พบกับ Management Trainee ไม่ว่าจะเป็นสายงานด้าน Product, Property, IT และ HR ที่ต้องบอกเลยว่าแต่ละคนนั้นมีเส้นทางอาชีพที่น่าสนใจมาก เพราะปัจจุบันพวกเขาได้ทำในสายงานที่ค่อนข้างจะไม่ตรงกับสิ่งที่เรียนกันมาเลย
ร่วมไขเคล็ดลับกันว่าแต่ละคนนั้นมีมุมมองการข้ามสายงานอย่างไร? และสร้างเส้นทางการเติบโตในสายอาชีพนั้นๆ กันได้อย่างไรบ้าง?
สรุปประเด็นสำคัญจาก MT Talk Series EP.1 เจาะลึกเส้นทาง ก่อนจะมาเป็น Product Management Trainee
คุณยุ้ยจบจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นหลักสูตรตรีควบโท (IBMP) ใช้เวลาเรียน 5 ปี
หลังจากจบแล้วจึงมาทำงานในสาย Accounting ในบริษัทน้ำมันแห่งหนึ่ง อยู่ 1.5 ปี ก่อนลาออกไปเป็นแอร์โฮสเตสของสายการบิน Singapore Airlines แม้แรกเริ่มคุณยุ้ยมีความฝันอยากเป็นแอร์โฮสเตส แต่คุณยุ้ยวางแผนไว้ว่าอยากทำงานนี้แค่ช่วงเวลานึงเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์เท่านั้น
เส้นทางก่อนจะมาเป็น Tesco Lotus Management Trainee
หลังจากนั้นสามปีจึงเริ่มมองหางานสาย Business ที่ไม่ใช่บัญชี เพราะรู้สึกงานที่เคยทำเป็นสิ่งที่ทำจับต้องไม่ค่อยได้ ยังไม่ตอบโจทย์ในการทำงานของตนเอง จึงมองหางานสาย Marketing, Management
ประกอบกับเพื่อนร่วมงานที่เก่ามาเป็น Management Trainee ที่ Lotus ได้แนะนำโปรแกรมนี้มา จึงสมัครเข้ามาร่วมโปรแกรม Tesco Lotus Management Trainee เมื่อปี 2018 เป็นจุดเริ่มต้นในสายงาน Product Management
เมื่อมาเข้าร่วมแล้วโปรแกรมแล้วเหมือนหรือต่างกับที่คิดไว้อย่างไรบ้าง
ก่อนที่จะเข้ามาทำเข้าใจว่า แผนก Product จะต้องทำตำแหน่ง Buyer ซึ่งจะมีทำหน้าที่ซื้ออย่างเดียว คือซื้อยังไงให้ได้ราคาถูก ซื้อแบบไหนที่ได้ราคาดี
แต่พอเข้ามาทำจริง แผนก Product ที่นี่เหมือนได้เป็น Product Manager ไปเลยมากกว่า เพราะเราไม่ได้มีหน้าที่แค่ซื้อ เราต้องคิดว่าควรจะขายอะไร ในร้านค้า Format ไหน เช่น Lotus Hypermarket, Lotus Express หรือ ตลาด ขายราคาเท่าไหร่ ทำโปรโมชั่นแบบไหน ช่วงไหน ยังไง มีการดูเรื่องการ Build Stock ในปริมาณที่เหมาะสม ดูแลไม่ให้เกิด Known loss (สินค้าเน่าเสียหรือหมดอายุก่อนที่จะขายได้) และมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบทั้งยอดขาย และกำไร
นอกจากนี้จะต้องประสานงานร่วมกับแผนกอื่นๆ ที่คอย Support เช่น ฝ่าย Supply Chain ช่วยดูเรื่องการสั่งซื้อสินค้า/สต็อกสินค้า ฝ่าย Marketing Communication ดูเรื่องการสื่อสารกับลูกค้า ต้องดีลทั้ง Internal และ External Stakeholders ทำให้ใช้ Collaboration Skills เยอะ
มีความท้าทายในการทำงานไหม
ที่นี่มี Dataให้ใช้เยอะ ดังนั้นต้องรู้จักวิธีนำข้อมูลที่มีอยู่มากมายนี้ไปวิเคราะห์ เอาไปใช้ต่อยอดให้เกิดประโยชน์ ไปใช้ Improve ส่วนงานต่างๆ ให้ได้อย่างทันท่วงที อีกอย่างคือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพราะสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาของแต่ละสินค้า เราไม่สามารถควบคุม หรือรู้ล่วงหน้า และแตกต่างกัน ทำให้ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าตลอดเวลา
ข้อดีของการเข้ามาทำ Management Trainee
จากการที่อยากทดลองทำงานที่ไม่ได้เรียนมา รู้สึกที่นี่ตอบโจทย์ เพราะได้ทำด้าน Management ตามชื่อจริงๆ ลักษณะงานไม่เป็น Routine จนเกินไป ทำให้ไม่น่าเบื่อ มีวิธีการทำงานแบบ Flexible ต้องทำงานตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เวลาเราทำอะไรไปแล้วจะเห็นผล เห็น Feedback ทันที ทำให้มีอะไรใหม่ๆ เข้ามาให้ได้คิดวิเคราะห์เสมอ แม้จะทำงานที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขแต่ได้มุมมองการทำงานกว้างขึ้น มีการทำการตลาดด้วย เห็นผลไว จับต้องได้มากกว่าการทำบัญชีแบบที่เคยทำที่โฟกัสอยู่แค่ตัวเลข งานนี้จึงเป็นงานที่ท้าทายและสนุก
Management Trainee เหมาะกับคนแบบไหน
คนที่สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้ดี ชอบที่จะทำงานเป็นทีม รับฟังความเห็นคนอื่น เพราะต้องร่วมงานกับหลายฝ่ายมากทั้ง Internal และ External รวมถึงต้องมีทักษะการสื่อสาร การเจรจาต่อรอง (Negotiation Skill) เป็นต้น
และอย่างที่เคยกล่าวไปคือ ที่นี่มี Data เยอะ ดังนั้นอีกทักษะที่สำคัญคือ Analytical Skill ทักษะการวิเคราะห์ ต้องรู้ว่าจะเอาข้อมูลมาทำอะไร นำไปใช้ทำอะไรต่อได้ มี Logic ในการคิด ชอบตั้งคำถาม มีมุมมองในการคิดวิเคราะห์ ไม่จำเป็นต้องเก่งเลข แต่ต้องรู้จักใช้ Data ให้เป็น คิดวิเคราะห์ ใช้โปรแกรมพื้นฐาน เช่น Excel ให้คล่อง สามารถเอา Data ที่มีมาตั้งสมมุติฐาน ทดสอบ และประเมินผลได้ ถือเป็น Step ที่ฝึกฝนการเป็นเจ้าของกิจการจำลอง ภายใต้ KPI ที่ต้อง Deliver ให้บริษัท
ทักษะที่ได้หลังจากมาทำ Management Trainee
- การทำงานเป็นทีม (Collaboration Skill)
- ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์จากข้อมูล (Analytical Skill)
- ฝึกการเจรจาต่อรอง (Negotiation Skill) เพราะต้องดีลกับ Vendors
- ฝึกพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) ซึ่งถ้าเรามองว่า Category ที่เรารับผิดชอบนั้นเป็นของเรา ก็เหมือนว่าเราได้ดูแลธุรกิจนั้น ได้ฝึกทดลองเป็นเจ้าของธุรกิจ เพราะเรามี Resource ในมือ มีอำนาจการตัดสินใจและมี Scope ให้ได้ทดลองในระดับหนึ่ง
Rotation งานอะไรมาบ้าง
คุณยุ้ยเล่าว่าได้มีการ Rotation งานทั้งหมด 3 ตำแหน่ง โดยในรุ่นของคุณยุ้ยจะแบ่งอายุงานเป็น 6:8:8 (ตำแหน่งแรกใช้เวลา 6 เดือน 2 ตำแหน่งที่เหลือใช้เวลาตำแหน่งละแปดเดือน) โดยมีรายละเอียดที่ได้ของแต่ละตำแหน่งดังนี้
- ตำแหน่งแรก : Trade Plan เป็นตำแหน่งแรกที่เข้ามาทำ ซึ่งฝ่ายนี้จะเป็นตัวกลางที่ประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ เช่น Product, Marketing, Supply Chain, Operation บทบาทคล้าย Coordinator ที่คอยเป็นตัวกลางช่วยทำให้สิ่งที่คิดเกิดขึ้นได้จริง การมาทำฝ่ายนี้ทำให้มองภาพรวมได้ชัดเจน เห็นภาพกว้างๆ ของการทำงานในทุกๆ ส่วน
- ตำแหน่งที่ 2 : Buyer แผนก Fresh Food ซึ่งอาหารสดจะมีแบ่งย่อยไปอีกเยอะมาก เช่น กลุ่มผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ Seafood Bakery ฯลฯ คุณยุ้ยได้เข้ามาทำในกลุ่มสินค้า Chilled Convenience (กลุ่มอาหารสดอายุสั้นที่แช่ในตู้เย็น) ซึ่งรายการสินค้า (SKU:Stock Keeping Unit) ที่ต้องรับผิดชอบก็จะต่างกันไปตามแผนก อย่างแผนกที่คุณยุ้ยรับผิดชอบจะได้ดูประมาณ 200-300 รายการ
ความแตกต่างของ Trade Plan กับ Buyer คือ Trade Plan จะไม่มี Product ที่รับผิดชอบเป็นของตนเอง ทำหน้าที่เป็นคนกลางในการประสานงาน ส่วน Buyer จะเป็นคนดูและตัดสินใจการบริหารจัดการสินค้า มี KPI ที่เกี่ยวกับ Product ที่ตัวเองเป็น Owner นั่นเอง
- ตำแหน่งที่ 3 : Buyer แผนก Dry Grocery Food (กลุ่มถั่ว Snack แป้งขึ้นรูป) แม้จะเป็นตำแหน่ง Buyer เหมือนกัน แต่ๆละแผนกจะมีรายละเอียดของงานไม่เหมือนกัน มีจุดเด่น หรือสิ่งที่ต้องระวังต่างกัน อย่างแผนกนี้จะมีความท้าทายอีกแบบนหนึ่ง คือ สินค้าจำพวกขนม เป็นสินค้า Impulse ที่จะต้องติดตามโปรโมชั่นอย่างใกล้ชิด เพราะจะมีการเปรียบเทียบ Sales ของช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ต้องบริหารว่าจะออกโปรโมชั่นแบบไหน ดูว่าจะทำโปรเท่าเดิมหรือแรงกว่าเดิม, ดูว่า Category ไหนมี Vendor ช่วยซับพอร์ตมั้ย ซึ่งแต่ละ Category จะมีความแตกต่างกันไป ต้องบาลานซ์ทุก KPI ทั้ง Sales และ Margin
ทุกๆ Rotation ที่จบจะมีการประเมินจากพี่ๆ ในรุ่นคุณยุ้ยจะมีความพิเศษคือ ตอนที่ Present ผลงานหลังจบ Rotation ที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงคาบเกี่ยวกับ Rotation ที่สามที่ขณะนั้นได้ทำไปแค่ 2 เดือน ก็ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น Permanent Role เลย เพราะหัวหน้ามองว่ารุ่นนี้พร้อม มี Performance ที่ดี ทำให้ได้ลง Role โดยใช้ระยะเวลาแค่ 16 เดือน จาก 24 เดือน โดยคุณยุ้ยได้มาเป็น Buying manager ของ Imported Food
ความโชคดีของการเป็น Management Trainee ที่นี่คือ ที่นี่ได้ทำงานจริง รับผิดชอบงานเหมือนพนักงานในตำแหน่งนั้นทุกอย่าง ทำให้มีพื้นฐานการทำงานที่ดีเป็นทุนเดิม จึงไม่ต้องปรับตัวมากนัก เมื่อเข้ามาทำงานจริงส่วนที่ต้องเรียนรู้ใหม่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับแต่ละสินค้า ที่มีความแตกต่างกันเท่านั้นเอง
ในแต่ละสัปดาห์ทำอะไรบ้าง
การทำงานที่นี่จะดู Sales เป็นรายสัปดาห์ ดูว่ามีอะไรที่ดี ไม่ดี จะแก้ไขยังไง ในขณะเดียวกันก็ต้องคอยดูว่า ในตลาดมีสินค้าอะไรที่น่าสนใจ น่าขาย ต้องนำมาขายให้ทันตลาด, ดูว่าเราจะทำ Event หรือโปรโมชั่นอะไรที่สามารถจะดึงลูกค้ามาซื้อได้, คอยติดตามข้อมูลว่ามีอะไรที่ผิดแปลกไป มีอะไรที่เราควรปรับปรุง พัฒนา ส่วนการประสานงานหลักๆ คือจะประสานกับฝ่าย Trade Plan ซึ่งจะเป็นผู้ประสานงานกับ Internal Stakeholders อื่นๆอีกที
คุณยุ้ยยกตัวอย่างการทำงานใน Role ที่ 2 กับสิ่งต้องทำตั้งแต่ต้นจนจบใน 1 สัปดาห์ คือจะต้องดูทุกแง่มุมในทุกๆ KPI ตั้งแต่การติดตามยอดขาย, กำไร, สินค้าคงเหลือ อย่างแผนกอาหารสดก็จะมีวิธีการจัดการสินค้าที่มีบางส่วนแตกต่างจากแผนกอื่น เช่น
- ต้องดูแลเป็นพิเศษเรื่องการจัดการสินค้าอายุสั้นไม่ให้เกิด Known Loss
- ดูแลเรื่อง การเคลียร์สินค้าสด โดยลูกค้าจะซื้อสินค้าได้ในราคาถูกลงเนื่องจากเหลืออายุใช้งานน้อยลง
- การทำ BAD : การทำลายสินค้าที่หมดอายุ
และมีส่วนที่คล้ายแผนกอื่นๆ เช่น
- การประเมินว่าสินค้าตัวไหนขายดี ขายไม่ดีเพราะอะไร จะพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาอย่างไร โดยใช้วิธีการดึงข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องมือต่างๆที่มี
- การมองหา Opportunity คือหาสินค้าที่น่าสนใจมาขาย เพื่อที่จะทำให้ให้ Margin Mix (ยอดขายโดยรวมของพอร์ตสินค้าที่เรารับผิดชอบอยู่) ดีขึ้น
- การสื่อสาร ดูว่าต้องซับพอร์ตใคร ยังไง พูดคุยกับ Vendor ว่าเราจะแก้ปัญหาได้อย่างไร
การคัดเลือกเข้าโครงการ Management Trainee
คุณยุ้ยได้อธิบายการเข้าร่วมโครงการคร่าวๆ ไว้ดังนี้
- สมัครเข้าร่วมโครงการ พร้อมส่ง Presentation 1 หน้า
- Open House จะมีการแนะนำแต่ละแผนกของ Management Trainee แต่ละแผนก 8 แผนก
ได้แก่ Product, Marketing, Property Management, Supply Chain, IT, People, Online Business และ Finance
มีทำ Group Activity กับ Short Interview เล็กๆน้อยๆคนละ 5 นาทีก่อนกลับบ้าน - ทำ Online Test มีทั้งทดสอบทักษะภาษาอังกฤษ และ Logic Test
- Final Interview ช่วงเช้าจะมีโจทย์ Business Case ให้ทำ มี Group Discussion และ Present กับกรรมการในช่วงเช้า และช่วงบ่ายจะเป็น Individual Interview คนละ 30 นาที – 1 ชั่วโมง
คำแนะนำสำหรับคนที่อยากเป็นสมัครเป็น Management Trainee
ไม่ว่าจะสนใจสมัครงานในธุรกิจไหน ควรมีการศึกษาข้อมูล ว่าแต่ละที่มีข้อดีข้อเสียอย่างไร ในฐานะผู้บริโภค เช่น ไปเดิน supermarket ต่างๆ แล้วสังเกตดู ถ้าตอบได้แสดงว่าเราเตรียมความพร้อมมา นอกจากนี้การสัมภาษณ์จะมีเรื่องการให้แสดงความเห็นซึ่งไม่มีผิดถูก ซึ่งการหาข้อมูลมาก่อนนอกจากจะทำให้เราตอบคำถามได้ง่ายขึ้น ยังทำให้เรารู้ตัวเองด้วยว่าชอบบริษัทหรืออุตสาหกรรมนั้นหรือไม่
สรุปประเด็นสำคัญจาก MT Talk series EP.2 เจาะลึกเส้นทาง ก่อนจะมาทำ Property Management
คุณเต็ม จบปริญญาตรีจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาการธนาคารและการเงิน (Banking and Finance) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากจบคุณเต็มเริ่มทำงานตรงสายในบริษัทหลักทรัพย์ และไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้าน MBA ในสาขา Finance
หลังจากเรียนจบจึงกลับมาทำงาน Corporate Finance ในบริษัท StartUp ที่ดูแลเกี่ยวกับ Financial Technology Platform ซึ่งจะต้องมีการทำ Feasibility (การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการลงทุน) โดยเป็นผู้ประเมินว่า หากลงทุนกับบริษัทต่างๆ จะได้ผลตอบแทนมากน้อยแค่ไหน, ทำ Financial Model เป็นการประมาณการณ์ และดูผลประกอบการ
เส้นทางก่อนจะมาเป็น Tesco Lotus Management Trainee
จุดเปลี่ยนคือคุณเต็มรู้สึกว่าตนเองไม่ชอบงานที่มีความนามธรรมมากเกินไป กล่าวคือ ลักษณะของงานเกี่ยวกับการดู Investment ต้องประเมินมูลค่าธุรกิจจากสมมติฐาน หรือตัวงาน Corporate Finance ก็เป็นการทำเรื่องคำนวณความเป็นไปได้ทางการลงทุน (Feasibility) ซึ่งจับต้องได้ยาก จึงรู้สึกอยากลองย้ายสายเข้ามาทำงานที่จับต้องได้ คุณเต็มจึงมองการทำ Management Trainee เป็น 1 ในเป้าหมายที่อยากจะลองสมัครดู เมื่อเห็นประกาศรับสมัครจึงลองมา Challenge ตัวเองด้วยการสมัครมาเป็น Management Trainee ที่ Tesco Lotus
Property Management คืออะไร
Property ของโลตัสจะไม่เหมือน Property ของฝั่งอสังหาริมทรัพย์ซะทีเดียว เพราะโลตัส จะมีการซื้อมาขายไปในลักษณะ Hypermarket ถ้าถามว่าคนที่ดูแลว่าจะขายของได้ยังไง นั่นคือหน้าที่ของ Property เพราะ Property จะต้องเป็นผู้ที่บริหารจัดการทรัพย์สินของ Tesco เป็นผู้สร้างช่องทางขายให้กับทุกทีม
Property Management ดูแลเรื่องการขยายสาขาเพื่อเพิ่มยอดขายให้กับโลตัส ซึ่งเป็นการทำงานแบบ End-to-End ทุก Format ตั้งแต่ Hypermarket, ตลาด จนถึง Lotus Express โดยต้องดูตั้งแต่การหาสถานที่ การคำนวณว่าต้องสร้างใหญ่ขนาดไหน ขายใคร ลงทุนเท่าไหร่ ไปจนถึงการสร้างจริง ดูแลร้านค้า การรักษาสภาพ การรีโนเวท การอำนวยความสะดวกในการให้บริการ ซึ่งต้องคอยพัฒนาปรับปรุงให้ตอบโจทย์ลูกค้าที่มาใช้บริการให้มากที่สุด
คุณเต็มได้กล่าวอีกว่า ปัจจุบันนี้มีการขายของออนไลน์มากขึ้นก็จริง แต่สิ่งจับต้องได้ ยังคงเป็นสิ่งที่ไม่ตายอย่างร้านค้าแบบดั้งเดิมที่เรียกว่า Brick and Mortar ซึ่งเป็นส่วนงานของ Property Management นั่นเอง
Property Management แบ่งเป็นกี่ประเภท
Property Management เป็นทีมใหญ่มาก จะแบ่งออกเป็น 5 ทีมหลัก เรียงตาม Journey ได้แก่
- Property Research : ฝ่ายเลือกทำเล เป็นผู้ทำกลยุทธ์ และประเมินว่าที่นี่ เมืองนี้ เราควรเปิดสาขาที่ไหน ขนาดเท่าไหร่ รองรับได้กี่คน
- Property Acquisition : ฝ่ายเลือกซื้อที่ เป็นทีมทหารที่ลุยไปดีล Location ตามแผนที่ฝ่าย Research วางไว้ ต้องเข้าไปคุย ติดต่อประสานงานกับเจ้าของที่ รวบรวมจนกว่าจะจบดีล ซึ่งจะเป็นการซื้อหรือเช่าก็ได้
- Property Service : ฝ่ายออกแบบและสร้าง ดูเรื่องการวาดแบบ การก่อสร้างร้านขึ้นมา และจะต้องทำการคำนวณดูต้นทุน ดู New Initiative ใหม่ๆ และต้องดู Feasibility ว่าคุ้มหรือไม่คุ้ม ทั้งขนาดร้านค้า และงบประมาณที่ใช้
- Malls : ฝ่ายร้านค้าเช่า ดูแลจัดการร้านค้า หาร้านค้าเช่า ร้านอาหารต่างๆ ที่อยู่ในห้าง
- Facility Management : ฝ่ายรักษาคุณภาพของสถานที่ คอยดูแลเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกในแต่ละสาขาให้มีความพร้อมที่จะใช้งาน พร้อมรับลูกค้า เช่นเรื่อง ระบบไฟ แอร์ เป็นต้น
Rotation ในสายงาน Property
สำหรับฝั่ง Property การทำงานในโปรแกรม Management Trainee ใช้ระยะเวลาทั้งหมด 2 ปี โดยจะหมุนเวียนไปทำเกือบทุกฝ่ายเรียงตาม Journey ฝ่ายละ 6 เดือน คุณเต็มได้มาแชร์ประสบการณ์ในการฝึกทั้งหมด 4 แผนก ให้ฟังดังนี้
1. Property Research : วิเคราะห์ว่าตรงไหนคือที่ๆดีสำหรับการสร้างสาขาโลตัส โดยช่วงแรก Lead Role (Manager) จะให้เราเรียนคอร์ส Intensive ทุกอย่างเพื่อปูพื้นฐานความรู้ให้แน่นก่อนจนจบ หลังจากนั้นจะมอบหมายงานที่เรียกว่า “ชี้จุด” คือการประเมินและค้นหาสถานที่ โดยต้องชี้จุดให้ได้ตามเป้าว่าจะต้องทำให้ผ่านทั้งหมดกี่จุด โดยได้ทำทั้ง Desktop research และการลงพื้นที่สำรวจสถานที่จริงๆ
2. Property Acquisition : ที่นี่คือ Pro Execution คือให้ลองทำงานจากของจริง Empower Management Trainee มาก ตอนนั้นคุณเต็มก็ได้ฝึกเจรจาต่อรองกับเจ้าของที่จริงๆ และสถานที่ๆ ดีลได้ก็ถูกนำไปสร้างเป็นห้างร้านขึ้นจริงๆ
3. Property Service : เป็น Role ที่คุณเต็มทำอยู่ ณ ปัจจุบัน ซึ่งจะมีโอกาสได้ทำโปรเจคที่ท้าทายในรูปแบบต่างๆ เช่น คุณเต็มเคยทำ Special Project เรื่องการนำเอาห้างเล็กไปสร้างตรงที่จอดรถจะเป็นยังไง จะต้องศึกษาข้อมูล ทั้งกฎหมาย ดูแบบ แล้วไปนำเสนอให้ผู้บริหาร ซึ่งต้องดีลกับหลายฝ่ายมาก เช่น สถาปนิก นักกฎหมาย วิศวกร ฝ่าย Operation ผู้จัดการสาขา คุยกับทุกแผนก เน้นดูแล Internal Stakeholder เพื่อให้โปรเจคสร้างขึ้นมาให้ได้ ตอนนี้คุณเต็มดูแลการ Renovate และทำสาขาเดิมให้ดีขึ้น คำนวณว่าลงเงินเท่านี้คุ้มมั้ย ได้ผลตอบแทนภายในกี่ปี เป็นต้น ซึ่งมีความจับต้องได้จริงๆ เพราะว่าต้องนำสิ่งที่คิดไปสร้างจริง ขายจริง
4. Malls : ดูแลผู้เช่าร้านค้า เรียนรู้เรื่องการทำ Malls Improvement ดู Data ดูยอดขายว่าดีหรือไม่ดี แล้วเอา Tools มา Monitor เพื่อใช้ข้อมูลไปพูดคุยแก้ปัญหา โดยต้องไปคุยกับทั้งสาขา เมเนเจอร์ ลูกค้า ดูพอร์ตของร้านค้า (Tenant Mix) ประเมินว่าจำนวนห้องเช่าทั้งหมด ควรต้องมีอะไรให้ตอบโจทย์ลูกค้าที่สุด พยายามหาร้านค้าที่ถูกใจ เพื่อทำให้ฝั่งร้านค้าเพิ่มยอดขายได้ เป็นต้น
ทักษะที่ได้ฝึก
- ฝึกทักษะหลากหลายมากๆ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของที่นี่คือทักษะการทำงานเป็นทีม เพราะการทำงานที่นี่จะต้องสามารถ Manage หลายๆ Department และเราจะต้องมีทักษะในการ Link ทุกคนเข้าด้วยกัน เพื่อที่จะสร้างสิ่งที่ใหญ่ขึ้นได้
- ฝึกมองภาพใหญ่ให้เป็น เนื่องจากเรียนรู้ทุกๆ ฝ่ายในระยะเวลาสั้นๆ ทำให้ได้เห็นความต่อเนื่องว่าจุดนึงไปอีกจุดนึงคืออะไร ดูว่ามีจุดไหนขาด เพื่อที่จะทำให้งานดีขึ้น
- ฝึกการทำงานในสถานการณ์จริง เหมือนเป็นเจ้าของธุรกิจ มีโอกาสได้เจรจาต่อรอง ฝึกการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ได้เรียนรู้ต้นจนจบด้วยสเกลที่ใหญ่มากๆ โดยไม่ต้องมีเงินหลายร้อยล้านมาเสี่ยง
คนแบบไหนที่เหมาะจะทำ Property Management
ไม่มีสเปคที่ชัดเจนแต่ต้องเป็นคนที่ไม่ใช่น้ำเต็มแก้ว พร้อมเรียนรู้ พร้อมลงมือทำ สาขาที่เรียนจบมาไม่สำคัญขอแค่มี Logic ที่นี่พร้อมสอน และพี่ ๆ เปิดโอกาสให้ลองผิดลองถูกจากการทำงานจริง
และคุณเต็มยังแนะนำว่าให้เป็นตัวของตัวเอง เราไม่ได้มองหาคนที่รู้ทุกอย่าง แต่ต้องเป็นคนที่มี Logical Thinking และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เพราะตลอดการทำงานจะต้องมีการทำ Case ร่วมกับเพื่อนร่วมงานตลอด เป็นต้น
สรุปประเด็นสำคัญจาก MT Talk series EP.3 เจาะลึกเส้นทาง ก่อนจะมาทำ Technology Management
คุณตั้มแต่เดิมไม่ได้เป็นคนสายเทคมาก่อน ตั้งแต่สมัยมัธยมศึกษาตอนปลายคุณตั้มเป็นเด็กโครงการพัฒนาศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ (JSTP) จึงเข้าศึกษาต่อปริญญาตรีในคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากเรียนจบก็ไปทำงานตรงสายในโรงงานแห่งหนึ่ง และได้เห็นจุดที่น่าสนใจคือ ได้เข้าไปทำการพัฒนาระบบ Production ในโรงงานนั้น ทำให้รู้สึกว่าหากรู้แค่ด้านเคมีก็จะได้แค่การพัฒนา Quality ในเชิงวิทยาศาสตร์ แต่หากเข้าใจเรื่องเทคโนโลยีมากขึ้นจะช่วยในส่วนของทั้งการผลิตและ Data analysis จึงตัดสินใจไปเรียนต่อปริญญาโทที่อเมริกาในด้าน Management Information Systems (MIS)
เส้นทางก่อนจะมาเป็น Tesco Lotus Management Trainee
เหตุผลที่คุณตั้มสมัครมาเป็น Management Trainee ที่ Tesco Lotus เพราะรู้สึกว่าบริษัท Retail มี Business Unit ที่หลากหลาย และเห็น IT เป็นส่วนงานที่สามารถเข้าไปอยู่ได้กับทุก ๆ Business Unit จึงสมัครเพื่อมาค้นหาตัวเองดูว่าชอบทางด้านไหน
ในการย้ายสายงานจากด้านเคมีมา Business ถ้าถามว่ายากมั้ย คุณตั้มกล่าวว่ายากหรือไม่ยากขึ้นอยู่กับความชอบ เพราะจริง ๆ แล้วศาสตร์ของ IT นั้นอยู่ทุก ๆ ที่ หน้าที่ของเราคือเข้าใจ Business และ IT ไปพร้อม ๆ กัน ถ้าชอบและสนใจก็เป็นสิ่งที่สามารถเรียนรู้ได้
Technology Management ทำอะไร แบ่งเป็นกี่ประเภท
อธิบายง่ายๆให้เรานึกถึงร้านขายของ จะต้องมีการหาของมาขาย เทสโก้โลตัสเป็นบริษัทใหญ่ทำให้ต้องมีระบบช่วยการ Register สินค้า,จัดการ Stock, การทำออร์เดอร์การขายซึ่งจะใช้ระบบ Automatic Order, การจดบันทึก Sales, Report, Finance เป็นต้น
หน้าที่ของ Technology Management คือการ Support อยู่ทุก ๆ Business Unit ของ Tesco Lotus โดยจะแบ่งตามลักษณะการทำงานออกเป็นสามส่วนดังนี้
1. Support : ฝ่ายที่ดูแลระบบเพื่อสนับสนุนการทำงานของทุกฟังก์ชันงาน
2. Technique Project Manager (TPM) เป็นตำแหน่งที่คุณตั้มทำอยู่ จะเป็นคนที่รับผิดชอบดูแต่ละ Area ของ Project ต่าง ๆ ซึ่งแบ่งไปตามแต่ละฟังก์ชันงานเช่นกัน (และคุณตั้มยังเสริมว่า ในบางฟังก์ชันบางคนอาจจะเป็นทั้ง Support และ TPM ก็ได้)
3. Technical : เป็นฝ่าย Coding จะมีทีม Local Develop แยกออกไป
ส่วนตำแหน่งงานต่าง ๆ ที่เคยได้ยินกัน เช่น Product Owner, Software Development Manager จะแบ่งย่อยออกไปอยู่ตามแต่ละส่วนงานหลักสามส่วนนี้อีกที
ทุกหน่วยงานของโลตัสจะต้องมี IT Support คุณตั้มได้ยกตัวอย่างฟังก์ชันงานต่างๆที่ ฝ่าย IT ต้องเข้าไป Support เช่น
- ฝ่าย Product : นำ Sourcing สินค้าเข้ามาขาย
- ฝ่าย Store : ดูด้านการขายใน Store
- ฝ่ายศูนย์กระจายสินค้า: มีอยู่ 6-7 ศูนย์ในไทย เป็นคลังสินค้าที่รวบรวมจาก Vendor แล้วส่งไปที่ Store
- ฝ่าย HR (People) : ระบบบริหารจัดการที่เกี่ยวกับคน พนักงาน
- Property & Malls : ดูฝั่งร้านค้าเช่า,การจัดวางสินค้า
ฝ่าย IT support จำเป็นต้องเข้าใจทุกอย่างมั้ย
ไม่จำเป็นต้องเข้าใจฟังก์ชันทุกอย่าง 100% แต่ควรต้องเข้าใจฟังก์ชันงานนั้นที่ตนเองทำหรือ Support อยู่ทั้งหมด นอกจากการ Support นั้นยังต้องสามารถให้ Solutions ที่ดีกับ Business เพื่อลดงานของ User หรือช่วยเพิ่ม Productivity ด้วย
เล่าประสบการณ์ การเป็น Technology Management Trainee
Technology Management Trainee ไม่ได้มีการ Rotate งานมากเท่า MT ด้านอื่นๆ แต่จะรับเป็นโปรเจคของตนเองและดูแลจนจบมากกว่า และมีสิทธิ์เลือกว่าอยากจะไปทำงานในส่วนใด โดยคุณตั้มได้ไปทำในฝ่าย Supply Chain และ Distribution Center ซึ่งปัจจุบันจะเรียกว่า Fulfillment
โปรเจคที่ได้รับมอบหมายคือ ดูแลการนำ GPF (Group Promotion Forecasting) Application ซึ่งเป็นระบบที่จะช่วยForecast Order ในช่วง Promotion Period จาก UK ที่จะนำมาใช้งานในเมืองไทย
ซึ่งความท้าทายคือ เราไม่สามารถนำ Application มาใช้ตรงๆได้ ต้องทำการ Localize ให้เข้ากับ Nature ของประเทศไทยที่แตกต่างจาก UK โดยจะต้องทำการเก็บยอด Sales เพื่อที่จะ Forecast Order ในอนาคต ต้องปรับปรุง System ใหม่เพื่อรองรับความซับซ้อน ต้องรู้ว่าช่วงไหนเป็น Seasonal (การซื้อขายที่มากกว่าปกติในวันหยุด เช่น สงกรานต์ ตรุษจีน ฯลฯ), ต้องทำ Logic ว่าถ้าเกิด มี Promotion ในเงื่อนไขต่างๆ จะทำอย่างไร เนื่องจาก Promotion ในไทยก็มีความหลากหลายไม่เหมือน UK ของไทยจะมี Mechanic เยอะ จึงต้อง Forecast ในแต่ละ Mechanic ด้วย (นอกจากขายได้เท่าไหร่ต้องดูว่าใช้ Mechanic อะไร)
เช่น เมื่อมี Plan อีก 8 สัปดาห์ จะต้องทำให้โปรแกรมสามารถทำนายได้ว่า จะต้องสั่งของกับทาง Supplier เท่าไหร่ให้ไม่ Over และไม่ Out of Stock ซึ่งเป็นการทำงานระดับ Item Store การทำงานก็จะต้องมีการ Collaborate กับหลาย ๆ ฝ่ายงาน ทั้ง UK Group, Supply Chain, ฝั่ง IT กันเอง เป็นต้น
ลักษณะงาน Management Trainee คือต้องทำเป็น Project Manager จะต้องมีการคุม Timeline ทำ Plan, Scope คุม Cost, Budget, Manage Stakeholder ต้องคุยทั้งภาษา Tech และภาษา Business ควบคู่กันไป
งานที่กล่าวไปคือเป็น Full-Time Project ยังมี Part-Time Project อีก เช่น การเข้าไปช่วยทำ DI (Data Integrity) คือ การรักษาความถูกต้องของข้อมูล ความสามารถที่จะตรวจสอบได้ว่าข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ และไม่ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขใด ๆ ไปจากเดิม เพราะข้อมูลจะมีการ Interface ระหว่างระบบกับระบบ ระบบจะคอยจับว่า Record หายไปไหนเพราะอะไร ในระบบเทสโก้มี Interface เยอะมาก ต้องมีการแก้ไขพัฒนาปรับปรุงระบบทำให้ข้อมูลไม่หายกลางทาง โดยคุณตั้มได้เข้ามาช่วยฝั่ง Store และ ระบบ Ordering ไม่ให้ข้อมูลแตกต่างกันระหว่าง 2 ระบบ
ส่วนเพื่อนคนอื่น ๆ มีไปอยู่ทั้งฝั่ง Marketing, Data Report จะเห็นได้ว่าฝ่ายงานนี้มีหลายส่วนที่ให้เลือกว่าอยากลองทำอะไร ซึ่งการทำงานจะมีการทำประเมินผลเป็น Monthly Feedback ทุกเดือน
บรรยากาศการทำงานที่ Tesco Lotus
คุณตั้มเล่าว่าการทำงานที่นี่อยู่ใน Environment ที่ทำให้รู้สึกสนุก เพราะทุกคนคอย Encourage คอยสนับสนุน ให้กำลังใจตลอด ได้เห็นหน้างานจริง และทุกคนให้ Value กับสิ่งที่เราทำ เห็นคุณค่าในการทำงานของทุกคน
ที่นี่ค่อนข้างให้โอกาส ถ้ามีแนวคิด ไอเดียดี อยากทำโปรเจคอะไรใหม่ๆ สามารถเสนอได้ ทำให้ได้ทดลองทำสิ่งใหม่ๆ
และได้รับ Feedback มาปรับปรุงตัวเองเสมอ ส่งผลให้เรียนรู้ได้รวดเร็ว
ต้องจบอะไรมา คนแบบไหนที่เหมาะที่จะมาทำ Technology Management
หากตรงสายที่สุดจะเป็นสาขาเกี่ยวกับ Computer Science หรือ Computer Engineering
ส่วนคนแบบไหนที่เหมาะ คุณตั้มกล่าวว่า จะต้องเป็นคนที่ชอบเรียนรู้ด้วยตนเองเยอะ ต้องใช้ความพยายามเยอะในการหาความรู้ ต้องอัพเดทตัวเองตลอด เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา และยังต้องชอบในการทำความเข้าใจทั้ง Tech และ Business
และควรเป็นคนที่มี Ownership ในงานสูง มีความตั้งใจ ใส่ใจในการทำงาน รู้สึกเป็นเจ้าของ Project จริง ๆ เพราะคุณตั้มเปรียบ Project ทุก ๆ อันที่ทำจะต้องรักและดูแลเหมือนลูก
ทักษะที่เป็นที่ต้องการในสายงานด้านนี้
คุณตั้มเน้นไปที่ 5 Leadership Skills ของ Tesco Lotus ได้แก่ Collaboration, Empathy, Responsiveness, Resilience และ Innovation
ซึ่งมี Skills ที่เน้นเป็นพิเศษคือ
- Resilience ความยืดหยุ่นในการทำงาน เพราะมีการทำงานร่วมกับคนหลายคน มีการปรับตัวค่อนข้างสูง ต้องอดทน ยืดหยุ่น เพื่อที่จะ Roll out Projectและ Support Business ไปด้วยในตัว
- Collaboration ทำงานร่วมกับคนอื่นได้ เพราะต้องติดต่อประสานงาน ต้อง Run Project ระหว่างทีมงานส่วนต่าง ๆ เพราะการจะเกิดผลงานแต่ละอันขึ้นมาได้นั้นเป็นของทุกคนร่วมกัน
- Problem Analysis เป็นอีก 1 ทักษะที่คุณตั้มให้ความสำคัญ เพราะงาน IT ต้องวิเคราะห์ปัญหาเป็น แก้ที่ Incident ให้ได้ หา Problem Root Cause ให้เจอ
สรุปประเด็นสำคัญจาก MT Talk series EP.4 เจาะลึกเส้นทาง ก่อนจะมาเป็น People Management
คุณกี้จบการศึกษาจากคณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) และได้ไปศึกษาต่อปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณกี้เริ่มทำงาน Marketing ในบริษัทอุปโภคบริโภคแห่งหนึ่ง ด้วยตัวคุณกี้เองจบโทจึงเริ่มทำงานช้ากว่าเพื่อน
เส้นทางก่อนจะมาเป็น Tesco Lotus People Management
เชื่อว่า ถึงแม้การเรียนจะช่วยพัฒนาระบบการคิดก็จริงแต่สิ่งที่ดีที่สุดคือการนำสิ่งที่เรียนมาใช้กับงานที่ต้องลงมือทำจึงจะเกิดผลที่สุด จึงมองหาโปรแกรมที่เป็น Fast track และตอบโจทย์ของตนเอง ประกอบกับการได้พูดคุยกับเพื่อนที่เป็น Management Trainee ที่ Tesco Lotus จึงเห็นว่างาน People Management ของที่นี่ต่างกับที่คิด เพราะเป็นงาน HR ที่กึ่งๆ Marketing จึงได้สมัครเข้ามาร่วมโปรแกรมนี้
People Management แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
Overall ของ People Team จะแบ่งออกเป็น 2 ทีมหลักได้แก่
- ทีมหน้าบ้าน (Business Partner : HRBP) หน้าที่หลักๆ คือการดูเพื่อนพนักงานในแต่ละแผนก และนำ Tools จากหลังบ้านมาใช้กับหน้าบ้าน
- ทีมหลังบ้าน (HR Specialist)
แบ่งฟังก์ชันงานออกเป็น 5 ทีม ได้แก่
1. Recruitment : สรรหาพนักงานเข้ามาทำงานในบริษัทในทุกๆ ระดับ
2. Data : เป็น Business Support ดู Data ของพนักงานทั้งหมด มีทั้งสำนักงานใหญ่ และ Store รวมทั้งหมด 5 หมื่นกว่าคน ทำพวก Insight ของพนักงาน, Data การโปรโมท, Data การ Transfer หรือ Turnover พนักงาน, การจ่ายเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น
3. Talent & Capability : ดูแล Talent ในองค์กร และการทำ Capability Building โดยจะแบ่งสัดส่วนการเรียนรู้เป็น 70 : 20 :10 ได้แก่ 70 : Experiential Learning เรียนรู้แบบลงมือทำ เช่น Development Program 20 : Social Learning การเรียนรู้ผ่านคนอื่น เช่น Mentoring Program 10 : Classroom Training / Platform E-Learning
4. Rewards : ทำเรื่อง Pay and Benefit คือดูเรื่องสวัสดิการต่างๆ เช่น ประกันสุขภาพ และดูแลการ Pay เงินเดือน, โบนัส เป็นฝ่ายดูในภาพ Strategy ดูว่า Pay เรา Competitive พอมั้ย เป็นต้น
5. People Transformation : ทำหน้าที่ Manage Workforce, Man Hours เพื่อทำให้องค์กร Flexible มากที่สุด ดูเรื่อง Organization Design และ Team Engagement ดูความเป็นอยู่ของพนักงานว่าเป็นอย่างไร ทำงานแล้วมีความสุขมั้ย เป็นต้น
ประสบการณ์การ Rotation งานตอนเป็น Management Trainee
1. ทำงานแรกที่ฝ่าย Talent and Capability (6 เดือน) : มีความท้าทายด้านการต้อง Manage Stakeholders ในระดับ Director หลายท่านตั้งแต่การทำงานช่วงแรกๆ และการได้คุยกับทุกบ้าน ทุกฟังก์ชันย่อยๆ
ทำ Project เกี่ยวกับ Career ในด้าน Product เป็นการทำให้คนทำงานสาย Product ในแต่ละแผนก ให้เห็นภาพรวมของทั้งทีม และเห็น Career Path ว่า สามารถ Grow ยังไงได้บ้าง แต่ละตำแหน่งงานสามารถ Cross Function ยังไง ทำให้คนในสายงานนี้เข้าใจการทำงานของฝ่าย Product อื่น ๆ ที่ตนเองไม่ได้ทำ และเห็นโอกาสในการเติบโตมากขึ้น
และอีกงานที่ได้ทำคือ Micro MBA Program โดยรับหน้าที่ Design Program ร่วมกับมหาวิทยาลัยตามแต่ละภูมิภาคให้กับ Store Managers ทั่วประเทศไทยได้เรียนหลักสูตร Micro MBA โดยเป็น Program ที่ให้ความรู้กับ Managers เพื่อให้มี Bird’s Eye View ในส่วนของ Business มากขึ้น เช่น Strategic Thinking, Marketing และ Finance เป็นต้น
2. งานฝั่ง Reward (3 เดือน) : ทำ Survey ดูเรื่อง Pay ของเรากับบริษัทต่างๆ เพื่อดูว่า Pay Competitive พอมั้ย
ความท้าทายของงานนี้ : ด้านการทำ Data
3. Resourcing Strategy : ทำหน้าที่ทำ Employer Branding ในการ Recruit Management Trainee 2017 เช่น จัดงาน Open house ทำ Assessment Center, ดู Employer Training เป็นการดูแลแบบ End-to-End ตั้งแต่สมัครจนถึงวัน On Board เพื่อสร้าง Experience ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าร่วม Program ทุกคน
ความท้าทายของงานนี้ : การต้องทำสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีก
4. Business Partner : เปลี่ยนมาทำหน้าบ้าน โดยดูหลายแผนก เช่น แผนก Marketing, แผนก Online Business, แผนกที่เกี่ยวข้องกับ Safety & Security เป็นต้น รวมกันแล้วจำนวน 200 กว่าคน
ความท้าทายของงานนี้ : จะต้องหาวิธีทำยังไงให้ทุกคนสนุกและมีความสุขที่สุด ต้องรู้จักคน เพื่อที่จะได้ Input นำมาดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของทุกคน
ข้อดีของการ Rotate งานทำให้ได้เห็น Big Picture ในเวลาที่รวดเร็วมาก ซึ่งหาไม่ได้ในการทำงานแบบปกติ ได้ฝึก Soft Skills เยอะมาก โดยเฉพาะ Leadership Skills เพราะเราต้องเป็นคนดูแลพนักงานของแผนกนั้น ๆ เพื่อสร้าง Experience การทำงานที่ดีที่สุดให้กับพนักงาน ตั้งแต่ Recruit, On board ทำ Training ไปจน Exit
ในคน ๆ เดียวจะต้อง Manage หลายอย่าง ต้องทำงานกับ Stakeholder หลายๆ ทีม การได้ Rotate งานยังทำให้เห็น Linkage ของแต่ละส่วนงานเมื่อเข้ามาทำงานจริง ทำให้รู้ว่าจะหยิบตรงไหนมาใช้
ปัจจุบัน คุณกี้ทำงานอยู่ฝ่าย Talent & Capability ซึ่งรู้สึก Happy กับการทำงานมาก เพราะงานที่ทำสามารถสร้าง Impact ให้กับ Business ตั้งแต่หน้าบ้านไปจนถึง End User
ทักษะสำคัญเมื่อมาทำ People Management
- Management Stakeholder : บริหารจัดการงาน ต้อง Manage กับ Stakeholder หลากหลาย
- Collaboration Skill : การทำงาน Cross Team เป็นพื้นฐานของที่นี่
- Analytical Skill /Logical Thinking : ทำพวก Data ต่างๆ และต้องมี Logic รู้วิธีการเลือก Data มาใช้ให้ถูกจุดประสงค์
- Communication Skill : การใช้ทักษะการพูด การสื่อสารเพื่อสร้างพลังจึงสำคัญ
คนที่เข้ามาทำต้องเรียนจบอะไรมา และ People Management เหมาะกับคนแบบไหน
ไม่จำเป็นต้องจบจากคณะสาย HR มาเป็นพิเศษ แต่สิ่งที่ต้องมีคือ
- มี Passion และมี Goal เป็นของตัวเองที่อยากสร้าง Impact ให้กับผู้อื่น
- มี Leadership ในที่นี้เน้น Collaboration มาก ๆ โดยเฉพาะ People ที่ต้องสร้าง Impact ให้ผู้อื่น
- มีการรับฟังที่ดี สามารถ Empower คนอื่นอย่างไร
- ไวต่อการเปลี่ยนแปลง Responsive : ทำงานเหมือนเดิมไม่ได้ ต้องปรับเปลี่ยนให้ทันกับ Gen ใหม่ ๆ ในทุกปีก็จะมีโจทย์ใหม่ ๆ ให้ได้ทำแตกต่างกันไป
คำแนะนำสำหรับคนที่สนใจงาน People Management
สำหรับคนที่ชอบความท้าทาย เติบโตก้าวหน้าได้เร็ว ที่นี่เหมาะมาก เพราะได้ลงมือทำจริงตั้งแต่ Day1 มีโอกาสได้เป็นผู้นำใน Project ต่างๆ ทุกคนให้ความสำคัญกับเราแม้แต่ระดับ Director ยังให้เวลากับเราเยอะ ที่นี่ไม่ได้ดูที่อายุ แต่ดูที่ผลงาน และเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่มีสังคมการทำงานและบรรยากาศในการทำงานที่ดี
ดูไลฟ์ย้อนหลังเต็มๆ ได้ที่
EP.1 สายงานด้าน Product
EP.2 สายงานด้าน Property
EP.3 สายงานด้าน IT
EP.4 สายงานด้าน People หรือ HR