ลาออกเพราะ Toxic Boss เรื่องจริงที่ผู้บริหารรู้แต่ไม่แก้

คนทำงานมาซักพัก น่าจะพอทราบดีว่า เหตุผลที่แท้จริงของการลาออก ถ้าไม่ใช่เรื่องงาน...ก็คือเรื่อง คน! ซึ่งส่วนใหญ่อาจเทน้ำหนักไปสาเหตุหลังด้วยซ้ำ และบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในออฟฟิศบริษัทก็คือ "หัวหน้างาน" ของแต่ละทีมกันเอง

แม้เจ้าตัวอาจไม่ได้ตั้งใจหรือไม่รู้ตัว แต่หัวหน้างานแบบนี้เข้าข่าย Toxic Boss เป็นมลพิษต่อทีม และชวนให้พนักงานต่างพากันลาออกยกขบวน

 

งานว่าเหนื่อยแล้ว…เจอคนเหนื่อยกว่า โดยเฉพาะกับ Toxic Boss ผู้ทรงอิทธิพล เพราะหัวหน้ามีพาวเวอร์ตามตำแหน่ง และอาจเป็นคนที่มีผลงานโดดเด่นเข้าตาจนผู้บริหารระดับสูงไม่กล้าทำอะไร

 

แล้วเหตุผลที่พนักงานยอมลาออกเพราะ Toxic Boss มีอะไรกันบ้าง?

 

ไม่เห็นหัวลูกทีม

 

เชื่อว่าคนทำงานทุกคนอยากได้รับ respect การเคารพยอมรับจากผู้อื่น เวลาทำดีเราก็อยากได้รับคำชมบ้างเป็นธรรมดา ผลวิจัยเผยว่าหัวหน้าที่ชมลูกน้องบ่อยๆ และมองเห็นความดีเล็กๆ น้อยๆ จะสร้างบรรยากาศที่ดี ลูกทีมมีความคิดสร้างสรรค์ กระตือรือร้น และความสุขในการทำงาน

 

แต่สำหรับ Toxic Boss มักมองข้ามความสามารถลูกน้องไป หรือแกล้งทำเป็นไม่เห็นหัว เรียกว่า ignore แบบโจ่งแจ้งก็ว่าได้

 

ลูกน้องทำถูกแค่ไหนไม่เคยได้รับคำชม ถูกบอกปัดว่าเป็นเรื่องปกติมาตรฐานที่ต้องทำให้ได้อยู่แล้ว แต่พอทำผิดนิดเดียว กลับถูกด่าต่อว่าวิพากษ์วิจารณ์ทุกจุดราวกับทำความผิดร้ายแรง นี่ก็เป็นความเสียหายที่สร้างผลกระทบทางจิตใจและความ Toxic ไม่น้อยจนลูกทีมอยากลาออก

 

การเมืองภายในทีม



ขึ้นชื่อว่ามนุษย์ การเมืองจึงเกิดขึ้นได้ทุกที่โดยเฉพาะกับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกหลายคน

 

การเมืองภายในทีม มักเริ่มมาจากคนที่มีพาวเวอร์อย่างหัวหน้า ที่เลือกที่รักมักที่ชัง สถาปนาเด็กเส้นของตัวเอง เลือกศัตรูหรือคู่แข่งอย่างโจ่งแจ้ง หรือแค่ถูกจริตกับอุปนิสัยหรือหน้าตาของลูกทีมบางคนจนปฏิบัติแบบ bias กับสมาชิกทีมคนอื่นจนยอมแพ้ด้้วยการลาออก หรือเลือกทำ Quiet Quitting ไปเลย

 

แน่นอนว่า การเมืองภายในทีมนำมาสู่การปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมที่แทบจะหลีกเลี่ยงไม่ได้

  • หาข้ออ้างปกป้องลูกทีมเด็กตัวเองที่ทำผิดพลาด
  • ไม่ลงโทษคนทำผิดที่เป็นเด็กเส้นตัวเองแม้จะจำนนต่อหลักฐาน
  • ไม่ให้ความร่วมมือในการทำงานกับคนที่ไม่ถูกโฉลก

 

สมาชิกทีมย่อมมีบางคนที่ทำตัวเป็นตัวกลาง พยายามไม่เข้าไปยุ่งการเมืองกับใคร และเป็นคนกลุ่มนี้เองที่มักจะลาออกก่อนใครเพื่อนเพราะทนไม่ไหวกับสภาพแวดล้อมสุด Toxic นี้

 

ไม่ให้เครดิต

 

ในการทำงานไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ทุกคนทำงานกันเป็น “ทีม” ไม่มีใครทำงานไหนด้วยตัวคนเดียวได้ โดยเฉพาะหัวหน้าที่อยู่ในตำแหน่งผู้บัญชาการในการสั่งงาน ไม่ใช่มดงานที่ลงมือปฏิบัติจริงที่หน้างาน 

 

ผู้นำที่ดีมักจะ รับผิด-รับชอบ ออกตัวปกป้องลูกน้อง และโยนความชอบเครดิตดีๆ ให้ลูกน้อง 

 

แต่กับ Toxic Boss มักมีคาแรคเตอร์ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง โปรเจคท์ไหนที่ประสบความสำเร็จมักออกหน้าว่าเกิดขึ้นเพราะฝีมือตัวเองในฐานะผู้นำทีม แต่โปรเจคท์ล้มเหลวมักจะโยนความผิดให้ลูกน้องว่าไม่เอาไหน หรือหาข้ออ้างถึงความยากลำบากในการบริหารทีมงาน พอเจอแบบนี้บ่อยๆ เข้า การลาออกก็กลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจขึ้นมาทันที

 

กดดันเป็นงานหลัก

 

Toxic Boss มักมาพร้อม “Toxic Mindset” เช่น ชุดความคิดบางประเภทที่ดูไม่แมตช์กับโลกการทำงานยุคปัจจุบันเท่าไรนัก เช่น

  • “สำเร็จแล้วอย่าชม เพราะเดี๋ยวจะเหลิง”
  • “ลูกน้องมีไว้เฆี่ยน เคี่ยวเข็ญ เพื่อให้เติบโต”
  • “ถ้าหัวหน้ากดดัน แสดงว่ายังเห็นค่าลูกน้องคนนี้”

 

ทัศนคติแบบนี้ บ่งบอกว่าหัวหน้าไม่ได้เข้าใจ คาแรคเตอร์ของผู้คนที่มีหลากหลายเลย เพราะคนเราบางคนอดทนกับความกดดันได้ดี เฆี่ยนนิด ต่อว่าหน่อย ได้ผลลัพธ์ที่ดี

 

แต่สำหรับคนทำงานอีกหลายคน ต้องการได้รับคำพูดคำจาที่ soft สุภาพ เชิงบวก มีกำลังใจ การสร้างความกดดันที่เกินเลยและไม่จำเป็นนี้ กลับให้ผลลัพธ์ที่ไม่ดีและบั่นทอนกำลังใจในการทำงานจนอยากลาออก

 

ด่วนตัดสินใจ

 

เพราะคาแรคเตอร์ของ Toxic Boss คือการยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง มองโลกตามมุมมองและประสบการณ์ของตัวเองล้วนๆ จึงมาพร้อมการ ด่วนตัดสินคน (Snap judgement) ในเวลาอันรวดเร็ว 

 

คนทำงานหลายคนทราบดีว่ารู้สึกอึดอัดแค่ไหน ที่ถูกด่วนตัดสินเร็วเกินไป โดยเฉพาะถ้าคำตัดสินนั้นเป็นสิ่งที่ผิด ไม่ตรงกับความจริงที่เกิดขึ้น ซ้ำร้ายไปอีก เพราะหัวหน้าคือคนมีพาวเวอร์ เมื่อด่วนตัดสินผิดๆ จึงอาจสร้างกรอบการทำงานมาตรฐานต่ำๆ หรือการมอบงานโปรเจคท์ที่ไม่ท้าทาย ลูกน้องตกอยู่สภาพจำยอม และไม่นานนักก็มักลาออกแก้ปัญหา

 

ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างของ Toxic Boss เป็นเรื่องจริงที่ผู้บริหารบางคนไม่กล้ายอมรับหรือไม่อยากลงมาแก้ปัญหาที่ฝังรากลึก จนทำให้อัตราการลาออกของพนักงานสูงลิบ สำหรับเคสนี้ แนวทางแก้ปัญหาต้องอยู่ที่ตัว Toxic Boss ไม่ว่าจะเข้ารับโปรแกรมการเปลี่ยนพฤติกรรม หรือ…หาหัวหน้าน้ำดีคนใหม่เข้ามาแทน ปลดล็อคที่หัว เพียงเท่านี้ อัตราลาออกก็น้อยลงได้ ที่สำคัญ พนักงานทำงานแบบมีความสุขขึ้นด้วย

 

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

generation
จะทำอย่างไร? หากต้อง "ทำงานกับคนต่าง Generation" ที่คิดไม่เหมือนกัน
Generation กับความคิดที่ไม่เหมือนกัน เป็นอย่างไร?ความท้าทายของการทำงานร่วมกับคนที่ต่างอายุ ต่างช่วงวัย หลายครั้งไม่ใช่ความสามารถในการทำงานหรือประสบการณ์ที่มากกว่ากัน...
Bystander Effect
Bystander Effect : สาเหตุที่พนักงานมีความลับแล้วไม่บอกบริษัท
ที่มาของ “ไทยมุง” มัวแต่ยืนดู…แต่ไม่มีใครช่วยสาเหตุที่บริษัทเปลี่ยนแปลงยาก แม้ทุกคนจะรู้หน้าที่พนักงานทุกคนรู้ปัญหาดี แต่ทำไมไม่มีใครพูดเปิดประเด็น?เหตุการณ์น่าเป็นห่วงเหล่านี้มีสาเหตุทางจิตวิทยาเหมือนกันที่เรียกว่า...
Scout Mindset
Scout Mindset : เข้าใจปัญหาด้วยการเฝ้ามองอยู่เงียบ ๆ ห่าง ๆ
เคยสงสัยไหม? ทำไมผู้บริหารบางคนถึงมองปัญหาได้ทะลุปรุโปร่ง “อ่านเกมขาด” ทั้งๆ ที่ดูก็ไม่ได้มีความสามารถเลิศเลอเหนือไปกว่าใคร? แม้ผู้บริหารท่านนั้นไม่ได้มีทักษะพิเศษ...