4 ขั้นตอนจัดการความเครียดใน 7 นาที ด้วย Free Writing

เครียดอยู่เหรอ? เขียนลงไปในกระดาษดูสิด้วยเทคนิค Free Writing เพราะการเขียนช่วยให้หายได้

เทคนิค Free Writing คืออะไร?

  • เทคนิค Free Writing เป็นเทคนิคที่ถูกพัฒนาโดยนักเขียนหลายคน เช่น Dorothea Brande หรือ Peter Elbow ซึ่งในทีแรกเป็นเทคนิคให้นักเขียน เขียนงานออกได้โดยไม่ต้องหยุดคิดหรือกังวล แต่ในภายหลังเริ่มถูกนำมาใช้เพื่อช่วยให้ผู้เขียนสงบใจและจัดระเบียบความคิดของตัวเองได้ด้วย

Free Writing ช่วยเรายังไง?

  • ช่วยให้ความคิดในหัวเป็นระเบียบและชัดเจนมากขึ้น ช่วยลดความกังวลและอาการตื่นตระหนกได้นั่นเอง

4 ขั้นตอนง่ายๆ ในการทำ Free Writing

  1. หาสถานที่สงบๆ พร้อมกระดาษปากกา นั่งลงจับเวลา 7 นาที
  2. เขียนทุกสิ่งที่อยู่ในหัวออกมา พยายามเขียนให้ต่อเนื่องอย่าหยุด
  3. เขียนไปเรื่อยๆ ไม่ต้องกังวลอะไร ถ้าคิดไม่ออก ให้เขียนว่าคิดไม่ออก
  4. สามารถเปลี่ยนเรื่องราวที่เขียนไปได้ เรื่อยๆ ตามสิ่งที่อยู่ในหัวของเรา

การเขียน Free Writing มีจังหวะให้เลือกใช้ได้หลากหลายมาก เช่น

  • ตอนที่กำลังเครียด
  • ก่อนเข้านอน
  • หลังตื่นเช้า
  • ก่อนจะพรีเซนต์งาน ฯลฯ

ยิ่งถ้าทำให้เป็นนิสัยทุกวันยิ่งดีเลย (เช่น บางคนชอบนั่งสมาธิก่อนเข้านอน) ส่วนถ้าใครมีเวลาว่างมากกว่าหรือน้อยกว่า 7 นาที ก็สามารถทำได้นะ เลือกเอาที่เหมาะสมกับตัวเองได้เลย

ช่วงเวลาไหนที่รู้สึกว่าความคิดในสมองไม่ค่อยเป็นระเบียบ มีความฟุ้งซ่าน
การทำ Free Writing ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้ความคิดของเรา
กลับมาเป็นระเบียบมากขึ้นได้นะ

อ้างอิง http://peterelbow.com/about.html

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง