ถูก Lay Off ถูกไล่ออกจากบริษัทกะทันหัน ควรรับมืออย่างไร?

ใจเย็น ๆ หากคุณโดน Lay Off หรือ “ไล่ออก” จากบริษัทที่ทำงานอยู่อย่างกะทันหัน หลายครั้งที่การ Lay Off ไม่มีการแจ้งเตือนมาก่อน แต่เป็นการที่ทาง HR จะเรียกเราคุยเป็นการส่วนตัว เพื่อชี้แจงข่าวร้ายที่เกิดขึ้นให้พนักงานได้ทำความเข้าใจ

ต้องบอกก่อนว่าไม่มีพนักงานคนไหนอยากโดน Lay Off ออกจากบริษัท เหตุผลของการ Lay Off อาจจะมาจากการที่บริษัทมีการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง ผลจากเศรษฐกิจ หรือการปรับลดขนาดทางธุรกิจลง ซึ่งหลักเกณฑ์ในการเลือกปลดพนักงาน หรือ Lay Off พนักงานออก อาจจะเป็นไปได้ดังนี้

✅ พนักงานได้ผลประเมินงานต่ำกว่าเกณฑ์

✅ พนักงานมีอายุงานที่มาก เงินเดือนมาก แต่ผลงานไม่เยอะ

✅ พนักงานไม่ผ่านการทดลองงาน (Probation)

อย่างไรก็ตาม ถ้าหากไม่ Match กับหัวข้อด้านบนที่กล่าวมาเหล่านี้ ก็อาจจะรอดก็เป็นได้ แต่อย่างไรก็ตามเราควรจะรับมือกับความเสี่ยงของบริษัทให้ได้ตลอดเวลา

 

วันนี้ CareerVisa จะมานำเสนอ 11 วิธีรับมือกับการโดน Lay Off หรือการโดนไล่ออกจากบริษัทอย่างกะทันหัน มาดูกันว่าจะทำอย่างไรกันได้บ้าง

 

11 วิธีรับมือ หากบริษัทมีการ Lay Off กะทันหัน

 

ใจเย็น ๆ และพยายามมองโลกในแง่ดีให้ได้มากที่สุด

เข้าใจว่าในสถานการณ์นี้จะได้ยิ้มได้ก็คงยาก แต่ถ้าหากใจร้อนไป ก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา เพราะฉะนั้นเราจึงควรตั้งสติ และมองหาลู่ทางหรือทางออกของปัญหาให้กับตัวเองต่อไป

 

พยายามทำความเข้าใจสถานการณ์ทั้งหมด

หาเหตุผลของการที่บริษัทต้องตัดสินใจในการ Lay Off ทำความเข้าใจสถานการณ์ทั้งหมด เพื่อมองหาโอกาสในการออกจากปัญหาของตัวเองให้เหมาะสมต่อไป สิ่งนี้สามารถคุยกับทาง HR หรือคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องของบริษัทเพื่อถามหาคำตอบก็ได้

 

ประเมินสถานการณ์การเงินของตัวเอง

วางแผนจัดการการเงินของตัวเองให้พอดีต่อช่วงเปลี่ยนผัน หรือช่วงหางานใหม่ เพื่อทำให้เราไม่เดือดร้อนมากจนเกินไป

 

อัพเดท Resume และ LinkedIn

ให้อัพเดท Resume และผลงานของตัวเอง รวมถึงโปรไฟล์เว็บไซต์หางานให้เรียบร้อย เพื่อเปิดรับโอกาสของงานใหม่ให้เข้ามาหาตัวเองอย่างรวดเร็ว

 

สร้าง Network ที่ดี

เข้าหาเครื่อข่ายการทำงานรอบตัว หาเพื่อนที่ทำงานในบริษัทอื่น เพื่อขอความช่วยเหลือหากจำเป็น

 

วางแผนและมองหาโอกาสการทำงานใหม่ ๆ

ลองลิสต์ออกมาว่าเนื้องานอย่างไรบ้างที่เราสามารถเปลี่ยนไปทำแทนได้หากไม่ใช่บริษัทที่กำลังทำงานอยู่ เพื่อวางแผนการทำงาน พัฒนาตัวเอง และขยายช่องทางโอกาสให้กับตัวเองอย่างรวดเร็ว

 

พัฒนา Skill ใหม่ ๆ

หา Skill ใหม่ เพื่อพัฒนา ควรจะเป็น Skill ที่เกี่ยวข้องกับขอบเขตงานที่เราอยากทำต่อไป เพื่อทำให้สามารถหางานใหม่ให้ได้ และลดความเสี่ยงหากถูกการเลิกจ้างจากงานเก่า

 

ทำนิสัยการเปิดโอกาสทางการทำงานให้เป็นชีวิตประจำวัน

เพื่อทำให้ทุกวันเราสามารถหางานใหม่ได้ตลอดเวลา อย่าลืมไม่หยุดที่จะพัฒนาตัวเอง และอัพเดทโปรไฟล์อยู่เรื่อย ๆ เพื่อให้พร้อมต่อการเคลื่อนย้ายงานได้อยู่ตลอด

 

รักษาสภาพจิตใจและการใช้ชีวิตให้สมดุล

การ Lay Off เป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนจิตใจคนหลายคน และก่อให้เกิดความเครียดได้ง่าย ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพกายและใจ เพราะฉะนั้นอย่าลืมรักษา Well-being ของตัวเองให้ดี หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันนี้ขึ้น

 

หาความช่วยเหลือจากผู้มีความรู้

หากเราไม่สามารถหาทางออกให้กับตัวเองได้ พยายามเข้าหาคนที่มีความรู้หรือประสบการณ์ เพื่อช่วยเหลือในเรื่องของการเตรียมตัวและการตัดสินใจ และทำให้เราสามารถผ่านปัญหาไปได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

หากเป็นผู้ถูกเลือก อย่าลืมต่อรองเรื่องการชดเชยให้ได้มากที่สุด

หากเราเป็นคนที่โดน Lay Off ออกจากบริษัท อย่าลืมคุยกับ HR และทางผู้มีอำนาจการตัดสินใจในบริษัทให้เราได้การชดเชยที่เหมาะสม และเช็ก Package การชดเชยอย่างละเอียด ไม่ให้เราโดนเอาเปรียบจากบริษัท

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง