Sephora สวัสดิการดีไหม น่าทำงานด้วยอย่างไรบ้าง

Sephora ร้านบิ้วตี้ชั้นนำของโลกที่มีอยู่กว่า 2,700 สาขา ใน 35 ประเทศทั่วโลก แต่ภาพลักษณ์ร้านที่ดูสดใสเอเนอร์จี้บวกล้นทะลักขนาดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย…ถ้าไม่มีเบื้องหลังการบริหารพนักงานสไตล์ Sephora ที่มีอยู่กว่า 39,000 คนทั่วโลก ที่รวมทั้งศาสตร์ & ศิลป์ (Art & Science) เข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว

Sephora เทคแคร์ทีมยังไงให้ทำงานอย่างมีความสุข แบรนด์มีสไตล์ และลูกค้าแฮปปี้?

 

ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

 

การบริหารคนมักเกี่ยวข้องกับเรื่อง Soft skills ทั้งหลาย แต่การจะทำแบบนั้นได้แบบตรงจุดต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ถูกต้อง

 

อันดับแรกเลย Sephora จึงลงทุนกับการ เก็บข้อมูลทุกรูปแบบ (Data collection) ผลลัพธ์การตัดสินใจที่ถูกต้องมาจากการวิเคราะห์รอบด้าน และการวิเคราะห์รอบด้านมาจากวัตถุดิบฐานข้อมูลที่ถูกต้องและมีเยอะมากพอ 

 

เมื่อข้อมูลครบถ้วน Sephora ถึงค่อยนำมาพัฒนาสวัสดิการและออกแบบนโยบายที่ตอบโจทย์พนักงานต่อไป

 

จุดยืนแบรนด์ชัดเจน

 

วิสัยทัศน์ที่ฟังดูเรียบง่ายแต่ทรงพลังอย่าง “สู่การเป็นคอมมูนิตี้ด้านความงามที่ผู้คนรักมากที่สุด” (Be The Most Loved Beauty Community.)

 

แบรนด์ยังมีทัศนคติที่ชัดเจนว่า ความงามเกิดขึ้นเมื่อมีความหลากหลาย แต่ละคนมีความสวยในเอกลักษณ์แบบฉบับของตัวเอง ไม่ควรมีใครเอาไม้บรรทัดแค่แท่งเดียวมาเป็นมาตรฐานกลางในการใช้วัดคนอื่น

 

แนวคิดนี้นำไปสู่การเปิดรับพนักงานที่มีภูมิหลังหลากหลาย มีมุมมองต่อความครีเอทีฟที่ต่างกัน พร้อมเป็นผู้นำที่ฉายแสงการทำงานในแบบตัวเอง จนไปสู่การเปิดกว้างต่อผลิตภัณฑ์บิวตี้อันหลากหลายที่แบรนด์คัดสรรนำมาวางจำหน่าย

 

Sephora University

 

แบรนด์จัดทำพื้นที่แห่งการเรียนรู้ออนไลน์และออฟไลน์สำหรับพนักงานโดยเฉพาะ ไม่มีค่าใช้จ่าย เรียกว่า Sephora University เป็นเหมือนระบบเทรนนิ่งไปในตัว อัพเดท Insights ล่าสุดในวงการ และเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน

 

เมื่อร่วมเรียนไปได้ซักพัก หัวหน้างานจะรู้ว่าควร assign งานได้ตรงจุดตามความสามารถแก่พนักงานคนไหน และเป็นเครื่องมือในการคัดเลือก Talents เวลาต้องการโปรโมตสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น เพราะเนื้อหาภายในมีการแบ่งระดับขั้นการเรียนรู้ สำหรับระดับสูงสุด พนักงานต้องเข้าเรียนถี่และสอบให้ได้คะแนนมากกว่า 80%

 

Sephora Engagement

 

Sephora ให้ความสำคัญกับ Employee engagement สูงมาก แบรนด์มองว่านี่คือด่านแรกที่ต้องทำให้สำเร็จก่อนไปส่งมอบประสบการณ์ดีๆ แก่ลูกค้าต่อไป 

 

มีกิจกรรมที่หัวหน้าจะหมั่นพูดคุยกับพนักงานทุกระดับ มีการทำแบบสอบถาม ทำการสำรวจออนไลน์ หรือตระเวนแวะเวียนไปเยี่ยมถึงร้านสาขาและพูดคุยกับพนักงานแบบซึ่งๆ หน้า ในบางสนทนา อาจถูกยิงคำถามที่วัดกึ๋นความเป็นผู้นำ เช่น “ถ้าคุณได้ขึ้นเป็นผู้บริหารระดับสูง คุณจะเปลี่ยนแปลงองค์กรจุดไหนบ้าง?” 

 

กิจกรรมเหล่านี้ยังเป็นเครื่องมือค้นหา Hidden Gem คนเก่งที่มีแววฉายแสง และเป็นการตรวจสอบปัญหาภายในองค์กรไปในตัว ก่อนรีบแก้ไขไม่ให้บานปลาย

 

ทำให้ทุกวันเป็นเรื่องแปลกใหม่

 

แบรนด์รู้ว่า ถ้าสามารถสร้างสีสันกับสิ่งที่เป็นชีวิตประจำวันในการทำงานของพนักงานได้ ย่อมสร้างความสุข ความตื่นเต้นได้ไม่ยาก…โดยใช้งบที่ต่ำ

 

จึงเกิดตัวอย่างไอเดียกิจกรรม โดยจะแอบติดสติ๊กเกอร์ใต้ที่นั่งของพนักงาน และสุ่มผู้โ๙คดี 5 คนเพื่อไปรับรางวัลพิเศษ ลักษณะกิจกรรมและของรางวัลจะเปลี่ยนไปเรื่อย แม้จะไม่ได้มีมูลค่ามากมายอะไร แต่ก็มากพอที่จะทำให้พนักงานรู้สึกสนุกตื่นเต้นสดใหม่กับการมาทำงานแล้ว 

 

ซึ่งในเวลาต่อมา ไอเดียนี้ก็ถูกประยุกต์ใช้กับแคมเปญการตลาด ลูกค้า Sephora รับของขวัญวันเกิด หรือถูกเชิญมาร่วมงานอีเวนต์พิเศษ 

 

นอกจากนี้ จิตวิทยาพื้นฐานของมนุษย์ต้องการได้รับ การยอมรับ (Recognition) โดยพนักงานที่ทำผลงานได้สำเร็จ…แม้จะเล็กน้อยก็ตาม เป็นวัฒนธรรมองค์กรที่จะได้รับการชื่นชมจากคนอื่น เกิดเป็นห่วงโซ่ของการชมกันไปชมกันมา กลายเป็นบรรยากาศทำงานที่ชื่นใจ บูสท์ความคิดสร้างสรรค์ แฮปปี้กับการมาทำงาน

 

เพราะ Sephora มองว่าตัวเองเป็นอีกหนึ่ง People Business ต้องใส่ใจกับคนทั้งพนักงานภายในเองและลูกค้า ไม่แปลกเลยที่เราจะเห็นแบรนด์พยายามสรรหากลยุทธ์บริหารหรือแนวทางการปั้นคน 

 

เพราะการจะรุ่งใน People Business บางทีแบรนด์ต้องทรีตท์ People คนในองค์กรตัวเองให้ยอดเยี่ยมก่อน!

 

อ้างอิง

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง