เจอหัวหน้าเหยียบหัวลูกน้องจนประสบความสำเร็จ ควรทำอย่างไร?

หากเราเริ่มสัมผัสได้ว่าเรากำลังเป็นลูกน้องคนนั้น มาลองดูกันว่าควรรับมืออย่างไร เมื่อพบเจอกับสถานการณ์หัวหน้าเหยียบหัวแบบนี้

หากเราเป็นลูกน้องคนหนึ่งที่โดนหัวหน้าเหยียบหัวจนประสบความสำเร็จ จะทำอย่างไร?

ไม่ว่าจะทำอะไรไป ผลงานของตัวเองเยอะมากเท่าไร โดนหัวหน้าฮุบไปเข้าเป็นผลงานตัวเองเสียจนหมด สุดท้ายคนที่ได้คำชมแทนที่จะเป็นเรากลับเป็นหัวหน้าสะงั้น

มากไปกว่านั้น อะไรที่หัวหน้าบอกว่าให้ทำ ทำแล้วดี หลายทีก็ไม่ได้ดีขนาดนั้น พอเราทำแล้วไม่ดี หัวหน้าก็ปล่อยไม่ได้เข้ามาช่วยอะไร

 

การที่เราโดนหัวหน้ากระทำแบบนี้ ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรมสักเท่าไร อีกทั้งยังทำให้กำลังใจการที่จะทำงานให้ดีของเรานั้นลดลง และแทนที่จะได้พัฒนาตัวเองมากยิ่งขึ้น ก็ไม่ได้มีโค้ชที่ดีมาคอยนำทางอีกด้วย

 

ซึ่งนอกจากพฤติกรรมเหล่านี้แล้ว ยังมีพฤติกรรมการชอบดูถูก ดูหมิ่น กลั่นแกล้งลูกน้อง เพื่อให้ตัวเองดูดี พฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจและขวัญกำลังใจของลูกน้อง ทำให้เกิดความเครียด ความกังวล และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตได้

 

หากเราเริ่มสัมผัสได้ว่าเรากำลังเป็นลูกน้องคนนั้น มาลองดูกันว่าควรรับมืออย่างไร เมื่อพบเจอกับสถานการณ์หัวหน้าเหยียบหัวแบบนี้

 

วิธีรับมือหากเจอหัวหน้ากำลังทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม

 

✅เก็บหลักฐาน

เมื่อเจอพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อย่าลืมที่จะรวบรวมหลักฐานไม่ว่าจะเป็นการอัดคลิปเสียง การบันทึกการสนทนาหรือเอกสารต่างๆ เป็นต้น

 

✅พูดคุยกับหัวหน้าโดยตรง

พยายามเริ่มต้นที่จะพูดคุยกับหัวหน้าอย่างสุภาพก่อนเพื่อทำให้หัวหน้าได้รับทราบถึงพฤติกรรมของตัวเองว่าส่งผลให้พนักงานอย่างเราไม่สบายใจ หากบทสนทนาเป็นไปได้ด้วยดี อาจจะทำให้หัวหน้าสามารถปรับตัวได้ถูกจุด และตรงกลางในการเข้าหากันได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

✅ปรึกษาเพื่อนร่วมงาน

หากเรามีเพื่อนร่วมงานที่เราไว้ใจ และประสบพบเจอปัญหาเดียวกันอยู่ ลองพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานเหล่านั้นและหาทางออกจากปัญหาร่วมกัน

 

✅แจ้งฝ่ายบุคคล/HR

หากการพูดคุยกับหัวหน้าโดยตรงไม่ได้ผล ควรแจ้งเรื่องให้ฝ่ายบุคคลทราบ เพื่อให้ฝ่ายบุคคลเข้ามาดำเนินการสอบสวนและหาทางแก้ไขปัญหา

 

✅ขอความช่วยเหลือจากนอกบริษัท

หากปัญหาไม่สามารถแก้ไขได้ภายในองค์กรหรือบริษัท และเป็นปัญหาที่ค่อนข้างกระทบกับชีวิตส่วนตัวและการทำงานของเรา ให้ลองขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือทนายความ เป็นต้น

 

ในการทำงานล้วนมีปัญหาเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือเรื่องคนก็ตาม เพียงแต่วิธีผ่านพ้นไปได้คือเราต้องมีสติและรู้ตัวเสมอว่ากำลังเจอกับปัญหาแบบใดเพื่อที่จะได้หาวิธีแก้ไขได้อย่างถูกต้อง 

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Bystander Effect
Bystander Effect : สาเหตุที่พนักงานมีความลับแล้วไม่บอกบริษัท
ที่มาของ “ไทยมุง” มัวแต่ยืนดู…แต่ไม่มีใครช่วยสาเหตุที่บริษัทเปลี่ยนแปลงยาก แม้ทุกคนจะรู้หน้าที่พนักงานทุกคนรู้ปัญหาดี แต่ทำไมไม่มีใครพูดเปิดประเด็น?เหตุการณ์น่าเป็นห่วงเหล่านี้มีสาเหตุทางจิตวิทยาเหมือนกันที่เรียกว่า...
Scout Mindset
Scout Mindset : เข้าใจปัญหาด้วยการเฝ้ามองอยู่เงียบ ๆ ห่าง ๆ
เคยสงสัยไหม? ทำไมผู้บริหารบางคนถึงมองปัญหาได้ทะลุปรุโปร่ง “อ่านเกมขาด” ทั้งๆ ที่ดูก็ไม่ได้มีความสามารถเลิศเลอเหนือไปกว่าใคร? แม้ผู้บริหารท่านนั้นไม่ได้มีทักษะพิเศษ...
การประเมินผลการทำงาน
เตรียมตัวให้พร้อม : เคล็ดลับรับมือการประเมินผลการทำงานช่วงสิ้นปีอย่างมืออาชีพ
การประเมินผลการทำงาน คืออะไร?การประเมินผลการทำงาน คือกระบวนการประเมินผลงานของพนักงานอย่างเป็นทางการ โดยจะมีเกณฑ์ตรงกลางที่บริษัทตั้งไว้ และพนักงานจะถูกประเมินโดยหัวหน้างานหรือคนที่เกี่ยวข้องกับตัวเองในการทำงาน...