1 on 1 Feedback คืออะไร มีเทคนิคฟีดแบคอย่างไรให้ได้ผลจริง

1 on 1 Feedback

ได้โอกาสขึ้นเป็นหัวหน้าทั้งทีมีอะไรต้องทำอะไรหลายอย่าง ทั้งแก้ปัญหาในทีม และตัดสินใจเรื่องสำคัญ สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือการประชุมตัวต่อตัวกับลูกทีม ที่เรียกว่า 1 on 1 Feedback นั่นเอง

หลายคนได้ยินมาแล้วว่าต้องทำสิ่งนี้ แต่ว่าที่จริงมันคืออะไร ในบทความนี้ CareerVisa จะมาอธิบายให้ฟังถึงวิธีการทำ 1 on 1 Feedback ที่ดีพร้อมทั้ง ขั้นตอนการเตรียมตัวสำหรับหัวหน้าทีมให้ทำตามกันได้เลย

1 on 1 Feedback คืออะไร?

การทำ 1 on 1 Feedback คือการประชุมระหว่างน้องในทีมและหัวหน้าแบบตัวต่อตัว ที่จะช่วยให้ตัวเราเองรู้จักสมาชิกในทีมมากขึ้น ปรับความเข้าใจ ติดตามความคืบหน้าและช่วยให้น้องๆ ในทีมทุกคนพร้อมทำงาน โดยปกติแล้วจะจัดครั้งละประมาร 10-30 นาที ต่อสัปดาห์ ต่อคน โดยเลือกเวลาต่างกันไปตามความสะดวก

1 on 1 Feedback ช่วยอะไรบ้าง

จากการสำรวจของ Gallup การพูดคุยกันอย่างลึกซึ้งเป็นประจำทุกสัปดาห์เป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับหัวหน้าในการเพิ่มความผูกพันของพนักงานกับองค์กร เพราะการคุยแบบตัวต่อตัวช่วยให้คนทำงานเล่าสิ่งที่โดยปกติอาจไม่สามารถเล่าออกมาในที่ประชุมได้ และบรรยากาศที่ผ่อนคลายกว่าช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นต่อทั้งหัวหน้าและคนทำงาน

แต่หัวหน้าหลายคนยังทำได้ไม่ดี

อย่างไรก็ตาม หัวหน้าหลายคนทั้งใหม่และเก่ายังไม่มีวิธีการที่ชัดเจนในการประชุมแบบนี้ ส่งผลให้พลาดโอกาสสำคัญในการสื่อสารและทำให้การประชุมไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการพูโคุยฟีดแบค ที่อาจทำให้การคุยกัน 1 on 1 นั้นกลายเป็นสงครามขนาดย่อมไปได้ แถมยังไม่ได้แก้ปัญหาในทีมอีกด้วย

ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดนี้ ต่อไปนี้คือหลักการสำคัญที่จะช่วยให้คุณเตรียมตัว จัดการ และเพิ่มประสิทธิภาพการประชุมแบบหนึ่งต่อหนึ่งให้ได้ผลสูงสุด โดยขอแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ คือ

  1. เตรียมตัวก่อนการประชุม
  2. ระหว่างประชุม
  3. หลังประชุม

1. เตรียมตัวก่อนการประชุม

ตัวอย่างเช่น สมมติว่าคุณกำลังเตรียมการประชุมประจำสัปดาห์กับ น้อง A ที่เพิ่งเข้ามาทำงานใหม่ หนึ่งในสมาชิกทีมของคุณ ต่อไปนี้คือขั้นตอนการเตรียมตัวที่แนะนำ:

1.1) กำหนดเวลาให้เหมาะสม

เลือกเวลาที่เหมาะสมกับตารางงานของน้อง A หลีกเลี่ยงช่วงเวลาที่ยุ่งหรือเหนื่อย เช่น หลังการประชุมใหญ่ ควรเลือกช่วงที่ทั้งคู่มีพลังและพร้อมคุยอย่างมีโฟกัส โดยเวลาที่เหมาะสมในการประชุม 1 on 1 Feedback 

ช่วงเวลาที่เหมาะสม : ช่วงเย็นหลังส่งงานจบและรีแลกซ์แล้ว , วันที่งานค่อนข้างสบาย, ช่วงเวลาที่ไม่เครียดมาก, คุยสั้นๆ ก่อนเริ่มงาน 

ช่วงเวลาที่ไม่เหมาะ : ก่อนออกไปเจอลูกค้า , หลังประชุมใหญ่ , หลังทำงานมากหนักทั้งวัน , คุยทันทีหลังงานมีปัญหา

1.2) ตั้งวาระการประชุม (Agenda)

ก่อนเริ่มประชุม 1 on 1 ตัวเราในฐานะหัวหน้าจะต้องมีเป้าหมายในใจมาก่อนว่าต้องการอะไรแล้วค่อยวางโครงสร้างการประชุมที่ชัดเจน เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายนั้น เช่น

A. พูดคุยทั่วไป: เพื่อสร้างความสัมพันธ์ อัปเดทความสุขโดยรวมทั่วไป

B. ติดตามงานสำคัญ: ตรวจสอบความคืบหน้าและเป้าหมาย

C. แลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะ: เปิดโอกาสให้พูดคุยสองทาง

D. สรุปงานที่ต้องทำต่อไป: ตกลงหน้าที่และเป้าหมายสำหรับครั้งถัดไป

เนื่องจากการคุย 1 on 1 Feedback มีเวลาพูดคุยค่อนข้างสั้น หากว่าเลือกเป้าหมายมากเกินไปอาจทำให้คุยไม่ทัน ดังนั้นหัวหน้าควรเลือก Agenda ในใจมาอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้นว่าต้องการพูดคุยเรื่องอะไร แต่ถ้าไม่ได้มีเรื่องอะไรเป็นพิเศษก็ใช้ การคุยอัปเดทและให้ฟีดแบคตามมาตรฐานทั่วไป ก็ได้เช่นกัน

1.3) ทบทวนและเตรียมข้อมูล

ขั้นตอนสุดท้ายก่อนการประชุม คือการเตรียม Script ทบทวน Note จากครั้งก่อนเพื่อเตรียมคำถามหรือหัวข้อที่จะติดตามผล การเตรียมตัวล่วงหน้านี้ช่วยให้การประชุมมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะหัวหน้ามือใหม่ควรมี Agenda, Script ที่จะพูดกับน้องไว้คร่าวๆ เพื่อไม่ให้หน้างานจริงเกิดอาการสับสนจนออกนอกเรื่องไปไกล

2.ระหว่างการประชุม

เมื่อถึงเวลาประชุมแล้ว เป้าหมายของคุณคือการสื่อสารอย่างชัดเจน ตั้งคำถามที่กระตุ้นความคิด และเป็นผู้ฟังที่ใส่ใจ เน้นย้ำ “ฟังอย่างใส่ใจ”

2.1) เริ่มต้นด้วยการทักทายสร้างความสัมพันธ์ (ชมเปิดหัวก่อน)

เริ่มต้นด้วยการสนทนาเชิงบวก เช่น ชื่นชมงานที่น้อง A ทำได้ดี หรือพูดคุยเรื่องเบา ๆ เช่น กิจกรรมในวันหยุดที่ผ่านมา เพื่อสร้างบรรยากาศที่เปิดใจ

2.2) ติดตามงานสำคัญ

พูดคุยถึงความคืบหน้าในงานที่มอบหมาย พร้อมให้คำแนะนำหรือช่วยแก้ไขปัญหา และจด Next Step ของแต่ละเรื่องเอาไว้

2.3) การให้ข้อเสนอแนะ (Feedback)

ถึงเวลาที่ต้องให้ Feedback กันแล้ว ซึ่งแบ่งเป็น 2 ด้านคือ น้องฟีดแบคพี่ และ พี่ฟีดแบคน้อง

  • น้องฟีดแบคพี่ : ในฐานะหัวหน้า เราจำเป็นต้องเปิดใจถามไปตรงๆ เลย เช่น “น้องคิดว่าพี่มีอะไรที่ควรปรับปรุงเพื่อเป็นหัวหน้าที่ดีขึ้นไหม” แล้วหยุดตั้งใจฟังอย่างเดียว ไม่ต้องโต้ตอบใดๆ ทั้งสิ้นแล้วกลับมาพิจารณาอีกครั้งว่า คำแนะนำไหนที่ควรปรับตามได้หรือคำแนะนำไหนที่ไม่สามารถทำตามได้
  • พี่ฟีดแบคน้อง : ตัวเราเองฟีดแบคกลับ โดยมีเทคนิคคือ เน้นการพูดถึงพฤติกรรมหรือปัญหาในงาน ไม่ใช่ที่ตัวบุคคล เช่น แทนที่จะพูดว่า “คุณไม่รับผิดชอบ” ให้พูดว่า “คุณมาสายสองครั้งในสัปดาห์นี้ ซึ่งอาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของลูกค้า” และเสนอแนวทางแก้ไขอย่างชัดเจน ซึ่งสามารถใช้หลักการ Constructive Feedback ที่เรียกว่า SBI Model ได้เช่นกัน

2.4) สรุปและยืนยันความเข้าใจร่วมกัน

ก่อนจบการประชุม สรุปประเด็นสำคัญและให้ A และย้ำสิ่งที่ต้องทำต่อจากนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีข้อผิดพลาดในความเข้าใจ เขียน Next Step ร่วมกันคร่าวๆ ก่อนปิดประชุมว่าต่างคนต่างต้องไปทำอะไรกันต่อ

3.หลังการประชุม

การติดตามงานและไตร่ตรองหลังการประชุมก็สำคัญไม่แพ้ตัวการประชุมเช่นกัน สามารถทำได้ดังนี้

3.1) ส่งอีเมลติดตาม

สรุปประเด็นสำคัญและหน้าที่ทีทั้งตัวเราในฐานะหัวหน้า และ  A ต้องรับผิดชอบ เพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นร่วมกัน

3.2) ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน

ใช้เวลาทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้จาก A เช่น รูปแบบการสื่อสารหรือเป้าหมายในงาน เพื่อปรับปรุงการบริหารในอนาคตว่าเรามีข้อตกลงร่วมกันอย่างไร ทั้งหมดนี้เก็บไว้คุยใน 1 on 1 Feedback รอบถัดไปก็ได้เช่นกัน

4. ตัวอย่างความสำเร็จขององค์กรที่ระดับโลก

หลายองค์กรที่นำระบบ 1 on 1 Feedback มาใช้ในการบริหารทีมงาน พบว่าสามารถสร้างผลลัพธ์ที่โดดเด่นในด้านความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้าและพนักงาน ตลอดจนประสิทธิภาพของทีมโดยรวม ตัวอย่างที่น่าสนใจมีดังนี้:

4.1. Google: การสร้างวัฒนธรรมของการสื่อสารแบบเปิดใจ

Google เป็นหนึ่งในองค์กรที่ใช้เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน โดยหัวหน้าในทีมถูกฝึกให้ใช้เวลาประชุมตัวต่อตัวเป็นประจำเพื่อรับฟังความคิดเห็น สร้างความไว้วางใจ และช่วยแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นก่อนที่จะบานปลาย นอกจากนี้ Google ยังใช้ข้อมูลจากการประชุมเพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารที่ตอบโจทย์ความต้องการของพนักงาน
ผลลัพธ์: Google รายงานว่าความพึงพอใจของพนักงานเพิ่มขึ้นกว่า 30% ในทีมที่จัด 1 on 1 Feedback อย่างต่อเนื่อง

4.2. Microsoft: การพัฒนาและเรียนรู้ร่วมกัน

Microsoft ใช้เพื่อสนับสนุนวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้และพัฒนา โดยมุ่งเน้นการให้ฟีดแบคที่เน้นการสร้างสรรค์ และสนับสนุนพนักงานให้เรียนรู้จากความผิดพลาดผ่านการประชุมตัวต่อตัว
ผลลัพธ์:

  • พนักงานแสดงความมั่นใจในบทบาทของตนมากขึ้นถึง 40%
  • อัตราการลาออกในทีมที่ใช้ระบบนี้ลดลงกว่า 15%

4.3. Shopify: การเพิ่มความผูกพันและแรงจูงใจในงาน

Shopify ใช้เป็นเครื่องมือในการกระตุ้นแรงจูงใจและความผูกพันของพนักงาน โดยจัดประชุมเพื่อปรึกษาเป้าหมายการพัฒนาในอาชีพ และหาทางออกให้ปัญหาที่พนักงานเผชิญในงาน
ผลลัพธ์: Shopify พบว่าพนักงานมีคะแนน Employee Engagement Score สูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมถึง 20%

การนำตัวอย่างเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในองค์กรสามารถช่วยให้หัวหน้าทีมเห็นภาพว่า 1 on 1 Feedback ไม่ได้เป็นเพียง “กิจกรรม” แต่เป็น “กลยุทธ์” ที่ช่วยพัฒนาทั้งบุคลากรและองค์กรไปพร้อมกัน

สรุป

1 on 1 Feedback เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้หัวหน้ามือใหม่สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ยกระดับขวัญกำลังใจ และขับเคลื่อนทีมไปสู่ความสำเร็จ อย่ามองว่าเป็นเพียง “การประชุม” แต่ให้ใช้โอกาสนี้เพื่อเข้าใจสมาชิกในทีมอย่างลึกซึ้ง และช่วยให้พวกเขาก้าวไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตนเอง

.

อ้างอิงจาก : HBR.org

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

CEO of the year
อยากสำเร็จ อย่ารอคำว่าพร้อม ถอดบทเรียนจาก Lisa Su ถึงคนทำงาน เจ้าของรางวัล CEO of the year 2024 จากนิตยสาร Times
Lisa Su หรือเจ้าแม่แห่ง AMD ได้มีโอกาสให้สัมภาษณ์ ในรายการ View From The Top with Lisa Su: Chair and CEO of AMD โดย Stanford Graduate School of Business...
The One-Page Financial Plan
วิธีสรุปการเงินของคุณ ไว้ในแผ่นเดียว แค่ทำตามขั้นตอนนี้ จากหนังสือ The One-Page Financial Plan
สำหรับใครที่อยากจัดการ การเงินของตัวเองให้เป็นระเบียบกว่าเดิม วันนี้ CareerVisa อยากมาแนะนำการทำสรุปการเงินไว้ให้ครบ จบในแผ่นเดียว จากหนังสือ The One-Page...
สวัสดิการสำคัญ
เช็กลิสต์ 10 สวัสดิการสำคัญ ถามไว้ก่อนไปสมัครงาน
“สวัสดิการสำคัญ” ไม่แพ้เงินเดือน! หลายคนอาจโฟกัสที่ตัวเลขเงินเดือนเป็นหลัก แต่แท้จริงแล้ว สวัสดิการที่ดีสามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายและเพิ่มคุณภาพชีวิตได้อย่างมาก...