5 ประเภทของ”เพื่อนร่วมงาน Toxic” ที่เจอได้ในทุกที่ทำงาน

เพือนร่วมงาน toxic
ความ Toxic ของเพื่อนร่วมงาน ถูกแสดงออกมาเป็นพลังลบบางอย่างที่เราสามารถสัมผัสได้ และทำให้การทำงานของเรากับเขาออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ลดลง หรือทำให้เกิดปัญหาการทำงานเกิดขึ้นแต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครกำลัง Toxic อยู่? มาลองดู 5 ประเภทของเพื่อนร่วมงาน Toxic ในที่ทำงานกัน

5 ประเภทของ "เพื่อนร่วมงาน Toxic" ที่เจอได้ในทุกที่ทำงาน

ไม่ต้องแปลกใจถ้าหากคุณรู้สึกไม่สบายใจกับเพื่อนร่วมงานที่ต้องทำงานด้วย เพราะจริง ๆ แล้วคุณอาจจะกำลังเจอเพื่อนร่วมงาน Toxic ใส่อยู่ก็เป็นได้

นอกจากความท้าทายในที่ทำงานจะเกิดจากเรื่องงานแล้ว ยังสามารถเกิดจากการทำงานร่วมกับคนอื่นได้อีกด้วย ซึ่งไม่ว่าเราจะทำงานที่ไหน เป็นที่แน่นอนว่าเราจะสามารถเจอเพื่อนร่วมงานได้หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่เพื่อนร่วมงานที่ดีมีน้ำใจไปจนถึงเพื่อนร่วมงาน Toxic ที่สร้างความไม่สบายใจในการทำงานให้กับเรา

 

ความ Toxic ของเพื่อนร่วมงาน ถูกแสดงออกมาเป็นพลังลบบางอย่างที่เราสามารถสัมผัสได้ และทำให้การทำงานของเรากับเขาออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ลดลง หรือทำให้เกิดปัญหาการทำงานเกิดขึ้น

แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครกำลัง Toxic อยู่? มาลองดู 5 ประเภทของเพื่อนร่วมงาน Toxic ในที่ทำงานกัน

📍ประเภทที่ 1: เพื่อนร่วมงานขี้นินทา (The Gossipmonger)

สังเกตได้ง่าย ๆ คนประเภทนี้จะชอบนินทาคนอื่นและส่งต่อข่าวสารหรือเรื่องเล่าที่บิดเบือนจากความจริง ซึ่งคำพูดของเพื่อนร่วมงานประเภทนี้ มักจะถูกพูดออกมาแบบไม่ได้กลั่นกรองความคิดมากนัก จึงทำให้มักเป็นคำพูดที่ไม่สามารถเชื่อถือได้ หรืออาจจะทำร้ายเพื่อนร่วมงานคนอื่นโดยไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นจึงต้องระวังและพยายามอย่าไปยุ่งเกี่ยวกับการตั้งวงนินทามากนัก

📍ประเภทที่ 2: เพื่อนร่วมงานที่ชอบควบคุม (The Micromanager)

เป็นเพื่อนร่วมงานประเภทที่ชอบควบคุมคนอื่น ไม่รู้จักพอในรายละเอียดของงานจนทำให้ภาพรวมของงานนั้นมีประสิทธิภาพที่ลดลง รวมถึงนิสัยที่ชอบควบคุมนี้ยังทำให้คนที่ต้องทำงานร่วมด้วยเกิดความไม่สบายใจได้อย่างง่ายดาย คนประเภทนี้มักจะไม่ไว้วางใจเพื่อนร่วมงาน และทำให้บรรยากาศของการทำงานนั้นเสียได้อย่างง่าย ๆ วิธีแก้ไขที่ดีที่สุดคือกำหนดขอบเขตการทำงานให้ชัดเจน และมีจุดยืนของตัวเองมากพอที่จะสร้างขอบเขตให้กับตัวเองกับเพื่อนร่วมงานประเภท

📍ประเภทที่ 3: เพื่อนร่วมงานขี้บ่น (The Constant Complainer)

เพื่อนร่วมงานประเภทนี้มักจะชอบบ่นทุกเรื่อง และร้องเรียงทุกอย่างตลอดเวลา ไม่เคยแสดงความคิดเชิงบวกออกมา แต่จะพยายามพูดหรืออธิบายแต่ความรู้สึกของตัวเองที่มองโลกในแง่ลบตลอดเวลา จนบางครั้งอาจจะทำให้คนรอบตัวรู้สึกดูดพลังลบเหล่านี้เข้าไปได้อย่างง่ายดาย และเกิดความไม่สบายใจในบทสนทนาในที่สุด เพื่อนร่วมงานประเภทนี้มักจะไม่ค่อยพอใจกับผลลัพธ์ของงานหรือไม่พอใจกับอะไรสักอย่างรอบตัวซึ่งทัศนคตินี้อาจจะทำให้ทีมไม่มีพลัง ไม่มีความกระตือรือร้น และกำลังใจถดถอยได้อย่างง่ายดาย

📍ประเภทที่ 4: เพื่อนร่วมงานหลงตัวเอง (A Narcissist)

เพื่อนร่วมงานประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับตัวเองเป็นที่หนึ่ง รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนที่ต้องได้รับสิ่งที่ดีที่สุด หลายครั้งที่จะถูกคนรอบข้างมองว่าไม่มีน้ำใจ และไม่มีความเข้าอกเข้าใจหรือเห็นใจผู้อื่น โดยนี้เพื่อนร่วมงานประเภทนี้จะแสดงออกมาคล้าย ๆ กับว่าจะชอบควบคุมสถานการณ์ทุกอย่างให้เข้าข้างตัวเองอยู่ตลอดเวลา พวกเขาอยากที่จะได้รับคำชมและต้องการความยอมรับอย่างมาก หากถูกเพิกเฉยใส่ อาจจะรู้สึกไม่พอใจเกิดขึ้นได้

📍ประเภทที่ 5: เพื่อนร่วมงานติดโซเชียลและการประจบหัวหน้า (Social Media Addiction and the Kiss-up Culture)

เหมารวมไปเลยกับคนประเภทสุดท้าย คนที่เสพติดการเล่น Social Media ในที่ทำงานอยู่ตลอดเวลา และชอบที่จะประจบหัวหน้าหรือคนที่ระดับสูงกว่าตัวเอง หลายครั้งที่เพื่อนร่วมงานที่มีนิสัยเหล่านี้สร้างบรรยากาศการทำงานที่ไม่สบายใจให้กับเพื่อนร่วมทีมคนอื่น ทำให้บรรยากาศเสียหลายครั้งเพราะใช้โทรศัพท์มากเกินไป ทำให้คนรอบตัววางตัวไม่ถูกเพราะจะชอบพูดจาประจบหัวหน้าตลอดเวลา หากเรากำลังพบเจอเพื่อนร่วมงานประเภทนี้อยู่ จงจำไว้ว่าทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด อย่าไปเล่นเกมกับพวกเขามากและทำให้ตัวเองโดดเด่นจากผลงานที่ดีจะดีกว่า

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

วิธีประเมินหัวหน้า
วิธีประเมินหัวหน้าอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาทั้งทีมและองค์กร
ในช่วงการประเมินผลการทำงานประจำปี นอกจากพนักงานจะถูกประเมินโดยหัวหน้าแล้ว หลายองค์กรยังเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถประเมินการทำงานของหัวหน้าตนเองได้อีกด้วย...
6 นิสัยสำคัญ
6 นิสัยสำคัญที่จะทำให้ปี 2025 เป็นปีที่ดีที่สุดของคุณ โดย Ali Abdal
ถ้าคุณกำลังมองหาวิธีพัฒนาตัวเองให้ชีวิตดีขึ้นในปี 2025 ลองมาดู 6 นิสัยสำคัญ ที่ Ali Abdal ผู้เชี่ยวชาญด้าน Productivity และเจ้าของช่อง YouTube ชื่อดังแนะนำไว้...
ลาพักร้อน
ก่อน "ลาพักร้อน" ต้องรู้ ! วิธีจัดการงานและตัวเองให้หยุดยาวอย่างสบายใจ 
ลาพักร้อนนี่แหละความสุขของพนักงานคงมีหลายคนที่ทำงานมาตลอดปี และอดทนรอเวลาที่จะได้ใช้วันลาของตัวเองเพื่อไปพักร้อนยาวๆ สัก 1 ทริป บอกเลยว่าการ “ลาพักร้อน”...