๆ

2. The People Pleaser – หัวหน้าที่ต้องการเป็นที่รักของทุกคน

คืออยากเป็นที่รักและพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทุกวิถีทาง ซึ่งนำไปสู่การไม่สามารถ “ปฏิเสธ” (Say No) ใครได้เลย หรือไม่สามารถตัดสินใจอะไรยากๆ ที่กระทบผู้อื่นได้เลย

หลีกเลี่ยงการเป็น The People Pleaser ยังไง ?

ให้นำผลประโยชน์ส่วนรวมของทีมเป็นที่ตั้ง ระลึกเสมอว่าการ “Say No” ไม่ใช่จุดจบของโลก อันที่จริง หัวหน้ามักได้รับความเคารพนับถือเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ ถ้าตัดสินใจอะไรยากๆ ที่สุดท้ายย้อนมาส่งผลดีต่อกลุ่มโดยรวม

3. The Dictator – หัวหน้าจอมเผด็จการ

หัวหน้าประเภทนี้มักขู่คุกคามลูกน้องให้ทำในสิ่งที่ตนต้องการ และชอบบริหารจุกจิกในทุกเรื่อง (Micromanage) คนนอกอาจมองว่าอย่างน้อย The Dictator ก็ทำงานให้เสร็จได้ แต่เชื่อเถอะ หัวหน้าสไตล์นี้ไม่เวิร์คในระยะยาวแน่นอน 

หลีกเลี่ยงการเป็น The Dictator ยังไง ?

หัวหน้าที่ดีจะไม่บงการ “บังคับ” ลูกน้องให้ทำในสิ่งที่ต้องการ ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า ความกดดันและการออกคำสั่งอันเข้มงวดที่ถาโถมใส่ลูกน้อง ย่อมไม่เป็นผลดีต่อการให้ความร่วมมือ แถม “ซื้อใจ” ไม่ได้ด้วย

4. The Sleeper – หัวหน้าที่ทำตัวเฉยชา

หัวหน้าประเภทนี้มักเกิดขึ้นในช่วงที่สถานการณ์บริษัทเป็นไปด้วยดีอย่างต่อเนื่องจน “เคยชิน”

จนเมื่อปัญหาเกิดขึ้น The Sleeper จะรู้สึกกลัวการทำผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง ซึ่งบางครั้งนำไปสู่การไม่ตัดสินใจหรือลงมือทำ

หัวหน้าประเภทนี้ยังมีทัศนคติทำนองว่า “ถ้ามันยังไม่เสีย…แล้วจะซ่อมทำไม?”
(ถ้าปัญหายังไม่เกิด แล้วจะหาทางแก้ไขเตรียมไว้ทำไม?)

หลีกเลี่ยงการเป็น The Sleeper ยังไง ?

หน้าที่ของหัวหน้าคือการเป็น “ผู้นำ” ให้แก่ผู้อื่น ต้องหมั่นสอนงาน ชี้แนะ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับทีมเพื่อเพิ่ม Productivity และแรงจูงใจในการทำงานด้วย

และแม้ทุกอย่างจะราบรื่น แต่ก็ควรหา Plan B รองรับ หรือหาทางปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ

5. The Administrator – หัวหน้าที่ควบคุมทุกอย่าง

หัวหน้าประเภทนี้มักวุ่นตลอดวันกับงานธุรการยิบย่อยทั้งของตัวเองและผู้อื่น จะไม่มอบหมายงานให้ใครทำ (เพราะกลัวทำผิดพลาด) โต๊ะล้นไปด้วยเอกสารกองโต

The Administrator บางคนยังใช้งานยิบย่อยกองเท่าภูเขามา “ปิดบัง” งานหลักที่สำคัญที่สุดของตัวเอง (ที่ยังทำไม่เสร็จ) เพื่อไม่ให้ใครรู้ สุดท้ายปัญหาก็จะปรากฏอยู่ดี

หลีกเลี่ยงการเป็น The Administrator ยังไง ?

เชื่อเถอะ งานเอกสารกองเท่าภูเขามีมาให้คุณทำไม่หยุดหรอก แต่คุณสามารถบาลานซ์มันได้ ลองมอบหมายให้คนที่ไว้ใจและมีความสามารถไปทำแทน และเอาตัวเองไป “โฟกัส” กับงานสำคัญภาพใหญ่ของบริษัทแทน

6. The Alarmist – หัวหน้า จอมวิตก

หัวหน้าประเภทนี้มักตื่นตระหนกตกใจอยู่ตลอดเวลากับเรื่องอะไรก็ตามที่เข้ามา (แม้บางทีไม่ได้ซีเรียสเลย) ทุกอย่างดูเหมือนเร่งด่วนไปหมด และลูกน้องทุกคนต้องทำอะไรบางอย่าง “เดี๋ยวนี้”

The Alarmist มักกระโดดเข้าหาข้อสรุปเร็วเกินไปและตั้งความคาดหวังที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง (Unrealistic Expectation) แน่นอนว่าลูกน้องทุกคนที่รายล้อม “เครียด” ไปตามๆ กัน

หลีกเลี่ยงการเป็น The Alarmist ยังไง ?

การตื่นตระหนกบ้างเป็นเรื่องดี…แต่ก็ควรพอประมาณ ถ้ามากไปกลับส่งผลร้ายเพราะมันไม่ได้ช่วยสร้าง Creativity และ Productivity ที่ดีเลยในระยะยาว

The Alarmist ควรรู้ว่าเมื่อไรควรตื่นตกใจหรือ “เร่งด่วน” จริงๆ และเรื่องไหนที่ไม่สลักสำคัญนักก็ควรปล่อยผ่านเสียบ้าง

นอกจากนี้ การ “ตั้งเป้าหมาย” และเตรียมแผนสำรองไว้จะช่วยลดความวิตกกังวลจุดนี้ไปได้มากทั้งตัวหัวหน้าและลูกน้อง

และนี่ก็คือหัวหน้า 6 ประเภทที่ลูกน้องไม่ปรารถนา

แต่เราจะสังเกตได้ว่า หัวหน้าบางประเภทก็อาจเหมาะสมกับบาง “สถานการณ์”

บางครั้งต้องใจดี บางครั้งต้องออกคำสั่ง บางครั้งต้องปล่อยวาง บางครั้งวิตกกังวล 

สิ่งสำคัญคือการ “ทบทวน” ตัวเองและสถานการณ์รอบด้านอยู่บ่อยๆ และหาทางพัฒนาขึ้นทุกวัน ก็ทำให้เราเป็นหัวหน้าที่ดีขึ้นได้แน่นอน

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 76