“ลาออก” เพราะอะไร? จะตอบคนสัมภาษณ์งานใหม่ยังไงดี?

ลาออก
ทำไมคุณถึง "ลาออก" จากที่เก่า? หนึ่งในคำถามสัมภาษณ์งานที่เรามีโอกาสได้เจอเมื่อกำลังจะหาทางย้ายงาน เปลี่ยนอาชีพไปหาที่ทางใหม่ๆ ในชีวิต แล้วเราจะตอบยังไงให้ได้ใจผู้สัมภาษณ์ และสามารถแสดงศักยภาพของตัวเองให้เขาเห็นได้ วันนี้ CareerVisa มีคำแนะนำมาฝากให้ได้ลองเอาไปปรับใช้กัน

ทำไมถึง “ลาออก” ผู้สัมภาษณ์เขาถามเราไปทำไมกัน?

แน่นอนว่าในทุกๆ คำถาม ผู้สัมภาษณ์เขาต้องการที่จะคัดคนที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานและองค์กรของเขาให้ได้มากที่สุด ในกรณีนี้เขาก็กำลังพยายามหาว่าเราคือคนที่เหมาะสมและพร้อมจะโตไปกับบริษัทของเขาหรือไม่ รวมทั้งมองหาสัญญาณที่บ่งบอกว่าเราคือคนที่มีความตั้งใจและพร้อมจะเติบโตในหน้าที่การงาน สามารถเข้ากับเพื่อนร่วมงาน วัฒนธรรมองค์กร และลูกค้าของเขาได้หรือเปล่า

4 สิ่งที่ต้องคำนึงไว้ในการตอบคำถามสัมภาษณ์งาน

  1. ตอบเหตุผลที่เราเลือกมาสมัครกับองค์กรนี้ โดยยกแง่มุมในการทำงานขององค์กรที่ทำให้เราอยากทำงานด้วยแบบเฉพาะเจาะจง ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตในหน้าที่การงาน โอกาสที่จะได้รับ วัฒนธรรมองค์กร ทัศนคติหรือความสามารถของหัวหน้าที่เข้ากับเรา สิ่งเหล่านี้จะช่วยโชว์ให้เห็นว่าเราทำการบ้านเกี่ยวกับองค์กรเขามาอย่างดี และองค์กรเขาสามารถตอบโจทย์การทำงานที่เราอยากทำได้
  2. เน้นย้ำถึงประสบการณ์และทักษะที่เราได้รับมา แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของตัวเราที่ทำให้เราเหนือกว่า Candidate คนอื่นๆ
  3. เลี่ยงการแชร์ข้อมูลที่เป็นส่วนตัวมากจนเกินไป และไม่พูดถึงด้านลบขององค์กรเดิม หรือเพื่อนร่วมงานในบริษัทเดิม
  4. ให้ข้อมูลหรือเหตุผลที่เป็นบวกเข้าไว้

ทำไมคุณถึงอยากเปลี่ยนงาน? ตอบคำถามยังไงดี?

ถ้าคุณลาออกเพราะ อยากเลื่อนขั้นไปทำงานในตำแหน่งที่สูงขึ้น
คำตอบ: พูดถึงข้อดีและโอกาสที่ได้ผ่านประสบการณ์ทำงานที่ท้าทายมา ยกตัวอย่างให้เห็นภาพและเน้นย้ำถึงทักษะ ประสบการณ์ และทัศนคติที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานที่สูงขึ้น

เช่น ฉันโชคดีมากที่ได้เริ่มต้นชีวิตการทำงานในบริษัท Start-Up เพราะมันทำให้ฉันได้มีประสบการณ์ทำงานที่หลากหลายได้ลองทำหลายหน้าที่ตั้งแต่ในงานแรกของฉัน ตอนนี้ฉันจึงอยากที่จะนำทักษะที่ได้เรียนรู้ มาใช้ในการทำงานในตำแหน่งที่สูงขึ้น


ถ้าคุณลาออกเพราะ งานน่าเบื่อ ไม่ชอบงานที่ทำอยู่
เหตุผลในการลาออกข้อนี้มาจากความเป็นไปได้ว่าเราอาจจะได้ทำงานที่ไม่เข้ากับทักษะที่เรามี ไม่ตรงกับความสนใจ หรือกระทั่งไม่ตอบโจทย์เป้าหมายในชีวิต

คำตอบ: อธิบายถึงสิ่งที่เราได้เรียนรู้และเติบโตจากประสบการณ์ที่ผ่านมา และตอนนี้เรากำลังมองหาทักษะและโอกาสในการทำงานที่ตอบโจทย์เป้าหมายของเรามากกว่าเดิม

เช่น ฉันเรียนรู้และได้ทักษะที่สำคัญในการทำงานที่ผ่านมาหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ทักษะในการสื่อสาร ทักษะในการบริหารเวลา แต่ในตอนนี้ฉันมองหาโอกาสที่ท้าทายมากกว่าเดิม เพื่อที่ฉันจะได้พัฒนาความสามารถในการเป็นผู้นำให้มากขึ้น


ถ้าคุณลาออกเพราะ อยากเปลี่ยนสายงานใหม่
คำตอบ: พูดถึงความสนใจที่มีต่อสายงานใหม่ และแสดงให้เห็นว่าเรามีการพัฒนาความสามารถของตัวเองเพื่อที่จะทำงานในสายงานที่ต่างออกไปได้


ถ้าคุณลาออกเพราะ งานหนักไปไม่มีเวลาให้ตัวเองเลย
คำตอบ: ในการตอบคำถามนี้ต้องไม่เป็นการสื่อสารว่า เราไม่ยินดีที่จะทำงานหนัก แต่ต้องสื่อสารถึงความสามารถในการรับผิดชอบการทำงานของตัวเองและแสดงให้เห็นวิธีการจัดการเวลาที่ทำให้เราทำงานได้มีประสิทธิภาพที่สุด รวมทั้งเน้นย้ำถึงความสำคัญที่องค์กรจะต้องให้คุณค่ากับเวลาของเรา

เช่น ฉันรู้ว่าฉันจะทำงานได้ดีเมื่อสามารถทำงานที่มีบาลานซ์ระหว่างการทำงานกับการใช้ชีวิตได้ ได้มีเวลาเป็นของตัวเอง ฉันสามารถวางแผนการทำงานในแต่ละวัน และเต็มที่ในช่วงเวลาของการทำงานให้งานออกมามีประสิทธิภาพที่สุด จึงมองหาองค์กรที่ให้ความสำคัญกับเวลาในทิศทางเดียวกัน


ลองเอาไปปรับใช้กับคำตอบในการสัมภาษณ์งานของตัวเองดูนะ : )

อ้างอิง
https://www.indeed.com/career-advice/interviewing/how-to-explain-your-reasons-for-leaving-a-job
https://www.thebalancemoney.com/job-interview-questions-and-answers-206120

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง