5 คำแนะนำจากปาก Elon Musk สู่ Ultra Productivity ใน 30 วัน

productivity
Productivity คือความสามารถในการทำงานหรือผลิตผลงานได้มากขึ้นในช่วงเวลาที่กำหนด โดยใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งมักวัดจากผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเปรียบเทียบกับเวลาหรือความพยายามที่ใช้

OK แหล่ะ มีวิธีการทำงานบางอย่างของ Elon Musk ที่เป็นข้อถกเถียงกันถึงความพอดี เช่น ทำงานหนักสัปดาห์ละ 90 ชั่วโมง หรือ นอนหลับคาออฟฟิศอยู่บ่อย ๆ แต่มีอยู่ “5 คำแนะนำ” ของ Elon Musk ที่เป็นที่ยอมรับทั่วไปในวงการธุรกิจ เพื่อบรรลุ Ultra (+smart) Productivity ในเวลาอันรวดเร็ว และเพื่อชีวิตการทำงานที่ตอบโจทย์ตัวตนของคุณมากที่สุด…เราไปดูพร้อมกัน

1) การประชุม

Elon Musk ไม่ถูกจริตกับการประชุม เขาจะหลีกเลี่ยงการประชุมเท่าที่เป็นไปได้ ลดความถี่การประชุมให้เหลือ “น้อยที่สุด” เท่าที่จะน้อยได้

การประชุม…โดยเฉพาะแบบทางการที่ต้องเรียกรวมสมาชิกทีมทุกคน ไม่เคยอยู่ใน Top Priority ของบริษัทเค้า นอกจากลดความถี่ประชุมแล้ว ยังลด “ขนาด” เช่นกัน โดยจะเรียกเฉพาะคนที่ “เกี่ยวข้องโดยตรง” เท่านั้นมาร่วม คนไม่เกี่ยวไม่ต้องเข้า

Elon Musk สร้างกฎขึ้นมาเลยว่า แม้คุณที่เป็นผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกำลังประชุมอยู่ แต่หากพบว่าคุณได้ตอบเนื้อหาการประชุมครบถ้วนแล้ว คุณสามารถ “ออก” จากการประชุมนั้นได้เลย เพื่อที่เนื้อหาจะได้พูดถึงประเด็นอื่นต่อ (ซึ่งคุณไม่เกี่ยวข้องโดยตรงแล้วนั่นเอง)

เขามองว่าการประชุมอยู่ขั้วตรงข้ามของ Productivity เพราะมันคือช่วงเวลาที่มีแต่คำพูด…ไม่ใช่การการกระทำ แม้คำพูดสวยหรูบรรเจิดแค่ไหน แต่การกระทำยังคงเป็น 0 เขาเรียกประชุมแบบนี้ว่า Fake Work คือดูเหมือนว่าคุณกำลังทำงาน มีความคืบหน้ามากมาย แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เลย

2) เรียงลำดับความสำคัญ

เราทราบดีว่าเค้าบริหารบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ๆ มากมาย เช่น Tesla, SpaceX, Neuralink…วันๆ หนึ่งคงต้องยุ่งเกินบรรยายแน่ๆ!!

เขาจึงต้องบังคับตัวเองให้ “จัดเรียงลำดับความสำคัญ” ของงาน โดยใช้กฎ 80/20 มาใช้ ปริมาณงานแค่ 20% แต่ให้ผลลัพธ์มากถึง 80%

แต่ในความจริงมันอาจเป็น 90/10 หรือแม้แต่ 95/5 ด้วยซ้ำ…โฟกัสเฉพาะงานที่สร้าง “มูลค่าสูงที่สุด” ให้แก่บริษัทเท่านั้น งานอื่นที่มีมูลค่ารองลงมาจะกระจายแจกจ่ายให้ลูกทีมคนอื่นแทน เป็นอีกเหตุผลที่ Elon Musk ให้ความสำคัญกับการจ้างพนักงานมากๆ เพราะคนนั้นต้องรับผิดชอบงานสำคัญๆ ที่เค้ามอบหมายให้นั่นเอง

เขาเคยกล่าวในงานรับปริญญาของ University of Southern California (USC) ว่า “Don’t waste time on stuff that doesn’t actually make things better.” อย่าเสียเวลาไปกับเรื่องที่ไม่ได้ทำให้อะไรๆ ดีขึ้น

3) การสื่อสาร 

Elon Musk มองว่า วิธีการสื่อสารของคนที่เป็นระดับผู้นำคือ บางครั้งต้องอย่าใช้ “คำย่อ” และ “คำเฉพาะ” (Acronyms & Jargons) ฟุ่มเฟือยจนเกินไป แม้ว่ามันฟังดูเท่หรือดูมีภูมิความรู้ก็ตาม เช่น

  • CPC ให้เขียนว่า Cost-per-click
  • WOM ให้เขียนว่า Word-of-mouth
  • BR ให้เขียนว่า Bounce rate
  • ETA ให้เขียนว่า Estimated time of arrival
  • POC ให้เขียนว่า Point of contact
  • Open the Kimono ให้เปลี่ยนเป็น เปิดเผยข้อมูล
  • S.W.A.T. Team ให้เปลี่ยนเป็น กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Experts)
  • Boil the Ocean ให้เปลี่ยนเป็น อย่าเสียเวลา (Don’t waste time)
  • Low-hanging fruit ให้เปลี่ยนเป็น ปัญหาที่ง่ายที่สุดในการแก้ไข
  • Chief cook and bottle-washer ให้เปลี่ยนเป็น พนักงานที่ดูแลรับผิดชอบหลายอย่าง

เขามองว่าคำเหล่านี้ มักไม่สามารถเข้าใจได้ในทันที เมื่อได้ยินปุ๊ป ต้องใช้สมอง “ตีความ” ไปอีกขั้นหนึ่ง สุ่มเสี่ยงเป็นพิเศษโดยเฉพาะเมื่อสื่อสารกับสาธารณชน / ลูกค้า / หรือแม้แต่พนักงานข้ามแผนก อาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดที่ไม่จำเป็นได้

4) วิธีคิดไอเดีย 

รักษาความเป็น “Beginner’s mind” ไว้เสมอ ทัศนคติยามที่เรายังเป็นมือใหม่ ยังพึ่งเริ่มต้นซึ่งเต็มไปด้วยไฟ ความฝัน ความทะเยอทะยาน ความสงสัยอยากรู้อยากเห็น

Beginner’s mind ยังเป็นช่วงเวลาที่เรามัก “ตั้งคำถาม” กับอะไรต่อมิอะไร จนอาจนำไปสู่การปฏิวัติวงการ เช่น เค้าตั้งคำถามสมัยทำ SpaceX ใหม่ๆ ว่า ทำไมแบตเตอรี่ถึงต้องแพง? นำไปสู่การผลิตแบตเตอรี่ที่เหมาะกับจรวดของบริษัท และลดต้นทุนลงได้มหาศาล 

นอกจากนี้ เขาไม่ละเลยการหาความรู้พื้นฐานผ่านการ “อ่านหนังสือ” Elon Musk มีนิสัยชอบอ่านหนังสือ 10 ชม./วัน ตั้งแต่สมัยเด็ก เคล็ดลับของเขาคือ “ต้นไม้แห่งสติปัญญา” 

เริ่มอ่านจากสิ่งที่เป็น “รากฐาน” สำคัญ ก่อนแตกแขนงกิ่งก้านออกไปเรื่องอื่น และจะอ่านเพื่อเติมความรู้ที่ขาดหายไป และเน้น “คุณภาพการอ่าน มากกว่า ปริมาณการอ่าน”

5) วิสัยทัศน์

“คิดการใหญ่เข้าไว้” คือสิ่งที่ Elon Musk บอกกับใครเสมอมา “ใหญ่” ของเขาคือระดับที่เปลี่ยนโลกของเราได้ 

เค้าเคยพูดกับสื่อไว้ว่า “I’m interested in things that change the world or that affect the future.”  ผมสนใจเรื่องที่เปลี่ยนโลกหรือที่มีผลกับอนาคตของเรา

แต่ละเรื่องที่ Elon Musk คิด…ไม่ใช่ความฝันระดับมนุษย์ปุถุชนธรรมดา 

  • ฝันไปสร้างอารยธรรมมนุษย์ที่ดาวอังคาร 
  • ฝันถึงรถยนต์ที่เปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้า
  • ฝันถึงการเชื่อมสมองคนเข้ากับคอมพิวเตอร์

เขาฝันและเชื่อมั่นมาโดยตลอดกับทุกสิ่งที่ทำ และคิดว่าอย่างน้อยที่สุด แม้สิ่งที่เค้าทำจะไม่สำเร็จทันคนรุ่นเขา แต่เด็กเจเนอเรชั่นถัดไปสามารถนำนวัตกรรมที่เค้าคิดค้นไปต่อยอดจนสำเร็จได้นั่นเอง

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ และมีความสุขกับงานในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 76