ทำไมเราถึงควรฝึกงานกันก่อนทำงานจริง?

“การฝึกงาน” สิ่งสำคัญที่หลาย ๆ คนเริ่มทำก่อนที่จะทำงานจริง เป็นเหมือนการทำความรู้จักสายงานที่ต้องการทำอย่างละเอียด ก่อนที่จะเลือกว่าเราอยากที่จะทำงานในสายนี้จริง ๆ หรือไม่ หลายคนอาจจะมองข้ามไป และมองว่าไม่จำเป็นที่จะต้องฝึกงานก็ได้ แต่จริง ๆ แล้ว การฝึกงานมีประโยชน์และสำคัญมากกว่าที่เราคิด!

สำหรับน้อง ๆ จบใหม่ หรือใครก็ตามที่กำลังตามหาตัวเองว่าตัวเองอยากทำงานอะไร ชอบอะไร การฝึกงานถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะมันคือการที่จะทำให้เราได้เรียนรู้อุตสาหกรรมของงานที่เราต้องการทำจริง ๆ หรืออยู่กับมันไปอย่างยาวนาน รวมถึงเป็นช่วงที่เราจะได้เรียนรู้ตัวเองมากที่สุดอีกด้วย

 

เพราะฉะนั้นหากใครที่บอกว่า เราไม่จำเป็นที่จะต้องฝึกงานก็ได้ ลองคิดดูใหม่! เพราะจริง ๆ แล้วการฝึกงานมีประโยชน์ และช่วยต่อยอดสายอาชีพเราได้มากกว่าที่เราคิด

 

วันนี้ CareerVisa จะมาบอกประโยชน์และข้อดีของการฝึกงาน ที่หลาย ๆ คน อาจจะนึกไม่ถึงหรือมองข้ามไป มาอลงดูกันว่ามีอะไรบ้าง

 

ประโยชน์ของการฝึกงานก่อนทำงานจริง

  1. เป็นประสบการณ์การทำงาน : สำหรับเด็กจมใหม่ที่ต้องทำ resume หากไม่เคยมีประสบการณ์ทำงานมาก่อน ก็คงยากที่จะทำให้บริษัทไว้ใจและเลือกที่จะเรียกเราสัมภาษณ์ การฝึกงานจะเป็นสิ่งหนึ่งที่ถ้าหากใครผ่านการฝึกงานมาก่อน ก็สามารถนำไปเขียนใน Job experience ได้
  1. การได้ทำงานจริง : เพราะการเรียนในห้องเรียนกับการทำงานจริงนั้นไม่เหมือนกัน การฝึกงานเปรียบเสมือนการที่เราได้ลงมือทำ ได้ทดลองทำงานจริง และรู้ตัวเองได้ไวขึ้น
  1. เข้าถึงในหลายหน้าที่และหลายทีมในการทำงาน : การทำงานในบริษัทไม่เหมือนการเรียนในห้องเรียนที่เราอาจจะทำงานกับแค่คนกลุ่ม ๆ เดียว แต่การทำงานในบริษัทคือการที่เราต้องทำงานร่วมกันกับทีมอื่น ๆ และอาจจะมีหลากหลายหน้าที่ให้ได้เรียนรู้ การฝึกงานคือสิ่งที่ดีที่จะทำให้เราได้ทดลงทำงานในส่วนนั้น ก่อนเริ่มทำงานจริง
  1. ได้รับการสอนงาน : สิ่งสำคัญของการฝึกงาน คือการเรียนรู้งานจากพนักงานประจำ หรือหัวหน้าที่ทำงานมาก่อน หากเราสามารถเรียนรู้ได้มากเท่าไร บอกเลยว่าการทำงานจริงไม่ได้ยากเกินกว่าความสามารถอย่างแน่นอน
  1. วางแผนเส้นทางอาชีพได้ง่ายขึ้น : การฝึกงานทำให้เราได้เรียนรู้ว่าสายงานของเราสามารถเติบโตไปในทางใดได้บ้าง ซึ่งก็ทำให้เราสามารถวางแผนชีวิตตัวเองได้ง่ายขึ้นว่าควรเริ่มงานแรกกับตำแหน่งอะไร และเติบโตในสายอาชีพใด
  1. สร้างคอนเนคชั่นให้กับตัวเอง : หากเราไม่มีการฝึกงานก่อนทำงานจริง ก็คงไม่รู้จักคนที่ทำงานในบริษัท และเมื่อเรียนจบอาจจะเป็นเรื่องยากที่จะลุยหางานต่อ หากเราไม่มีคอนเนคชั่นใด ๆ ในมือเลย
  1. ทำให้ resume เราน่าอ่านมากขึ้น : อย่างที่กล่าวไปข้างต้น การมีประสบการณ์การฝึกงานหรือทำงาน จะช่วยให้ resume เราน่าสนใจมากขึ้น มีความน่าเชื่อถือและดูมีความสามารถมากยิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับคนที่ไม่มีประสบการณ์การทำงานมาเลย
  1. เป็นฐานการสมัครงานที่ดี : หากเราต้องการสมัครทำงานจริงหลังฝึกงาน หัวหน้าที่ดูแลเราตอนฝึกงานก็จะสามารถแนะนำเราได้ และสามารถเป็นคนที่ช่วยซัพพอร์ตและทำให้เราสามารถสมัครทำงานได้ง่ายขึ้น ดูน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
  1. สามารถเปลี่ยนจากฝึกงานเป็นงานประจำได้ : หากใครที่ทำผลงานตอนฝึกงานได้ดี ก็มีโอกาสที่จะได้ทำงานต่อในที่ทำงานนั้น ๆ ในฐานะพนักงานประจำ ซึ่งส่วนนี้ก็เหมือนเป็นการสร้างโอกาสให้ตัวเอง และทำให้การหางานนั้นเป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น
  1. สร้างความมั่นใจในการทำงาน : หากเราได้มีประสบการณ์การฝึกงานมาก่อน เมื่อเริ่มทำงานจริง ย่อมมีความมั่นใจมากขึ้นแน่นอน เพราะว่ามีประสบการณ์มาบ้างแล้ว ซึ่งการมีความมั่นใจในการทำงานถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะทำให้ผลงานออกมาดีแบบที่หวังไว้

 

 

อย่าลืมที่จะหาประสบการณ์ที่ใช่ ฝึกงานที่ชอบกันไว้ เพราะบอกเลยว่าหากเราได้เจอเส้นทางของเราจากการฝึกงาน อาจจะทำให้เราสามารถเติบโตในสายงานของตัวเองง่ายขึ้นและมั่นคงยิ่งขึ้นแบบที่นึกไม่ถึงเลยทีเดียว

 

 

อ้างอิง : https://www.indeed.com/career-advice/career-development/benefits-of-internships 

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง