เทคนิคมี “ความรักในที่ทำงาน” อย่างเป็นมืออาชีพ จาก Harvard Business Review

ความรักในชีวิตการทำงานมันก็ต้องมีกันบ้างแหละนะ แต่จะมีรักทั้งทีจะเหมือนตอนอยู่มัธยมก็คงจะไม่ได้ เพราะหน้าที่การงานเองก็สำคัญไม่แพ้กัน

วันนี้ CareerVisa อยากเล่าถึงบทความจาก Harvard Business Review โดยคุณ by Amy Gallo ที่เล่าถึงเรื่องการเข้าหาคนในที่ทำงานว่าจะจีบกันทั้งที จีบกันยังไงให้เป็นมืออาชีพ ไม่กระทบหน้าที่การงานและคบกันได้อย่างราบรื่น โดยสิ่งสำคัญที่คุณ Amy กล่าวไว้คือ คุณต้องเข้าใจบริบทของงานที่ทำอยู่เสียก่อน ซึ่งมีสิ่งที่ควรทำ และ ไม่ควรทำ จากประสบการณ์ของเธอ ดังนี้

สิ่งที่ควรทำ...

– ทำความเข้าใจความเสี่ยงของการจีบคนในที่ทำงานก่อนเริ่ม

– ทำความเข้าใจนโยบายของบริษัทให้รอบคอบ

– ปล่อยผ่านอย่างเป็นมืออาชีพ ถ้าหากความสัมพันธ์ไม่สามารถเป็นไปได้อย่างราบรื่น

– Less Drama = Less Problem

สิ่งที่ไม่ควรทำ...

– แกล้งจริงจังกับคนที่จีบ แต่จริง ๆ ไม่ได้จริงจัง

– เลือกที่จะจีบคนที่เราต้อง Report งานโดยตรงโดยตำแหน่ง

– พยายามหลบซ่อนความสัมพันธ์ไม่ให้เพื่อนร่วมงานหรือ Manager รู้ (อาจจะทำให้ความสัมพันธ์อึดอัดและแย่ลง)

แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะทำตามได้เป๊ะๆ คุณ Amy จึงเล่าถึงตัวอย่างเหตุการณ์จริงของคู่รักหลายๆ คู่ไว้ให้เป็นตัวอย่าง ดังนี้

😊Case Study 1 เปิดเผย : 

คู่รัก A, B เปิดเผย และบอกกับ HR โดยตรง และขอแยก Project ไม่ให้ทำงานใน Project เดียวกัน 

🤨Case Study 2 แอบซ่อน : 

คู่รัก C, D แอบคบกันแบบลับๆ โดยไม่บอกผู้อื่น แม้ว่าจะตื่นเต้นดี แต่ก็สร้างความเครียดให้ฝ่ายหญิงเช่นกัน 

🥲Case Study 3 เจ็บแต่จบ : 

คู่รัก E, F คบกันแต่การมีแฟนอาจส่งผลถึงการเลื่อนตำแหน่งของฝ่ายหนึ่งเนื่องจากนโยบายของบริษัท ทำให้สุดท้ายต้องเลิกกันและจบความสัมพันธ์อย่างเป็นมืออาชีพ 

สำหรับใครที่กำลังอยู่ในช่วยจิตใจว้าวุ่น ลองมองตัวอย่างเหล่านี้เป็นแนวทางไว้ได้นะ 

Happy Valentine จ้า

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง