1 คำถามสัมภาษณ์งาน ทดสอบ Growth Mindset พร้อมวิธีการตอบ

อยากได้คนที่มี Growth Mindset มาอยู่ในองค์กร? มองหา Innovation เพื่อคงการเติบโตของธุรกิจ หลายๆที่ใช้วิธีลัดโดยการหาช่องทำทำงานร่วมกับ Startup ลักษณะหนึ่งของคนที่มี Growth Mindset คือการมอง Failure เป็น Feedback

วันนี้องค์กรทุกขนาดต้องมองหา Innovation เพื่อคงการเติบโตของธุรกิจ หลายๆที่ใช้วิธีลัดโดยการหาช่องทำทำงานร่วมกับ Startup  หรือตั้ง Corporate Venture Capital ในยุคที่ธุรกิจต้องเปลี่ยนแปลง ถ้ายังอยากคงความเป็นผู้นำทำให้เรื่องของการคัดเลือกคนที่มี Growth Mindset (อ่านเรื่อง Growth Mindset เพิ่มเติม) เข้ามาอยู่ในองค์กรทั้งเก่าและใหม่เหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญมาก

อยากได้คนที่มี Growth Mindset มาอยู่ในองค์กร?

ลักษณะหนึ่งของคนที่มี Growth Mindset คือการมอง Failure เป็น Feedback

1 คำถาม ที่ทิ้งไม่ได้คือคำถามที่เกี่ยวกับ ‘ความผิดพลาด’ 

What were your greatest failures?

คำตอบ วิธีตอบของ Candidate จะทำให้เราเห็นว่าเขามองเห็นช่องทางในการพัฒนาหรือเติบโตของตัวเองหรือไม่ โดยเราสามารถใช้ Checklist ต่อไปนี้ได้

  • พวกเขาสามารถเปลี่ยนมุมมองจาก ‘ความล้มเหลว’ ให้เป็น ‘โอกาส’
  • พวกเขา ‘แสดงออกถึงความรับผิดชอบ’ ในความล้มเหลวที่เกิดขึ้น หรือ ‘ผลักความรับผิดชอบ’

คำตอบที่เรามองหาคือคำตอบที่แสดงถึง ความรับผิดชอบ และ มุมมองที่คิดว่าความผิดพลาดนั้นๆ คือการเรียนรู้

ตัวอย่าง
ที่บริษัทของคุณมีการเปลี่ยนแปลง business planในองค์กร หัวหน้าของคุณลาออกและทำให้แผนกของคุณได้รับความสำคัญน้อยลง ส่งผลให้ Scope งานของคุณเองเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม งานที่คุณได้รับมอบหมายใหม่เป็นงานจากแผนกอื่นที่คุณเองก็ไม่ได้มีความสนใจ

Growth Mindset: มองหาโอกาสที่จะเรียนรู้และใช้ประสบการณ์จากแผนกใหม่มาพัฒนาธุรกิจทางด้านแผนกเก่าของคุณให้แข็งแกร่งมากขึ้น

Fixed Mindset: คุณเลือกที่จะโทษองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงแผนงานของคุณ ส่งผลให้คุณต้องลาออก เพราะคุณคาดว่าคุณไม่มีความถนัดพอที่จะรับมอบหมายงาน Scope ใหม่

Growth Mindset มาแล้ว…แต่องค์กรไม่มี Growth Mindset

การสร้าง Culture ที่สนับสนุน Growth Mindset ก็เป็นอีกสิ่งที่สำคัญ สภาพสังคมที่ทำงานที่เน้นเพียงความผลลัพธ์หรือความสำเร็จตลอดเวลา มากกว่าความพยายามของพนักงานในองค์กร และไม่ให้คุณค่ากับการเรียนรู้ที่ได้จากความล้มเหลว อาจทำให้พนักงานของคุณมี Mindset ที่ยึดติด มากกว่า Mindset ที่พร้อมจะพัฒนาองค์กรให้ทันสภาพแวดล้อมการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไป

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง