5 Key Workplace Trends เทรนด์ในที่ทำงาน ที่ควรรู้เอาไว้ก่อนเข้าสู่ปี 2024

ถึงมนุษย์งานที่ทำงานมาหลายปี และหลายคนที่เพิ่งทำงานมาได้ไม่นานและประสบพบเจอกับสถานการณ์ Covid-19 ที่ทำให้รูปแบบการทำงานของคนทั้งโลกเปลี่ยนไปอย่างเช่นเคย มาดูกันว่าในปี 2024 ที่สถานการณ์เริ่มกลับมาปกติสุด ๆ เทรนด์การทำงานในที่ทำงานจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง และเทรนด์หลัก ๆ ในช่วง 2024 จะมีอะไรบ้าง!

เพียงแค่ไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีหลากหลายสิ่งเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมการทำงานแทบจะทุกสายงาน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างบนโลกของเรา ไม่ว่าจะเป็นโรคภัยไข้เจ็บ หรือการเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนร่วมกับการทำงานของมนุษย์เป็นอย่างมาก

 

ไม่ว่าจะเป็นการเปิดตัว Generative AI หรือ AI Tool ที่เข้ามามีส่วนช่วยในการ Work Operation ในหลายสายงาน สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลก หรือเทรนด์สำคัญอย่างเทรนด์ Work From Home & Hybrid Working การทำงานทำงานจากที่บ้าน หรือการทำงานที่ไหนก็ได้ เพราะสถานการณ์บีบบังคับทำให้เราเจอกันได้น้อยลง ต้องเว้นระยะห่าง หลายสถานที่ทำงานทั่วโลกจึงเปลี่ยนกฎการทำงานอย่างมากมาย

 

อย่างไรก็ตามในปี 2023 ย่างเข้า 2024 นี้ สถานการณ์เริ่มกลับมาสู่สถานการณ์ปกติ ผู้คนเริ่มถอดแมสและใช้ชีวิตพบหน้าคร่าตากันได้โดยไม่ต้องกังวลเท่าเดิม มาดูกันว่า เทรนด์ของ Workplace จะเป็นอย่างไร และมีอะไรที่เราควรรู้ก่อนเข้าปี 2024

 

5 Key Workplace Trends ที่ควรรู้เอาไว้ก่อนเข้าปี 2024

สรุปจาก Forbes

 

กลับมาเข้าออฟฟิศบ่อยขึ้น

KPMG CEO Outlook Survey กล่าวว่า ภายในปี 2026 หัวหน้างานมากกว่า 64% ทั่วโลก จะปรับให้พนักงานกลับมาทำงานที่ออฟฟิศเหมือนปกติมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีและน่าเศร้าในเวลาเดียวกับสำหรับพนักงานหลาย ๆ คน บางบริษัทเริ่มกลับมาเข้าออฟฟิศ 5 วันต่อสัปดาห์เนื่องจากสถานการณ์กลับมาสู่สภาวะปกติ ซึ่งสิ่งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้พนักงานหลายคน ต้องปรับตัว ให้สามารถกลับมาเข้าออฟฟิศและทำงานออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนอย่างเดิมหรือมากกว่าเดิม

 

เปิดเผยเรื่องเงินเดือนต่อกันมากยิ่งขึ้น

ก่อนหน้านี้ที่พนักงานหลายคนรูดซิปปากไม่กล้าบอกเงินเดือนกันเองเพราะถือว่าเป็นสิ่งที่เป็นความลับ หรือ Confidential Personal Data ซึ่งตอนนี้ก็ยังมีหลายคนที่มีความเชื่อแบบนี้อยู่ เพราะการบอกเงินเดือนอาจจะทำให้เกิดปัญหาระหว่างบุคคลตามมาได้ อย่างไรก็ตาม ก็มีคนหลากหลายกลุ่มที่เริ่มเปิดเผยฐานเงินเดือน หรือมีการกำหนดเงินเดือนใน Job Description กันมากขึ้น เนื่องจากเป็นการโปร่งใสและแสดงถึงความเท่าเทียมกันใน Job Level รวมถึงเรื่องเงินเดือน ยังเป็นเรื่องที่สามารถนำมาปรึกษา หรือ Discuss เพื่อปรับให้เหมาะสมกันได้อีกด้วย

 

ซัพพอร์ต Mental Health และ Well-being กันมากขึ้น

เพื่อป้องกันการ Burnout ในการทำงาน การรักษาสภาพจิตใจของพนักงาน และความเป็นอยู่ที่ดี ได้รับสวัสดิการที่น่าพึงพอใจ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากขึ้น ทั้งในมุมของบริษัทผู้ว่าจ้างและผู้ถูกจ้างก็นำเอาปัจจัยด้านนี้มาเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจเลือกงานที่จะทำมากขึ้นอีกด้วย จาก Aflac WorkForces Report ครั้งที่ 13 มากกว่า 57% ของคนทำงานชาว US กล่าวว่าการ Burnout ส่วนใหญ่ เกิดจากการถูก Treat ในสถานที่ทำงาน หรือความเป็นอยู่ที่ไม่เหมาะสมและไม่แฟร์ในที่ทำงาน

 

Generative AI ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น

AI เริ่มเข้ามาเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการทำงานของพนักงานในหลากหลายสายงานและอุตสาหกรรม ไม่ว่าจำเป็นตำแหน่งหน้าที่ไหน หรือรูปแบบการทำงานแบบไหน ล้วนมี AI เป็นที่พึ่ง และเป็นที่ช่วยทุ่นแรงในการทำงาน อีกทั้งยังทำให้งานที่ออกมามีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย หลายบริษัทลงทุนในการทำการทดลองเกี่ยวกับ Generative AI และคิดค้น AI Tool ที่ช่วยเหลือในการทำงานด้านต่าง ๆ คาดว่าในปี 2024 จะมีอีกหลาย AI Tool ถูกคิดค้นออกมาให้พนักงานได้ใช้กันอีกมากขึ้นอย่างแน่นอน

 

ความรับผิดชอบต่อสังคมและโลกของเรา

พนักงานหลายคนเปลี่ยน Mindset ในการทำงานให้ดีต่อโลกมากยิ่งขึ้น สิ่งแวดล้อมรอบตัวเริ่มแย่ลงในทุก ๆ วันและทุกคนสามารถรับรู้ได้ หลากหลายบริษัทจึงเริ่มออกมารณรงค์เรื่องการรักษ์โลก และหาวิธีช่วยประหยัดพลังงานกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งในปี 2024 คาดว่าจะมีพนักงานที่ให้ความสำคัญกับบริษัทที่มี Mission ที่จะรักษาพลังงานมากยิ่งขึ้น

 

อ้างอิง: https://www.forbes.com/sites/drsamanthamadhosingh/2023/12/08/key-workplace-trends-you-need-to-know-for-2024/?sh=3154fc281427

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 42