ถ้าลาออกมันง่ายนัก? ป่านนี้ก็ลาออกไปแล้ว!

สิ้นปี เบื่องาน รอโบนัส หว่านเรซูเม่ เซ็นสัญญา…แล้วค่อยลาออก! นี่คงเป็นสิ่งที่คนทำงานหลายคนคิดอยู่ในใจโดยเฉพาะช่วงสิ้นปีที่รู้สึกอยากเริ่มเปลี่ยนงาน แต่การลาออกสำหรับใครหลายคนเป็นสิ่งที่ “พูดง่าย…แต่ทำยาก”

จะดีกว่าไหม? ถ้าเราลอง “ยืดการลาออก” (Delayed resign) ออกไปอีกหน่อย แล้วใช้เวลาตรงนั้นลองมาพิจารณาปัจจัยตัวแปรต่างๆ ก่อนถึงวันลาออก ก่อนถึงวันที่เราพร้อมลาออกไปเติบโตอย่างสตรองจริงๆ 

 

ภาระอันหนักอึ้ง

 

ก่อนลาออก ให้คุณลิสท์ภาระความรับผิดชอบที่คุณต้องแบกอยู่ทุกเดือนออกมาให้หมดเพื่อพิจารณาว่า ลาออกไปแล้วเราจะยังพอรับผิดชอบไหวไหม? สาเหตุที่ต้องแตกย่อยเป็นรายเดือนก็เพื่อให้คุณเห็นภาพมากขึ้น เข้าถึงง่ายขึ้น รู้สึกเป็นเรื่องใกล้ตัวขึ้นนั่นเอง

  • ภาระคอนโดที่ต้องผ่อน
  • ค่าใช้จ่ายไลฟ์สไตล์ที่คุณต้องการ
  • ค่าเสียโอกาสในช่วงที่ยังหางานไม่ได้

 

บางคนเมื่อ breakdown ค่าใช้จ่ายแล้วกลับพบว่าไฟในการทำงานกลับมาลุกโชนขึ้นอีกครั้งเลย! เพราะพบว่ามีหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระอีกเพียบ ถ้าลาออกไปแล้วพบเจอกับความไม่แน่นอน ชีวิตยิ่งไม่แน่นอนเข้าไปใหญ่

 

ท่องตัวเลขนี้ไว้

 

ถ้าลาออกไปแล้วตกงาน…คุณจะมีเงินพอกินพอใช้ไปได้อีกนานกี่เดือน? นี่คือคำถามพื้นฐานที่คนทำงานต้องถามก่อนวางแผนลาออก โดยทั่วไปแล้ว ทางการเงินแนะนำให้เงินสำรองเผื่อไว้ใช้ “6 เดือน” 

 

โดยค่าใช้จ่ายใน 6 เดือนนี้ต้องไม่ไปกระทบไลฟ์สไตล์เดิมที่มีอยู่ กล่าวคือ เราต้องไม่ลดคุณภาพชีวิตลง ไม่ลดทอนความต้องการลง ยังคงรักาากิเลสที่เป็นตัวของตัวเองไว้ได้อยู่ใน 6 เดือนนี้

 

แต่สำหรับกูรูทางการเงินที่เข้มงวดในวินัยการเงินแนะนำให้เพิ่มไปเลยเป็น 12 เดือน! ถ้าคุณลาออกแล้วตกงาน 1 ปีเต็ม คุณจะต้องใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข อย่างน้อยถ้ามีตัวเลขเหล่านี้ในใจ เราจะได้วางแผนต้นทางตั้งแต่วางแผนการลาออก วางแผนการเงิน และการหางานได้ถูกต้อง

 

ตั้งเป้าหมายให้ใหญ่ขึ้น

 

บางทีคนเราอยากลาออกเพราะได้ทำสิ่งที่ต้องการแล้ว ทำมันครบแล้ว ทำมันสำเร็จแล้ว เมื่อเป้าหมายความฝันบรรลุระดับหนึ่งแล้วก็รู้สึกกลายเป็นไร้เป้าหมาย จึงอยากลาออกไปทำอย่างอื่น

 

กรณีนี้คนเป็นหัวหน้างานสามารถช่วยได้โดยตรง ด้วยการ assign งานที่มีความหมายขึ้น สร้าง impact ต่อผู้คนมากขึ้น พร้อมช่วยออกแบบตั้งเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ขึ้นกว่าเดิมโดยจะบรรลุเป้าหมายนั้นได้ต้องมีพนักงานคนนี้ร่วมทีมอยู่ด้วยกัน 

 

วิธีนี้อาจไม่ได้แค่ช่วยรั้งให้พนักงานอยู่ต่อแค่นั้น แต่อาจยกเลิกความคิดการลาออก มีไฟลุกโชนอีกครั้ง และพร้อมกลับมาสู้ใหม่

 

ทัศนคติบวก

 

เนื้อแท้แล้วบางทีคุณอาจไม่ได้อยากลาออกจริงๆ? บางทีคนทำงานก็แค่เบื่องาน เหนื่อย หมดอาลัยตายอยาก ไร้ความครีเอทีฟในหัว ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่คนทำงานทุกคนสามารถเจอได้แม้คุณจะเก่งแค่ไหนก็ตาม

 

ทัศนคติเชิงบวกช่วยเรื่องนี้ได้เหมือนกัน เช่น ให้ลองคิดว่า…ดีแค่ไหนแล้วที่ยังมีงานทำ? ขณะที่คนอื่นในสายอาชีพนี้ตกงานกัน ถูกลดเงินเดือน ถูก AI แทนที่ไปเยอะแล้ว

 

แม้ทำงานเหนื่อยๆ ท้อแท้ใจบ้าง แต่อย่างน้อยสิ้นเดือนก็ยังมีเงินเด้งเข้า! เงินเพิ่ม รายรับเพิ่ม เงินหมุนเวียนเพิ่ม มันอาจน้อยไม่ได้เยอะ ไม่ได้หวือหวา แต่ถ้าค่อยๆ เก็บ ความมั่งคั่งสุทธิก็เพิ่มอยู่ดี

 

การเก็บตามอ่าน Quote คำคมโดนใจ ก็ช่วยปลอบใจหรือช่วยเยียวยาจิตใจคนทำงานได้โดยตรง ต้องไม่ลืมว่าหลายคนชีวิตเปลี่ยนก็เพราะประโยคคำพูดโดนใจเหล่านี้นี่แหล่ะ

 

  • ในวันที่ยอมแพ้ ให้ระลึกถึงเหตุผลวันแรกทำไมคุณถึงตัดสินใจลงมือทำหรือเลือกเดินเส้นทางอันแสนยากลำบากนี้ (Remember why you started.)
  • ผู้ชนะไม่ใช่คนที่ไม่เคยล้มเหลว แต่คือคนที่ไม่เคยตัดใจล้มเลิกต่างหาก (Winners are not people who never fail, but people who never quit.)
  • ถ้าคุณเหนื่อยอาลัยตายอยาก ให้เรียนรู้ที่จะพักอย่างจริงจัง แต่ไม่ใช่ล้มเลิกเอาดื้อๆ  (If you get tired, learn to rest, not to quit.)
  • “เป้าหมายคือความฝันที่มี Deadline” เตือนเราว่าทุกวินาทีมีค่า ถ้าเราล้มเลิกตอนนี้ ความฝันก็จะถูกดีเลย์ออกไปเรื่อยๆ ในอนาคต
  • “คนเราเติบโตอย่างแท้จริงจากคำวิจารณ์…ไม่ใช่คำชม” เตือนเราให้ไม่ท้อแท้เมื่อถูกตำหนิวิพากษ์วิจารณ์

 

และนี่เป็นสิ่งที่หัวหน้างานควรเตือนลูกน้องให้คิดดีๆ ก่อนลาออก หัวหน้าไปบังคับให้ลูกน้องฝืนอยู่ต่อไม่ได้หรอก แต่สามารถแจกแจงเหตุผลเหล่านี้ให้ลูกน้องคิดหน้าคิดหลังได้ 

 

ท้ายที่สุดแล้ว การรักษาพนักงานเก่าไว้ย่อมดีกว่าการเฟ้นหาพนักงานใหม่ เพราะการหาพนักงานใหม่มีต้นทุนสูงกว่า เหนื่อยในขั้นตอนการหากว่า ใช้เวลาปรับตัวนานกว่าจะเข้ากับทีม หนึ่งในหน้าที่หลักของหัวหน้าจึงเป็นการยืดการลาออกของลูกน้องออกไปให้ได้นานที่สุดเช่นกัน

 

อ้างอิง

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง