เป็น HR อย่างไรให้พนักงานไม่เกลียด? โปรดเลี่ยงพฤติกรรม 10 สิ่งเหล่านี้

HR หรือ Human Resources ถือว่าเป็นตำแหน่งสำคัญในบริษัท เป็นคนที่ทำหน้าที่บริหารหรือจัดสรรทรัพยากรบุคคล หรือพนักงานที่เข้ามาทำงานในบริษัทนั่นเอง คนที่เป็น HR มีหน้าที่ตั้งแต่ดูแลต้อนรับพนักงาน จัดการเรื่องเงินเดือนและสวัสดิการ ไปจนถึงความเรียบร้อยในการเป็นอยู่ของพนักงานในบริษัท

10 พฤติกรรมที่ HR ไม่ควรทำ หากไม่อยากโดนพนักงานไม่ชอบ

HR หรือ Human Resources ถือว่าเป็นตำแหน่งสำคัญในบริษัท เป็นคนที่ทำหน้าที่บริหารหรือจัดสรรทรัพยากรบุคคล หรือพนักงานที่เข้ามาทำงานในบริษัทนั่นเอง คนที่เป็น HR มีหน้าที่ตั้งแต่ดูแลต้อนรับพนักงาน จัดการเรื่องเงินเดือนและสวัสดิการ ไปจนถึงความเรียบร้อยในการเป็นอยู่ของพนักงานในบริษัท

 

ซึ่ง HR ควรจะเป็นบุคคลที่พนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงได้ มีอัธยาศัยดี มีความคิดในเชิงบวกและเข้าใจการเป็นอยู่และปัญหาของพนักงานทุกคน เพราะฉะนั้น HR จึงมีส่วนสำคัญในการทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานนั้นดีขึ้นโดยภาพรวม

 

เพียงแต่ว่าตำแหน่งนี้ก็ตามมาด้วยความคาดหวังของคนหลายคนในบริษัท จึงต้องระมัดระวังเรื่องพฤติกรรม และวางตัวให้เหมาะสมกับตำแหน่งคนกลางคนพนักงานในบริษัท มาลองส่องกันว่าหากต้องการที่จะเป็น HR ที่เป็นที่รักของทุกคน ควรจะเลี่ยงพฤติกรรมอะไรบ้าง

 

10 พฤติกรรมที่ HR ไม่ควรทำ หากไม่อยากโดนพนักงานไม่ชอบ

 

❎เมินเฉยต่อปัญหาของพนักงานในบริษัท

เพราะตำแหน่ง HR คือคนที่ต้องดูแลความเป็นอยู่ของพนักงานทุกคน และรับฟังปัญหาเพื่อช่วยหาทางแก้ไขให้กับพนักงานด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นถ้าหาก HR ละเลยปัญหาต่าง ๆ หรือไม่รับฟังเสียงจากพนักงาน ก็ย่อมเป็น HR ที่ไม่มีความเป็นกลางและอาจจะไม่สามารถช่วยเหลือพนักงานได้อย่างเต็มที่

 

❎ไม่กระตือรือร้นในการหาคนทำงาน: อย่าอาศัยการที่คนสมัครงานมาและสัมภาษณ์งานเพื่อจ้างงานอย่างเดียว แต่ตำแหน่ง HR ควรจะต้องกระตือรือร้นในการหาทรัพยากรคุณภาพในการเข้ามาร่วมงานและมีการดูแลขั้นตอนการรับสมัครโดยไม่ตัดสินการจ้างงานจากการสัมภาษณ์อย่างเดียว


❎วางแผนเงินเดือนโดยไม่มีโครงสร้าง

การเลือกที่จะตัดสินใจเรื่องเงินเดือนและสวัสดิภารให้กับพนักงานแต่ละคน ควรมีเหตุและผลรองรับ รวมถึงควรจะมีที่มาที่ไปในการเคาะเงินเดือน ซึ่ง HR ต้องมีความรู้ในการจัดสรรเงินเดือนและสวัสดิการเหล่านี้ 

 

❎การฝึกอบรมพนักงานที่ไม่ได้มาตรฐาน

นอกจากหน้าที่การจัดหาพนักงานและการจัดการเงินเดือนและสวัสดิการ HR ยังต้องมีส่วนร่วมในการจัดหาวิธีการพัฒนาพนักงาน ทั้งด้านการจัดหารคอร์สต่าง ๆ และการฝึกอบรม

 

❎การลงโทษที่ไม่มีที่มาที่ไป

หากเราเลือกที่จะลงโทษพนักงานโดยพร่ำเพรื่อ อาจจะทำให้พนักงานเกิดความกลัวและต่อต้านต่อการทำงานและกฎระเบียบของบริษัท ดังนั้น HR ควรจะมีทักษะด้านการจัดการคนอย่างสูง และเข้าใจถึงความรู้สึกของพนักงานและวางแผนจัดการอย่างมีเหตุและผล

 

❎การจ้างงานที่ไม่ดี ไม่ได้มาตรฐาน

อย่าตัดสินใจจ้างงานหรือเลิกจ้างงานอย่างไม่มีมาตรฐานและไม่เหมาะสม เพราะว่าพนักงานควรจะได้รับความเท่าเทียมกัน ซึ่ง HR ก็ควรจะต้องศึกษาตรงส่วนนี้และทรีทพนักงานให้ได้อย่างเท่าเทียมกัน

 

❎ไม่มีการวางแผนการทำงานให้พนักงานอย่างชัดเจน

HR ที่ดีควรวางแผนการ Onboard หรือการเริ่มต้นการทำงานให้กับพนักงานเป็นอย่างดีในช่วงแรกที่เข้าทำงาน เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้กับพนักงานและนำเสนอความเป็นมาของบริษัทเพื่อสร้างเป้าหมายที่ตรงกันและทำให้พนักงานสามารถทำงานต่อไปได้ง่ายขึ้น

 

❎ไม่มีแนวทางการแก้ปัญหาเชิงรุก

อย่ารอแต่รับฟังปัญหาจากพนักงาน แต่ให้หมั่นที่จะพัฒนาบริษัทหรือองค์กรให้ได้อย่างสม่ำเสมอ โดย HR ควรจะมีการจัดการปัญหาเชิงรุก และหมั่นทำความรู้จักและทำความเข้าใจการเป็นอยู่ของพนักงานอยู่ตลอดเวลา

 

❎มีการจัดการข้อมูลที่ไม่ดี

หน้าที่ของ HR อีกอย่างหนึ่งคือการจัดการข้อมูล รวบรวมและเก็บข้อมูลของพนักงานแต่ละคนให้เป็นระเบียบ ในกรณีที่วันหนึ่งพนักงานต้องการใช้ข้อมูลส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับบริษัทในการทำธุระต่าง ๆ HR ต้องสามารถดำเนินการสิ่งเหล่านี้ให้ได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย


❎ไม่ยอมรับในบทบาทของ HR อย่างแท้จริง

HR เป็นตำแหน่งงานที่ต้องการคนที่มีความเข้าใจในตัวงานอย่างสูง มีการกระตือรือร้นที่จะปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงขององค์กร และมีมมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานความรู้จักและช่วยเหลือพนักงาน จึงเป็นตำแหน่งที่ถ้าหากใครสนใจจะต้องมีการเปิดใจและปรับตัวเองให้ได้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้ทำงานนี้ออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

อ้างอิง: https://www.forbes.com/sites/forbeshumanresourcescouncil/2018/04/13/10-costly-mistakes-your-hr-department-should-avoid/

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 84