อยากเปลี่ยนงานแล้ว แต่รู้สึกว่าเร็วไป เปลี่ยนเลยดีไหมนะ?

เป็นคนเปลี่ยนงานบ่อยจะเกิดข้อดีหรือข้อเสียอย่างไรบ้าง? หลายคนตั้งคำถามนี้ขึ้นมา หลังจากที่ส่องเรซูเม่ของตัวเองและเห็นว่าเราเป็น Job Hopper เปลี่ยนงานบ่อยเหลือเกิน

ส่องข้อดี-ข้อเสียของการเปลี่ยนงานบ่อย

เป็นคนเปลี่ยนงานบ่อยจะเกิดข้อดีหรือข้อเสียอย่างไรบ้าง? หลายคนตั้งคำถามนี้ขึ้นมา หลังจากที่ส่องเรซูเม่ของตัวเองและเห็นว่าเราเป็น Job Hopper เปลี่ยนงานบ่อยเหลือเกิน 

 

ซึ่งเหตุผลของการเปลี่ยนงานมีอยู่หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการที่เรารู้สึกว่าเนื้องานไม่ได้เข้ากับตัวเอง การที่เราไม่ได้เอ็นจอยสภาพแวดล้อมหรือสังคมในที่ทำงาน ไปจนถึงการที่ได้โอกาสใหม่ ๆ มาและเราตัดสินใจเลือกโอกาสนั้นแทนที่งานที่ทำอยู่

 

อย่างไรก็ตามทุกอย่างล้วนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย วันนี้ CareerVisa จะมาส่องข้อดีและข้อเสียของการเปลี่ยนงานบ่อยให้ทุกคนได้รับรู้และนำไปพิจารณาในการตัดสินใจเปลี่ยนงานของตัวเองกัน

✅”ข้อดี” ของการเปลี่ยนงานบ่อย

– มีโอกาสได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อย ๆ เพราะทุกการเปลี่ยนงานเรามักจะต่อรองเพื่อให้ได้เงินเดือนและ Benefit อื่น ๆ ที่ดีกว่าที่เดิม

– ได้เลือกสภาพแวดล้อมการทำงาน และเลือกความยืดหยุ่นในการทำงานบ่อยครั้ง

– เจอสภาพแวดล้อมการทำงานหลากหลายรูปแบบ ทำให้มีภูมิต้านทาน และอาจจะรู้วิธีการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น

– มีทักษะการทำงานที่หลากหลาย เพราะได้ทำงานหลากหลายที่ เจอคนหลายคนที่มีความรู้ที่ต่างกัน

– มี Connection ทางการงานมากยิ่งขึ้น รู้จักคนในวงการการทำงานมากยิ่งขึ้น

❎”ข้อเสีย” ของการเปลี่ยนงานบ่อย

– ชื่อเสียงของตัวเองอาจจะเสียได้ เพราะว่าเปลี่ยนงานบ่อยเลยอาจจะทำให้ที่ทำงานหลากหลายที่เกิดคำถามและข้อสงสัยขึ้นมา

– ต้องปรับตัวใหม่หลายครั้ง และต้องเหนื่อยกับการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตัวเองอยู่ตลอดเวลา

– เติบโตทีละนิด ไม่ได้ก้าวกระโดดมากนักเพราะประสบการณ์งานต่อสถานที่หนึ่งน้อยเกินไป

– เกิดความกดดันได้ง่าย ความสุขในการทำงานลดลง เพราะต้องปรับตัวใหม่ตลอดเวลา

– อาจจะเสียสิทธิ์ที่จะได้รับผลประโยชน์บางอย่างของบริษัทเดิมเพราะออกจากงานไวเกินไป

อ้างอิง: https://www.linkedin.com/pulse/5-advantages-disadvantages-job-hopping-stephanie-amos/

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Bystander Effect
Bystander Effect : สาเหตุที่พนักงานมีความลับแล้วไม่บอกบริษัท
ที่มาของ “ไทยมุง” มัวแต่ยืนดู…แต่ไม่มีใครช่วยสาเหตุที่บริษัทเปลี่ยนแปลงยาก แม้ทุกคนจะรู้หน้าที่พนักงานทุกคนรู้ปัญหาดี แต่ทำไมไม่มีใครพูดเปิดประเด็น?เหตุการณ์น่าเป็นห่วงเหล่านี้มีสาเหตุทางจิตวิทยาเหมือนกันที่เรียกว่า...
Scout Mindset
Scout Mindset : เข้าใจปัญหาด้วยการเฝ้ามองอยู่เงียบ ๆ ห่าง ๆ
เคยสงสัยไหม? ทำไมผู้บริหารบางคนถึงมองปัญหาได้ทะลุปรุโปร่ง “อ่านเกมขาด” ทั้งๆ ที่ดูก็ไม่ได้มีความสามารถเลิศเลอเหนือไปกว่าใคร? แม้ผู้บริหารท่านนั้นไม่ได้มีทักษะพิเศษ...
การประเมินผลการทำงาน
เตรียมตัวให้พร้อม : เคล็ดลับรับมือการประเมินผลการทำงานช่วงสิ้นปีอย่างมืออาชีพ
การประเมินผลการทำงาน คืออะไร?การประเมินผลการทำงาน คือกระบวนการประเมินผลงานของพนักงานอย่างเป็นทางการ โดยจะมีเกณฑ์ตรงกลางที่บริษัทตั้งไว้ และพนักงานจะถูกประเมินโดยหัวหน้างานหรือคนที่เกี่ยวข้องกับตัวเองในการทำงาน...