ส่อง 3 ตำแหน่งงาน ที่หาคนทำงานยากที่สุดในช่วงปี 2022

เพราะในช่วงปี 2022 มีหลากหลายองค์กรที่เปิดรับคนทำงานใหม่ๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่เปิดมานานแล้วหรือองค์กรที่พึ่งเปิดตัวได้ไม่นาน และกำลังขยายองค์กรให้เติบโตใหญ่ขึ้น ในขณะเดียวกัน ไม่ใช่ว่าการหาคนในทุกตำแหน่งจะเป็นเรื่องง่าย มันยังมีบางตัวแหน่งที่อาจจะหาคนที่เชี่ยวชาญมาทำได้ยากอยู่เช่นกัน
วันนี้ CareerVisa นำ report จาก Mercer Thailand, “2022 Thailand TRS Policy & Practice Report” มาให้ได้ดูกัน ในหัวข้อของ “Hot Job” ที่นำเสนอ 3 อาชีพในประเทศไทย ที่หาคนทำงานยากที่สุดในช่วงปี 2022
 
จาก 623 องค์กรผู้ตอบแบบสอบถามนี้ มี 40% ขององค์กร รู้สึกว่าการรับสมัครพนักงานใหม่ๆ หรือทำให้พนักงานเก่าอยู่ในตำแหน่งได้นานๆ นั้นเป็นเรื่องที่ยากมากๆ ในปี 2022 ด้วยเทรนด์หลายๆ อย่าง และการที่คนทำงานมีความรู้สึกอยากเติบโตไวขึ้น เปลี่ยนงานบ่อยขึ้น อาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้องค์กรรู้สึกอย่างนี้
 
ในขณะเดียวกัน มาดูกันว่ามีตำแหน่งไหนบ้างที่หาคนยากที่สุด โดยจะเป็นคำตอบจากองค์กรทั้งหมด 209 องค์กรด้วยกัน
 
ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นตำแหน่งที่อยู่ในเลเวลที่มีประสบการณ์ค่อนข้างมาก และต้องเข้ามาทำหน้าที่สำคัญในตำแหน่งนั้นๆ รวมถึงยังต้องเข้าใจเนื้องานอย่างลึกซึ้ง
เพราะฉะนั้นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้องค์กรต้องคัดคนมากขึ้นเป็นพิเศษในตำแหน่งงานเหล่านี้
 
1) Sales Marketing & Product Management – Professional, Management Level
2) Engineering & Science – Professional Level
3) IT, Telecom & Internet – Professional Level
.
ในสามตำแหน่งนี้ ที่เห็นได้ชัดคือเป็นตำแหน่งที่ใช้ Skill หรือความสามารถรูปแบบพิเศษ ที่ไม่ใช่ใครทุกคนก็สามารถทำได้ เพราะฉะนั้นหากใครที่สนใจในตำแหน่งงานเหล่านี้ อย่าลืมหมั่นพัฒนาตัวเองในทักษะที่เกี่ยวข้อง สะสมประสบการณ์ให้พร้อม และลองสมัครดูในองค์กรที่มีความต้องการตำแหน่งเหล่านี้อยู่
มั่นใจว่าถ้าหากเราพร้อมมากพอ และอยากทำมากพอ องค์กรคงไม่ปล่อยให้คนเก่งๆ อยากคุณหลุดมือไปแน่นอน
 
อ้างอิง
2022 Thailand TRS Policy & Practice Report

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง